1. คำว่า “Brand” ไม่ใช่ แค่ “LOGO”
เวลาที่ผู้ประกอบการต้องการทำ Branding หรือ สร้าง อัตตาลักษณ์ (Identity) หลายๆ ท่านเริ่มจากคำว่า “ทำ Logo” คำว่า “Brand” ไม่ใช่ แค่ “LOGO” นั่นแปลว่า ผู้บริโภคนั้นไม่ได้ดู Logo เป็นอันดับแรก Logo เป็นแค่สิ่งช่วยจำ หรือ สัญลักษณ์เท่านั้นเอง Brand ที่ดีมาจากหลายๆอย่าง เช่น สินค้า การให้บริการ หรือ ประสบการณ์ของการที่ผู้บริโภคได้อยู่ร่วมกับธุรกิจนั้นๆ ฉะนั้น การสร้างแบรนด์ไม่ใช่สำคัญอยู่แค่การดีไซน์ Logo แน่นอน แต่ต้องสร้างทั้งธุรกิจพร้อมกับแนวทางไปพร้อมๆกัน
2. แบรนด์ที่ดี ต้องดีจากภายใน
ผู้ประกอบการที่คิดเยอะสรรหาสิ่งต่างๆเพื่อให้หน้าร้านและบริการเป็นเรื่องที่ดีนั้น เป็นวิธีสร้างจุดขายของธุรกิจได้เป็นอย่างดี แต่อย่างลืมว่าจริงๆแล้วแบรนด์ที่ดีนั้นเริ่มมาจากภายในองค์กรล้วนๆ เช่นการเริ่มธุรกิจจากสินค้า บริการที่น่าสนใจ หรือ จากตัวเจ้าของกิจการเอง ไม่มีธุรกิจไหนที่ประสบความาสำเร็จจากความคิดที่ว่า “ฉันอยากได้ร้านอะไรก็ได้ที่สวยๆหน่อย” หรอกนะ การสร้างองค์ความรู้ในองค์กร ที่ทำให้พนักงานเห็นภาพที่ธุรกิจจะเดินทางไปจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมทั้งคนในองค์กรที่สร้างแนวความคิดในทุกตำแหน่งได้ดี เช่นถ้าคุณขายอาหาร บริกรมีความสดใสยิ้มแย้ม แต่พ่อครัวหน้าบูดบึ้ง ใช้วัตถุดิบไม่ดี แน่นอนว่าร้านอาหารนี้ก็ไม่เวิร์ค
3. พนักงานตำแหน่งล่างสุดก็ล้มแบรนด์ได้ !
ทำไมพนักงานชั้นผู้น้อยถึงล้มแบรนด์ที่เราปลุกปั้นมาอย่างดีได้ล่ะ? เคยไหมกับการที่ไปใช้บริการที่ไหนแล้วโดนพนักงานเหวี่ยงใส่ นั่นแหละ คือสิ่งที่ต้องระวังโดยเฉพาะธุรกิจที่มีหน้าร้านและงานบริการ เพราะไม่ว่าคุณจะลงทุนกับธุรกิจมากขนาดไหน ถ้าเด็กหน้าร้านคุณไม่ยิ้มแย้ม หรือ ไม่มีมารยาท ลูกค้าเห็นแค่นี้ก็หนีแล้ว ไม่กลับมาอุดหนุนแล้วจ๊ะ
4. คน = Brand / Brand = คน
นี่คือเหตุผลว่าทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่ถึงต้องลงทุนเรื่องคนกันมากมายไงล่ะ เช่น ร้านกาแฟสีเขียวเข้ม ที่ทุกคนรู้จักกันดีนั้น มีทั้งการรับซื้ออย่างมีจริยธรรม ช่วยเหลือ ชุมชน แถมดูแลความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และตำแหน่งคนชงกาแฟ (barista) อย่างน้อยก็ควรจบปริญญาตรี หรือมีใบรับรองการศึกษา เพื่อที่จะสร้างคนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของแบรนด์ให้แข็งแรง ดังนั้นธุรกิจที่ปล่อยปละละเลยเรื่องคนในองค์กร ก็ควรระวังปัญหาในข้อ 3 ว่าอาจจะเกิดได้ง่ายๆ
5. คำว่า Brand ไม่มีแพง ไม่มีถูก
แบรนด์ที่ดีไม่จำเป็นต้องดูแพงเสมอไป ลองคิดดูเล่นๆว่า ถ้าคุณขายของในตลาดนัดแบบขายดิบขายดี แต่มีวันหนึ่งที่ห้างที่หรูที่สุดในเมืองให้คุณไปขายในตลาดที่มีลูกค้าไฮโซจะเป็นอย่างไร? สิ่งที่เกิดขึ้นก็เหมือนกับการวาง position ของการตลาดนั่นแหละ ของแพง ไม่ว่าจะดีแสนดีอย่างไร ถ้าไปขายในตลาดที่ไม่มีกำลังซื้อ ลูกค้าไม่รู้จักสิ่งนั้น ก็ไม่สามารถทำให้ขายได้ การทำ Branding ที่ดีนั้นก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะสวยหรูอย่างเดียว ต้องเข้าใจทั้งสินค้าและตลาด รวมถึงแนวโน้มที่ธุรกิจจะดำเนินต่อไปในทิศทางไหนนั่นเอง
6. Market แรง ไม่ใช่จะดีเสมอไป
เราคงจะคุ้นเคยกับงานโฆษณาที่ใช้ไอเดีย แปลก แหวกแนว โดยเน้นกระแสสังคมเป็นหลักที่ออกมาในตลาดบ้านเราได้ในหลายๆตัว การใช้การตลาดในรูปแบบเน้นกระแสสังคมต่างๆ เช่น การข่มขู่ผู้บริโภค การสร้างค่านิยมผิดๆให้สังคม หรือ การสื่อสารที่หมิ่นเหม่กับความเชื่อเช่นการเมือง ศาสนา หรือ สีผิว นั้นต้องใช้การระวังเป็นพิเศษ เพราะบางงานที่ออกมาไอเดียมาจากสื่อต่างประเทศ ไอเดียดี แต่จบงานไม่ดี หรือ งานไม่ถึง ภาพไม่ถึง มุ่งเน้นแต่กระแสสังคม ก็อาจจะสร้าง message ในแง่ลบให้กับธุรกิจในระยะยาวได้เหมือนกัน
7. สิ่งที่มองไม่เห็นไม่ใช่ไม่มีมูลค่า
สำหรับผู้ประกอบการก็คงเคยมีคำถามว่า ลงทุนกับสิ่งที่ไม่เห็นเป็นรูปธรรมต่างๆ นั้นจะคุ้มค่าไหม? ทั้งนี้ก็อยากให้คิดในผลที่ได้รับกลับมาเป็นนามธรรมเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น คุณลงทุนเรื่องการดูแลครอบครัวพนักงาน พนักงานมีความสุข รักองค์กร ทำงานให้คุณแบบสู้ตาย หรือ คุณลงทุนเรื่องภาพลักษณ์ (แบบถูกวิธี) ผู้บริโภคก็รู้สึกดี รู้สึกเชื่อในธุรกิจของคุณ คุณลงทุนในที่ทำงานขององค์กร พนักงานรู้สึกดี กระฉับกระเฉง ตั้งใจทำงาน สิ่งเหล่านี้คุณมองอาจจะมองไม่เห็น แต่สิ่งเหล่านี้จะตอบแทนมาเป็น performance ของทั้งสินค้า และบริการ รวมถึงพลังงานที่ดีของธุรกิจเอง
8. Branding ก็เหมือนวิศวกรรม เหมือนเครื่องจักร
การทำแบรนด์ที่ดีนั้น ก็ต้องอาศัยระบบเหมือนงานวิศวกรรม ต้องมีการใช้งานที่ถูกต้อง ต้องมีระบบ ต้องมีขั้นตอนที่บริษัทผลิตและสร้างแบรนด์นั้นต้องมีความรู้จริง เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายๆท่านก็คงมีข้อสงสัยในหลายๆครั้งว่า จะวาง logo ในสื่อทั้งในและนอกองค์กรที่ไหนดี? จะใช้อักษรอะไร (Font) ? พนักงานจะพูดต้อนรับลูกค้าว่าอะไร? สีนี้เหมาะกับธุรกิจเราหรือไม่? ทั้งนี้งานออกแบบอัตตาลักษณ์ของธุรกิจ (corporate Identity) ที่ดีต้องสร้างแนวทางให้กับผู้ประกอบการ อย่างน้อยทุกคนในองค์กรควรเห็นภาพเดียวกัน จะได้ไม่ต้องลุ้นกันหลายๆรอบ
9. Brand ก็เหมือนคน มีเกิด มีแก่ มีตาย
เรายังจำสินค้าที่ดังมากๆ แบบที่ว่าเมื่อ10 ปีที่เเล้ว ไม่มีใครไม่รู้จัก ได้อยู่ไหม? มีทุกแบรนด์หรือไม่ที่ยังดังอยู่จนถึงทุกวันนี้? การดูแลและบริการแบรนด์นั้นต้องทำอยู่เสมอ ทั้งการวางแนวทางใหม่ทุกๆ 5 ปี การดูแล และ บริการบุคลิกของแบรนด์ที่ตามยุคสมัยและตลาดที่เปลี่ยนไป หลายๆแบรนด์ได้ตายลงเมื่อเดินตามไม่ทัน หรือ ไม่ได้วางแนวทางเดินใหม่ ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าจะต้องเปลี่ยนอัตตาลักษณ์ แต่เป็นการสร้างแนวทางที่ชัดเจนที่สามารถคุยกับผู้บริโภคได้ในทุกยุคสมัยต่างหาก
10. สร้างแบรนด์ให้เหมือนจีบสาว (จีบหนุ่ม)
ก็เหมือนกับคนนั่นแหละ การสร้างแบรนด์ก็ต้องคุยกับผู้บริโภค หรือลูกค้าบ่อยๆ ยิ่งเจอยิ่งจำได้ ยิ่งคุย ยิ่งคิดถึง และเวลาเราจีบกันก็ต้องทำหน้าตา(ของแบรนด์)ให้ดูดี เข้ากับคนที่เราจีบ ถ้าเราจีบคนรวย เราต้องทำหน้าตาให้คนรวยชอบ (ไม่ได้แปลว่าต้องแพง) ถ้าเราจีบคนทั่วไป หน้าตารวยไปก็เข้าไม่ถึง ที่สำคัญคือความสำพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้าต้องดี ต้องเอาใจ ถ้าเราเยอะไปลูกค้าก็รำคาญได้เหมือนกัน ที่สำคัญคือประสบการณ์ ใครๆก็ชอบคนที่อยู่ด้วยแล้ว “สบาย”ใจ จริงไหม ?
ทั้งนี้ก็อยู่ที่แต่ละธุรกิจจะกำหนดว่าจะสร้างแบรนด์อย่างไร และจะคุยกับใคร หน้าตาจะเป็นแบบไหน และต้องสร้างไปคู่กับธุรกิจในทุกๆขั้นตอน ถ้ามีธุรกิจอยู่แล้ว จะคิดว่าจะให้ Design สร้างอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะต้องเดินไปพร้อมกัน
เริ่มสร้างแบรนด์ หรือ สอบถามเพิ่มเติมเรื่องการสร้างแบรนด์ได้ที่
facebook.com/StartUpBrandingBkk
http://startupbrandingbkk.com/
RECOMMENDED CONTENT
อย่าให้ความสุขที่สำคัญที่สุด... ผ่านไป หนังสั้นเล่าเรื่องของคนวัยทำงาน ในหนึ่งวันมี 24 ชั่วโมง ที่ใช้เวลาไปกับงาน ก็ 1 ใน 3 ของวัน และยังมีเรื่องราวมากมายที่เราต้องรับรู้ หรือต้องเป็นส่วนหนึ่งกับเรื่องราวต่างๆ สิ่งที่เหลือก็คือสิ่งสำคัญของชีวิตที่ช่วยปลอบประโลมใจเราให้มีพลังก่อนกลับบ้านแล้วตื่นเช้าเพื่อเริ่มวันใหม่