fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#Visit | คุยกับ ‘เจ๋อ–ภาวิต’ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ท็อปฟอร์มทำสถิติโต 22% สวนกระแสตลาดเพลงโลก
date : 9.เมษายน.2019 tag :

ในการเปลี่ยนแปลงของโลกมีผลกระทบไปทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ต้องปรับตัวอย่างหนัก ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจเพลงซึ่งว่ากันว่าหลังการเข้ามาของการสตรีมมิ่งและออนไลน์แพลตฟอร์ม ธุรกิจเพลงได้รับผลกระทบหนักเหมือนกันทั่วโลก แต่สำหรับ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กลับสามารถปรับตัวเข้ากับโลกดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว และดูเหมือนว่าจะเป็นการยืนหยัดสู้กับ Disruption (ดิสรัปชั่น) ได้อย่างมั่นคงที่สุด ส่งผลให้ในปี 2561 ที่ผ่านมา จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีผลงานรายรับรวมเติบโตเฉลี่ยที่ 22% ซึ่งเติบโตกว่าตลาดเพลงโลกที่มีค่าการเติบโตที่ 8.1%

นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลงานของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ในปี 2561 ยังคงสร้างรายรับรวมเป็นเงิน 3,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2560 ที่มีรายรับรวมเป็นเงิน 3,061 ล้านบาท เติบโตขึ้น 22% เป็นผลมาจากการเติบโตของธุรกิจ Digital (ดิจิทัล) 37% ซึ่งถ้าเจาะลึกเป็นธุรกิจ Digital Platform (ดิจิทัล แพลตฟอร์ม) จะเติบโตสูงถึง 83% ตามมาด้วยธุรกิจ Showbiz (โชว์บิซ) ที่เติบโตสูงถึง 113% ธุรกิจลิขสิทธิ์      ที่เติบโต 19% ธุรกิจบริหารศิลปินและงานจ้างเติบโตขึ้น 10% และธุรกิจโรงเรียนดนตรีเติบโตขึ้น 12% ทั้งนี้ 3 ธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้แก่ ธุรกิจงานจ้างและสปอนเซอร์ชิปมีสัดส่วนรายได้ที่ 40% ธุรกิจ Digital (ดิจิทัล) 25% และธุรกิจ Showbiz (โชว์บิซ) 15%

การเติบโตของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ยังรวมถึงความสำเร็จในการทำคอนเทนต์ผ่านผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อขยายช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยปัจจุบันในกลุ่ม VDO Content (วิดีโอคอนเทนต์) จะอยู่ที่ Youtube (ยูทูป) เป็นหลัก จึงทำให้จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ครองอันดับ 1 ของมิวสิคแชนแนล ที่มียอดวิวกว่า 15,000 ล้านวิว เติบโตเฉลี่ยที่ 29% และมีผู้ติดตามมากกว่า 53 ล้าน Subscribers (ซับสไครเบอร์) เติบโตขึ้น 20 ล้าน Subscribers (ซับสไครเบอร์) หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้นเฉลี่ยที่ 88% โดยจีเอ็มเอ็ม มิวสิค มียอด Watch Time (วอทช์ไทม์) ใน Youtube (ยูทูป) เติบโตขึ้น65,000 ล้านนาที คิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้นเฉลี่ยที่ 37%

หากเจาะลึกถึงความสำเร็จในการเติบโตของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ในการทำคอนเทนต์ใน Youtube (ยูทูป) สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • Grammy Gold Official (แกรมมี่โกลด์ ออฟฟิเชียล) เป็นมิวสิคแชนแนลที่มี Views (วิว) และ Subscribers (ซับสไครเบอร์) เติบโตที่สุดในตลาด โดยมียอดวิวเติบโตที่ 78% และมีจำนวนผู้ติดตามเติบโตที่ 93%
  • GMM Grammy Official (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออฟฟิเชียล) เป็นมิวสิคแชนแนล ที่มี Views (วิว) และ Subscribers (ซับสไครเบอร์)  รวมมากที่สุดในช่องทางเพลง มียอดวิวรวมกว่า 13,000 ล้านวิว และมี Watch Time (วอทช์ไทม์) รวมสูงสุดถึง 52,000 ล้านนาที
  • จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีวิดีโอคอนเทนต์ที่ได้วิวเกิน 100 ล้านวิวมากที่สุดบน Youtube (ยูทูป) ประเทศไทย ถึง 51 วิดีโอคอนเทนต์
  • เพลง รำคาญกะบอกกันเด้อ ของศิลปิน ลำเพลิน วงศกร จากแกรมมี่ โกลด์ ทำลายสถิติการเข้าถึง 100 ล้านวิวได้เร็วที่สุดเพียง 41 วัน
  • มิวสิคแชนแนลของค่ายเพลงป็อบและร็อค มียอดวิวรวมเติบโตมากที่สุดถึง 5,432 ล้านวิว คิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้นเฉลี่ยที่ 10% และมีผู้ติดตามรวมกันมากกว่า 29 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตขึ้นเฉลี่ยที่ 35%
  • มิวสิคแชนแนล ของ genierock (จีนี่ร็อค) เป็นแชนแนลที่มีมิวสิควิดีโอเพลงเกิน 100 ล้านวิว เยอะที่สุดในประเทศไทย รวม 22 มิวสิควิดีโอ
  • มิวสิควิดีโอเพลงเชือกวิเศษ ศิลปินลาบานูน เป็นวิดีโอคอนเทนต์ ที่มียอดวิวเกิน 400 ล้านวิว เป็นเพลงแรกในประเทศไทย
  • Grammy Gold Official (แกรมมี่โกลด์ ออฟฟิเชียล) เป็นมิวสิคแชนแนลเพลงลูกทุ่งที่มีวิดีโอคอนเทนต์ 100 ล้านวิว มากที่สุด และยังเป็นแชนแนลที่มีวิดีโอคอนเทนต์ที่ได้ 100 ล้านวิว เยอะที่สุดในปี 2561
  • Youtube Channel  (ยูทูปแชนแนล) ของสนามหลวงมิวสิก เป็นอินดี้มิวสิคแชนแนล ที่มียอดวิวสูงถึง 123 ล้านวิว คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 39% และมีจำนวนผู้ติดตามเติบโตสูงขึ้น 71%

ผลงานของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ยังคงมีอีกหนึ่งส่วนที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัดเจนก็คือในกลุ่มออดิโอคอนเทนต์ ด้วยการร่วมมือกับแพลตฟอร์มอย่าง JOOX (จูกซ์) เพื่อเพิ่มความสามารถในการนำคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด จึงทำให้ในปีที่ผ่านมามีเพลงฮิตได้เข้าไปติดอันดับชาร์ตเพลงของ JOOX (จูกซ์) ไม่ว่าจะเป็น

  • จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เป็นค่ายเพลงที่มีเพลงฮิตติด JOOX Chart (จูกซ์ชาร์ต) มากที่สุด ในส่วนของ Thailand Top 100 (ไทยแลนด์ท็อป 100) มีทั้งหมด 98 เพลง จาก 42 ศิลปิน และในด้านของเพลงลูกทุ่งกับ Top (ท็อป) 100 เพลงลูกทุ่ง มีทั้งหมด 104 เพลง จาก 26 ศิลปิน
  • เพลง Good Morning Teacher ของศิลปิน อะตอม ชนกันต์ ติด JOOX Thailand Top 100 (จูกซ์ ไทยแลนด์ ท็อป 100) ยาวนานที่สุดถึง 51 สัปดาห์
  • เพลง รำคาญกะบอกกันเด้อ ของศิลปิน ลำเพลิน วงศกร ติด Chart (ชาร์ต) อันดับ 1 ของ JOOX Top 100 (จูกซ์ ท็อป 100) ลูกทุ่ง มากที่สุดที่ 9 สัปดาห์
  • ไผ่ พงศธร มีเพลงติด Chart (ชาร์ต) ของ JOOX Top 100 (จูกซ์ ท็อป 100) ลูกทุ่ง มากที่สุด 14 เพลง

จากความสำเร็จที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนี้ ในปี 2562 จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้ตั้งเป้าการเติบโตของรายรับไม่ต่ำกว่า 2 Digit (ดิจิต) โดยมีการวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเน้นกลยุทธ์สำคัญเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

กลยุทธ์ของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ปี 2562 มุ่งเน้นกลยุทธ์หลัก 5 ส่วน ได้แก่

  1. Hit Song (ฮิตซอง) คือการสร้างเพลงใหม่มากกว่า 500 เพลงของศิลปินให้กลายเป็นเพลงฮิตเพื่อสร้างรายได้ในช่องทาง Digital Platform (ดิจิทัลแพลตฟอร์ม) งานจ้าง และสปอนเซอร์ชิป
  2. Original Content (ออริจินัลคอนเทนต์) คือการสร้างคอนเทนต์ที่พิเศษและ Exclusive (เอ็กซ์คลูซีฟ) ครอบคลุมแนวเพลงทุกประเภททั้งป็อบ ร็อค ลูกทุ่ง อินดี้ เพื่อนำไปสร้างสรรค์และต่อยอดในธุรกิจดิจิตอลแพลตฟอร์มของพันธมิตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE TV (ไลน์ทีวี), AIS (เอไอเอส), JOOX (จูกซ์) รวมถึงการ Collaboration (คอลลาโบเรชั่น) กับศิลปินอื่นๆทั้งในและนอกค่าย ซึ่งจะทำให้เพลงและตัวศิลปินสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญยังช่วยทำให้มิติของเพลงและศิลปินมีความกว้างขึ้น สดใหม่ขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นยังผนวกกับกิจกรรมสุดพิเศษทั่วทั้งประเทศให้เพลงและแพลตฟอร์มกลายเป็น Total Music Experience (โทเทิล มิวสิค เอ็กซ์พีเรียนซ์)
  3. Showbiz & Merchandising (โชว์บิซ & เมอร์แชนไดซิ่ง) คือยุทธศาสตร์ที่จะเดินหน้าขยายธุรกิจ Showbiz (โชว์บิซ)     ไม่ว่าจะเป็น มิวสิค เฟสติวัล และคอนเสิร์ตรูปแบบต่างๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบครอบคลุม ทุก Segment (เซกเมนต์) ทุก Scale (สเกล) เพื่อเป็นการตอบสนองความนิยมของผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้นยังรวมถึงจะมีการผลิต Merchandising (เมอร์แชนไดซิ่ง) ให้โดนใจผู้บริโภค ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ให้ความสำคัญมากขึ้นอีกเช่นกัน
  4. Right Management คือการทำธุรกิจด้านลิขสิทธิ์ ในรูปแบบการ Service (เซอร์วิส) กับธุรกิจต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะคืนรายได้กลับสู่คนเบื้องหลังและเบื้องหน้า จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จึงได้จับมือร่วมกับ Platform Facebook (แพลตฟอร์มเฟสบุ๊ค) ในเรื่องสิทธิ์การใช้เพลงบนแพลตฟอร์ม เพื่อสนับสนุนให้ User (ยูสเซอร์) ใช้เพลงในการประกอบคอนเทนต์ของ User     (ยูสเซอร์) ได้เองอย่างถูกลิขสิทธิ์
  5. Online Content (ออนไลน์คอนเทนต์) จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เดินหน้ารุกตลาดออนไลน์คอนเทนต์เต็มตัว เพื่อขยายฐานลูกค้าและสามารถตอบโจทย์ Online Consumer (ออนไลน์คอนซูมเมอร์) ได้มากขึ้น โดยการนำจุดแข็งคือการเป็น Music Aggregator (มิวสิคเอกกรีเกเตอร์) ที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทย บวกกับ Asset (แอสเซ็ท) ที่มีอยู่มากที่สุดทั้งศิลปิน เพลงฮิต ผ่านมาการนำ DNA (ดีเอ็นเอ) ของศิลปินไปสร้างสรรค์และต่อยอดในดิจิทัลแพลตฟอร์มพันธมิตรต่างๆ รวมถึงการเปิด Unit (ยูนิท) ใหม่ซน” Online Creator Hub (ออนไลน์ครีเอเตอร์ฮับ) ที่มีจุดยืนในตลาดชัดเจนว่าเป็น Hub ของคนรุ่นใหม่  ที่คิดและสร้างสรรค์ออนไลน์คอนเทนต์ของศิลปินครบทุก Segment (เซกเมนต์) ทั้งในและนอกค่าย

จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีความเชื่อมั่นว่าการเติบโตที่ยั่งยืนคือหัวใจที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจในตอนนี้ เราให้ความสำคัญในคุณค่าของศิลปิน ทีมงาน ทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง พนักงานทุกคนที่จะอยู่ในวิชาชีพที่มีแรงบันดาลใจและมีความมั่นคงในธุรกิจ ทั้งนี้ เรายึดหลักของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน ฉะนั้น เราจึงพยายามจับมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ค่ายนอก, Promotor (โปรโมเตอร์), Platform (แพลตฟอร์ม), คู่ค้าทางธุรกิจ หรือ Brand (แบรนด์) สินค้าต่างๆ เพื่อที่จะมุ่งมั่นทำให้อุตสาหกรรมเพลงเติบโตได้อย่างแข็งแรง ต่อเนื่องและยั่งยืน

RECOMMENDED CONTENT

10.กุมภาพันธ์.2021

ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลกจากญี่ปุ่น ตอกย้ำปรัชญา LifeWear ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายคุณภาพดีที่เหมาะกับทุกสไตล์ ด้วยการเปิดตัวโฆษณาทางโทรทัศน์ชุดใหม่ UNIQLO SMART ANKLE PANTS