ขั้นแรกเริ่มของสตาร์ทอัพนั้นเริ่มจากการค้นหาไอเดียที่แก้ปัญหาเดิมๆด้วยวิธีสดใหม่ไม่ซำ้ใคร ขั้นตอนระดมสมองค้นหาไอเดียจึงหนักหน่วง ต้องเคล้นความสร้างสรรค์ออกมาทำงานอย่างไร้ขีดจำกัด แต่ต้องยอมรับความจริงว่าความท้าทายไม่สิ้นสุดเพียงแค่นั้น ไอเดียสตาร์ทอัพสุดคูลที่อายุสั้น เจ๊งภายในหนึ่งปีมีตัวอย่างให้เห็นนับไม่ถ้วน เพราะไอเดียดีที่ขาดโมเดลหาเงินอันชาญฉลาดนั้นเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่นับถอยหลังเพื่อรอคอยเวลาดับสูญจากวงการสตาร์ทอัพ ดังนั้นหากใครมีไอเดียโดนอยู่ในกำมืออย่าลืมค้นหา Business Model ที่ใช่เพื่อผลกำไรที่ชอบด้วยนะคะ สำหรับใครที่คิดไม่ออก ลองดูตัวอย่าง Business Model ที่สตาร์ทอัพชื่อดังใช้กันดีกว่าคะ เผื่อเป็นแนวทางจุดประกายไอเดีย
1. Auction (การประมูล) โมเดลแบบนี้จะให้ลูกค้าเป็นคนกำหนดราคาที่พร้อมจะจ่ายเอง ซึ่งเจ้าของสินค้าหรือบริการจะตั้งราคาขั้นต่ำไว้ ข้อดีคือ ลูกค้าจะรู้สึกว่าดีเพราะตัวเองได้เป็นผู้กำหนดราคา แต่ข้อระวังของโมเดลแบบการประมูลนั้นต้องมั่นใจว่าราคาถูกกว่าราคาทั่วไปตามท้องตลาด
กลุ่มลูกค้า: ลูกค้าของโมเดลธุรกิจรูปแบบนี้จะเป็นลูกค้าที่ซื้อโดยพิจารณาจากราคาเป็นตัวตั้ง ยิ่งถูกยิ่งรู้สึกดี ยิ่งถูกยิ่งอยากซื้อในปริมาณเยอะหรือซื้อโดยไม่ตัดสินใจให้ถี่ถ้วน
ตัวอย่าง: สตาร์ทอัพอย่าง priceline เองก็เลือกใช้โมเดลรูปแบบการประมูลโดยให้ลูกค้ากำหนดราคาตั๋ว ราคาโรงแรม หรือ ราคาเช่าเอง ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าถ้าขายถูกแบบนี้ต้องไม่รอดแน่ๆ ขอบอกเลยว่า priceline ทำกำไรเพิ่ม 50 เปอร์เซนต์แถมราคามูลค่าหุ้นก็พุ่งขึ้น 46 เปอรเซนต์เลยทีเดียวเชียว
2. Freemium ธรรมดาของคนชอบของฟรี เห็นของฟรีไม่ได้ต้องของลองใช้สักหน่อย เพราะเหตุนี้การออกสินค้าหรือบริการบางประเภทจึงต้องยอมให้ลูกค้าได้ทดลองใช้รฟรีก่อน และเมื่อลูกค้าชื่นชอบหรือติดตลาดแล้ว ค่อยเสนอทางเลือกพิเศษให้ลูกค้า ซึ่งจุดนี้แหละที่เก็บเงินได้
กลุ่มลูกค้า: กลุ่มที่ชอบทดลอง ชอบความแปลกใหม่ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง เป็นคนตามเทรนด์
ตัวอย่าง: Application หาคู่อย่าง Tinder เองก็เปิดให้คนที่อยากหาคู่แต่ไม่มีเวลาลากนิ้วเลือกคู่ที่ตัวเองสนใจผ่านหน้าจอมือถือแบบฟรีๆ แต่ถ้าผู้ใช้คนไหนอยากใช้ฟังชั้นพิเศษไม่ว่าจะเปลี่ยนการลากนิ้วกลับ การปิดโฆษณา หรือ การปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้ง ก็เลือกใช้ Tinder plus ได้ในราคา 324 บาทต่อเดือน
3. Subscription (ระบบสมาชิก) ระบบสมาชิกจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและสตาร์ทอัพให้แน่นเฟ้นไปอีกขั้นหนึ่ง และด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นเฟ้นขึ้น สตาร์ทอัพจึงต้องเสนอสิทธิพิเศษเพื่อจูงใจให้ลูกค้าอยากสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการ สำหรับข้อดีของโมเดลนี้คือสตาร์ทอัพจะได้เงินจากลูกค้าล่วงหน้าและสามารถวางแผนเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตหรือต้นทุนการให้บริการได้ง่าย
กลุ่มลูกค้า: ระบบสมาชิกเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการนั้นเป็นประจำ
ตัวอย่าง: Dollar shave club เกิดจากแนวความคิดที่ว่าคุณผู้ชายทุกท่านต้องมีมีดโกนหนวดประจำห้องน้ำกันทุกคนและเมื่อมีดโกนเริ่มไม่คมกริบก็ต้องเปลี่ยน Dollar shave club จึงเสนอตัวเป็นทางเลือกให้คุณผู้ชายสมัครสมาชิกและจัดส่งมีดโกนให้เป็นรายเดือนถึงบ้าน โดยประโยชน์ที่ได้รับก็แสนจะจูงใจ ซื้อมีดโกนหนวดแถมฟรีโฟมอีก 10 ชนิด ปัจจุบันสตาร์ทอัพรายได้เติบโตและทำกำไร 60 ล้านดอลล่าร์กันเลยเชียว
4. Bundled Pricing (ระบบขายยกเข่ง) จินตนาการง่ายๆเลยว่า เรากำลังเดินตลาดและอยากซื้อผลไม้สัก 3 ชนิด ถ้าเราผลไม้ 3 ชนิดจากแม่ค้าคนเดียวจะต่อรองราคาก็ดูเหมือนแม่ค้ายินดีจะลดให้ การขายแบบยกเข่งก็เช่นเดียวกัน เป็นระบบที่สตาร์อัพอย่างขายพ่วงสินค้าหรือบริการทุกชนิดที่ตัวเองมีให้ลูกค้าโดยจัดเป็นแพคเกจพร้อมกับนำเสนอในราคาที่ดึงดูดใจ
กลุ่มลูกค้า: กรณีนี้ลูกค้าต้องมีความเชื่อมันในสินค้าหรือบริการของเราระดับหนึ่งจึงจะกล้าซื้อแพคเกจรวมหลากหลายสินค้าและบริการจากสตาร์อัพของเรา
ตัวอย่าง: Choozle เป็นบริษัทดิจิตอลเอเจนซี่ที่ขายแพคเกจการตลาดดิจิตอลแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่ขายโปรแกรมวิเคราะห์ลูกค้า เครื่องมือซื้อโฆษณา เครื่องมือสร้างแคมเปญการตลาด ช่องทางการอัพเดทลงโซเชียลมีเดียต่างๆ เรียกได้ว่า นักการตลาดซื้อเพคเกจเดียวอยู่หมัด
การค้นหา Business Model ที่ใช่ต้องพิจารณาจากความถนัดของทีมสตาร์ทอัพควบคู่กับความเป็นไปได้ในทางตลาด เพราะแต่ละโมเดลก็มีจุดอ่อนจุดแข็งแตกต่างกันและมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกัน การเลือก Business Model จึงเหมือนกับการเลือกคู่ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวแต่ถ้าเลือกคนที่ใช่ก็จะอยู่คู่กันยาวนาน
Writer: methawee thatsanasateankit
ขอบคุณรูปภาพจาก http://domandtom.com/
https://www.dollarshaveclub.com/
http://blog.choozle.com/programmatic-advertising-on-mobile/
http://www.entrepreneur.com/article/243573
RECOMMENDED CONTENT
Toro y Moi (โตโร อี มัว) หรือ Chaz Bear (เมื่อก่อนเรารู้จักเขาในชื่อ Chaz Bundick) คือศิลปินที่มีสไตล์ดนตรีหลากหลายในทุกอัลบั้มที่ออกมา เพราะได้อิทธิพลการฟังดนตรีหลากหลายแนวตั้งแต่เด็ก ๆ เขาเป็นที่รู้จักจากผลงานสไตล์ chillwave/ bedroom pop