เพราะการทำธุรกิจจะต้องมีเงินทุน แต่ถามว่าเงินทุนเท่าไหร่ถึงจะพอก่อตั้งธุรกิจได้ ส่วนตัวผู้เขียนคงต้องบอกว่า “งบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ” ซึ่งบทความนี้ เราจะมาเล่าถึงเรื่องราวของบริษัทดาวรุ่งที่มีเงินทุนไม่มากแต่ปังมาก ! จะมีใครบ้าง ? ? เราพร้อมบอกเล่าให้คุณฟังที่นี่
1. ShutterStock
พูดถึงธุรกิจเว็บไซต์ขายภาพชื่อดังอย่างชัตเตอร์สต็อก (ShutterStock) กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้อย่างวันนี้ จุดเริ่มต้นของธุรกิจ คือ จอน โอรินเกอร์ (Jon Oringer) ผู้ก่อตั้งที่เคยทำบริษัทฯ มา 10 ครั้ง และก็เจ๊งถึง 10 ครั้ง ! จนกระทั่งเขาผันตัวเองมาจับธุรกิจการถ่ายภาพ ทั้งๆ ที่ถ่ายภาพไม่เป็น เพียงแค่ใจรักเท่านั้น เริ่มแรกไม่มีใครสนใจระบบฝากขายภาพบนเว็บไซต์ของเขาเลยด้วยซ้ำ จอนจึงเลือกนำเงิน 800 ดอลลาร์ หรือประมาณ 25,500 บาท เพื่อนำไปซื้อกล้องแล้วถ่ายภาพขายเอง !! (นับถือน้ำใจจริง ๆ )
จากวันนั้นที่จอนมีเพียงใจรัก มาถึงวันนี้บริษัทของเขาทำเงินได้มูลค่าราว 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท โดยที่ชัตเตอร์สต็อกมีการดาวน์โหลดภาพ คลิป และอื่นๆ กว่า 1,000 ล้านครั้ง ซึ่งล่าสุด ชัตเตอร์สต๊อกมีช่างภาพรวมตัวกว่า 650,000 ชีวิต มากกว่า 150 ประเทศ และให้บริการใน 21 ภาษาทั่วโลกอีกด้วย !!
แหม่… ก็เล่นขยายสาขากระจายออนไลน์ได้ทั่วโลกขนาดนี้ คงมั่นใจได้เลยว่าธุรกิจ ShutterStock นี้จะปังต่อแค่ไหนก็คงไม่ต้องสืบ
2. Skyscanner
มาถึงธุรกิจเสิร์ชเอ็นจิ้นเสิร์ฟความสบายให้สายเที่ยว กับสกายสแกนเนอร์ (Skyscanner) เว็บไซต์ค้นหา เปรียบเทียบ และจองตั๋วเครื่องบินราคาประหยัด! เพื่อนยากของนักท่องเที่ยวที่เริ่มต้นในปี 2001 ด้วยเงินลงทุนจากเงินเดือนของผู้ก่อตั้งทั้ง 3 ทหารเสือรวมกันเพื่อเป็นทุนทำธุรกิจนี้ (ไม่ได้ระบุไว้ว่าเท่าไหร่) ได้แก่ กาเร็ธ วิลเลี่ยมส์ (Gareth Williams),โบนามี กริมส์ (Bonamy Grimes) และแบร์รี่ สมิทธ์ (Barry Smith) บนเป้าหมายของพนักงานไอทีที่ต้องการเจาะคนชอบตั๋วบินราคาประหยัด และพวกเขาเลือกจะยืนหยัดลงทุนน้อยที่สุดและเลือกเติบโตกับการทำ SEO (Search Engine Optimization) เน้นยอดผู้ชมแบบธรรมชาติเท่านั้น
จากวันนั้นถึงวันนี้ สกายสแกนเนอร์เป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีชั้นนำ และมีพนักงานในเครือหลายร้อยชีวิต และมีบริการกว่า 30 ภาษา ถือได้ว่าคุ้มค่ากับการการลงทุนมากๆ เพราะเลือกใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นประโยชน์นั่นเอง
3. Ipsy
ธุรกิจสตาร์ทอัพ Ipsy ที่เติบโตจากการส่งเครื่องสำอางตัวอย่างให้กับลูกค้าได้ลองใช้ก่อนซื้อ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นธุรกิจของ “มิเชลล์ ฟาน” กูรูความสวยความงามจากยูทิวบ์ โดยไอเดียนี้มาจากตอนที่เธอพบกับปัญหา เลือกเครื่องสำอางไม่ถูก จนทำให้เกิดธุรกิจ Ipsy ขึ้นในปี 2011 หรือประมาณ 8 ปีที่แล้ว เพื่อปฏิวัติและแก้ไขปัญหานี้ให้จงได้ เธอเปลี่ยนสมาชิก 8 ล้านรายของเธอในตอนนั้นให้กลายเป็นสมาชิกและว่ากันว่า เธอสร้างรายได้ถึง 150 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4.7 พันล้านบาท ก่อนที่เธอจะได้ทุนเพิ่มอีกนะ
เราว่าโมเดลนี้หลายคนอาจจะเห็นภาพชัด เพราะในไทยตอนนี้เหล่า youtuber ก็สามารถทำเงินได้จากการมีช่องในยูทูปเป็นของตัวเอง ถ้าใครอยากจะลองหารายได้จากโมเดลนี้ ก็ลองหาสิ่งที่ชอบอัพลงยูทูปดูนะ เผื่อจะเป็นช่องทางที่ทำให้คุณรวยขึ้นแบบไม่รู้ตัว
4. Shopify
“ช้อปปิ้งให้พอพี่รอไหว” เกริ่นเข้าประโยคแบบป๊ะป๋าสายเปย์มาก ๆ (555+)
มาถึงธุรกิจ Shopify จุดสตาร์ทของธุรกิจตะกร้าออนไลน์ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2004 หรือเมื่อประมาณื 15 ปีที่แล้ว โดยผู้ก่อตั้งต้องการนำเสนอระบบร้านค้าออนไลน์ไว้เสิร์ฟพ่อค้าแม่ค้าแบบไม่ต้องสร้างระบบใหม่ให้เสียเวลา ซึ่งเป็นวิธีการผสมผสานการค้าแบบเก่าเข้ากับแบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่พบเจอในยุคนั้นได้อย่างลงตัว
จนทำให้ Shopify กลายเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่โดดเด่น สร้างรายได้ได้อย่างยั่งยืนมาหลายยุคหลายสมัย และต่อมาไม่นานประมาณปี 2015 Shopify ก็เข้าตลาดหุ้นเพื่อขอระดมทุนได้อย่างสง่างามภายใต้ชื่อ “SHOPIFY INC (Shop)” จัดอยู่ในหุ้นเทคโนโลยี กลุ่มบริการด้านซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งตอนนี้มีหลายระบบให้ใช้งาน เช่น ระบบชำระเงินช่องทางออนไลน์หลากหลาย มีระบบ POS ฯลฯ แต่ยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ต้องเปย์อยู่จ้า แพคเกจ Basic Shopify เริ่มต้นที่ประมาณ 29 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน จ่ายเยอะก็ได้ฟีเจอร์เยอะตามมานั้นเอง
เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่คิดมาเพื่อพัฒนาต่อมาใช้ได้จนถึงยุคปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าอีกด้วย ใครที่ทำธุรกิจหากเอาไอเดียนี้ไปใช้ รับรองว่าต้องทำกำไรมหาศาลได้แน่นอน
5. MailChimp
กล่าวถึงความเป็นมาของแพลตฟอร์มผู้ให้บริการอีเมลการตลาดผู้นำระดับโลก! อย่างเมลลิง เอ้ย ! เมลชิมพ์ (MailChimp) เป็นธุรกิจที่คิดไอเดียก่อนออกระดมทุน ความเฟี้ยวของธุรกิจนี้เริ่มต้นในปี 2000 เมื่อ เบน เชสนัท (Ben Chestnut) ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ ต้องการสร้างระบบทำจดหมาย (E-mail Marketing: EDM) ข่าวด้านการตลาดออนไลน์ให้ง่าย!! เพราะเบื่อจะออกแบบอีเมล เนื่องจากยุ่งยากและวุ่นวาย เพียงจากความเบื่อหน่ายนั่นแหละ กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นอันยิ่งใหญ่ของธุรกิจเมลชิมพ์ที่วันนี้ว่ากันว่า มูลค่าธุรกิจกว่า 400 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทแล้ว ก็อย่างที่เราเคยรู้กันแหละว่า หากเริ่มต้นธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหา น้อกจากจะไม่เหมือนใครแล้ว ยังสร้ายรายได้เป็นกอบเป็นกำด้วย
แหม่… แต่ละธุรกิจที่เล่ามาข้างต้น ช่างปังจริง อะไรจริงแบบนี้ ผู้เขียนสัญญาเลยว่าจะนำมาบอกเล่าอีกแน่นอนค่ะ 🙂
___
แหล่งข้อมูล: hackernoon.com, shutterstock.com, issue247.com, techvibes.com
เรื่อง: Butter Cutter
RECOMMENDED CONTENT
Jackson Wang ร่วมงานกับดูโอ้ดีเจเพลงอิเล็กทรอนิกส์ชาวสวีเดนระดับโลก Galantis ส่งซิงเกิลใหม่ “Pretty Please” ในสไตล์ Pop Dance พร้อมมิวสิกวิดีโอที่มาในบรรยากาศแบบหนังจีนฮ่องกงคลาสสิกที่แจ็คสันได้ลงนั่งกำกับ เขียนบท และตัดต่อเองด้วยตัวเขาเอง