fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#LIVING — 7 บ้านกระจกในญี่ปุ่น ที่เปิดโปร่งโล่งจ้า สวยเก๋ท้าสายตาสุดๆ
date : 16.สิงหาคม.2017 tag :

 

หากเปรียบโลกเป็นละครและเราทั้งหลายเป็นผู้แสดง คอลเล็กชั่นบ้านกระจกของญี่ปุ่นนี้นับว่าเป็นตัวเอกที่นำเสนอวิถีชีวิต ความเป็นส่วนตัวของการอยู่อาศัยในแบบที่ไม่เหมือนใคร  ไม่ว่าจะด้วยการขยายส่วนหน้าต่าง ทำผนังกระจก และเพิ่มพื้นที่ใช้สอยกลางแจ้ง โปรเจ็กต์เหล่านี้นอกจากจะเผยชีวิตในบ้านต่อโลกภายนอกแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้รับเอาโลกภายนอกเข้าสู่วิถีชีวิตเช่นกัน เพราะนั่นคือยิ่งเปิดโล่งโปร่งแสงมากเท่าไร ก็ยิ่งเห็นกันและกันกับโลกภายนอกมากขึ้นท่านั้น

นับเป็นงานสถาปัตย์ที่ท้าทายไม่น้อย ในการสร้างสรรค์ที่พักอาศัยระดับครอบครัวซึ่งความเป็นส่วนตัวจะไม่มีอย่างที่เคยเป็นมา เป้าหมายหลักของความโปร่งโล่งใสคือ เพื่อให้แสงและอากาศส่งผ่านเข้าไปในตัวบ้านได้เต็มที่ แม้บ้านหลายหลังในโปรเจ็กต์นี้จะอยู่ในย่านสุดฮิป ทำให้ได้ตัวบ้านทรงสูงและไม่กว้างนักบนพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัด แต่ด้วยองศาความสูง โปร่ง ใส ช่วยให้อากาศหมุนเวียนได้ดี พร้อมทั้งแสงแดดที่แผ่เข้ามาให้ความอบอุ่นด้วย  เรียกได้ว่าแม้มีพื้นที่น้อยก็สามารถออกแบบบ้านให้ดูไม่อึดอัดได้ เพียงแค่ปล่อยให้บริบทรอบตัวได้แทรกซึมเข้ามา

7 japanese glass houses dooddot 17 japanese glass houses dooddot 27 japanese glass houses dooddot 3

01 —
S House:
 yuusuke karasawa architects
Saitama Prefecture, Japan

เสน่ห์ของบ้านหลังนี้คือพื้นที่ภายในบ้านที่แสนจะเรียบง่าย การมองเห็นรอบทิศทาง และพื้นที่แต่ละชั้นถูกเชื่อมต่อกันอย่างเรียบง่าย เนื่องจากใช้กระจกรอบด้าน ทำให้บริเวณภายในเปิดรับแสงได้ตลอดทั้งวัน และยังสะท้อนรูปทรงเรขาคณิตจากภายนอกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

7 japanese glass houses dooddot 47 japanese glass houses dooddot 57 japanese glass houses dooddot 21

02 —
House NA:
  Sou Fujimoto Architects
Tokyo, Japan

จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือการเชื่อมต่อแต่ละโซน แต่ละชั้น ที่คล้ายกับต้นไม้แตกกิ่งก้าน ด้วยโครงสร้างเหล็กกรอบขาว และกระจกแผ่นยักษ์ ไปเป็นห้องนั้น ชั้นโน้น เพื่อให้สมาชิกในบ้านได้พูดคุยกัน ได้กระโดดหากันตามโซนต่างๆ พร้อมให้ความรู้สึกว่าได้เชื่อมโยงกันอยู่ตลอด

7 japanese glass houses dooddot 67 japanese glass houses dooddot 87 japanese glass houses dooddot 7

03 —
Villa SSK:
 Takeshi Hirobe Architects
Chiba, Japan

ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่ง บ้านสวยโปร่งใสแห่งนี้จึงโอบล้อมไปด้วยทิวทัศน์อันแสนงดงาม ด้วยภูเขาที่เชื่อมต่อกับน่านน้ำอย่างสุดลูกหูลูกตา วิวสวยๆ น่าซึมซับบรรยากาศอย่างนี้ จะเปิดโล่งหรือกระจกรอบทิศก็น่าอยู่กว่าทำเลในเมืองเป็นไหนๆ

7 japanese glass houses dooddot 9
7 japanese glass houses dooddot 107 japanese glass houses dooddot 11

04 —
House in Takadanobaba:
 Florian Busch Architects
Tokyo, Japan

ด้วยความที่บ้านหลังนี้สร้างขึ้นระหว่างตึกใหญ่ 2 ตึกขนาบข้าง มันจึงมีสัดส่วนออกมาค่อนข้างแปลกตา โดยกว้างเพียง 4.7 เมตร แต่ลึกเข้าไป 22 เมตร ประตูและหน้าต่างกระจกโซนหน้านอกจากจะให้ความสวยแล้ว ยังเปิดรับแสงสว่างจากเมืองใหญ่ ขับให้ตัวบ้านที่แม้จะเล็กแต่กลับเด่นสะดุดตา

7 japanese glass houses dooddot 127 japanese glass houses dooddot 137 japanese glass houses dooddot 14

05 —
Life in Spiral:
 Hideaki Takayanagi Arch & Assoc
Tokyo, Japan

อาคารหลังนี้แทรงตัวอยู่ในชุมชมใจกลางกรุงโตเกียว พื้นที่ต่างๆ ในตัวอาคารถูกคิดขึ้นจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เริ่มขึ้นจากส่วนใจกลางบ้าน ซึ่งมองจากภายนอกก็จะเห็นได้ชัดเจนในส่วนแกนกลางของบ้านที่เชื่อมต่อกันทั้ง 4 ชั้น

7 japanese glass houses dooddot 157 japanese glass houses dooddot 167 japanese glass houses dooddot 17

06 —
House With a Large Hipped Roof 
: Naoi Architecture & Design Office
Ibaraki, Japan

หลังคาโปร่งใสด้วยกระจกบานใหญ่ พร้อมขื่อไม้สีธรรมชาติช่วยนำแสงเข้ามาในพื้นที่ห้องใต้หลังคา เกิดเป็นแสงอันอบอุ่น เรียบ สวย มีสไตล์ และด้วยความที่ประเทศญี่ปุ่นมีอากาศหนาว การเปิดรับแดดในเวลากลางวันยิ่งที่ให้บ้านหลังนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

7 japanese glass houses dooddot 197 japanese glass houses dooddot 207 japanese glass houses dooddot 18

07 —
House and Garden 
Ryue Nishizawa
Tokyo, Japan

ด้วยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กวางซ้อนกัน ใช้กระจกแบ่งพื้นที่ใช้สอย และใช้ม่านกั้นความเป็นส่วนตัว พร้อมลูกเล่นที่ดาดฟ้าเจาะพื้นให้บ้านดูโปร่งโล่งยิ่งขึ้น เพื่อจัดวางต้นไม้ให้ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเต็มที่ ทั้งยังมีบันไดเวียนโครงเหล็กช่วยให้แทรกต้นไม้เข้าไปในทุกชั้นของบ้าน เพิ่มความสดชื่นน่าอยู่ได้ดีไปอีก

—————

Writer > Jayda Sopasooksri

RECOMMENDED CONTENT

17.มกราคม.2020

“People on Sunday” (2562) เป็นการตีความ บทสนทนาโต้ตอบ และสาส์นแสดงความนับถือต่อภาพยนตร์บุกเบิกจากประเทศเยอรมันเรื่อง “Menshen Am Sonntag” (2473) หรือ “ผู้คนในวันอาทิตย์” ผลงาน “People on Sunday” (2562) ได้นำภาพยนตร์ต้นฉบับดังกล่าวกลับมาตีความใหม่ผ่านบริบทที่แตกต่างจากเดิม ทั้งยุคสมัย ภูมิประเทศ ตลอดจนสภาพในการทำงาน