ดีไซน์อันเย้ายวน ความหรูหราของเนื้อผ้าที่คัดสรรอย่างดีเลิศและลายพิมพ์ ดอกไม้ คือสิ่งที่ แบรนด์ DISAYA รวบรวมสอดแทรกไว้ในทุกอณูของแต่ละคอลเลกชั่น เช่นเดียวกับ “Among the living flowers” คอลเลกชั่นล่าสุดของ DISAYA
ในซีซั่นนี้ ออม-ดิษยา สรไกรกิติกูล ครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ ได้หยิบเอาศิลปะการจัดดอกไม้ชั้นสูงของญี่ปุ่น Ikebana (อิเคบานะ) นำความอ่อนโยนและความเรียบง่ายที่แฝงไปด้วยพลังของธรรมชาติมาจัดแต่งด้วยสีสันของฤดูกาลและทำให้พื้นที่ดูมีชีวิตมากขึ้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง ลายพิมพ์ดอกไม้ นานาชนิด ถูกจัดเรียงอย่างมีความหมาย ลายพิมพ์จากชุดกิโมโน อย่าง ลายนกกระเรียน ลายผีเสื้อ ถูกนำมาปรับให้ดูโมเดิร์นขึ้นผ่านเทคนิค Stencil (สเตนซิล) ที่ทำให้เกิดการฟุ้งของสีโดยรอบเพื่อเกิดเป็นลายและซิลลูเอทใหม่แสนเย้ายวน
โครงจากชุดกิโมโนถูกนำเสนอในมุมมองใหม่ผสานกับเทคนิคการปักดอกไม้ 3 มิติ สะท้อนผ่านโครงร่างเสื้อผ้าหลากหลายดีไซน์พร้อมกับเติมความสดใสและอ่อนหวานในโทนสีพาสเทล อย่าง สีฟ้า,สีเหลือง, สีชมพู และ สีม่วง ชุดกระโปรงป้าย หรือ wrap dress โดดเด่นด้วยลูกเล่นการเดรปผ้าช่วงเอว เสื้อสายเดี่ยว กระโปรงผ้าลูกไม้ ดีไซน์เรียบหรูด้วยกระดุมมุกและปักดอกไม้สามมิติ เสื้อครอป กางเกงขาบาน สีออมเบร์ ไล่โทนสีเหลือง ปักลายดอกไม้ประดับเลื่อมอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ดิษยา มินิเดรส กลิ่นอายกิโมโน ไล่โทนสีฟ้า-เหลือง โดดเด่นด้วยลูกเล่นเชือกผูกเอวขนาดใหญ่และตัดต่อระบายช่วงแขน
พบกับ DISAYA – Among the living flowers คอลเลกชั่นที่เต็มไปด้วยดีเทลแห่งความเฟมินีน คลาสซี่ และสวยสะกดตา สวมใส่ง่ายเข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงยุคใหม่ ได้ที่ www.disaya.com Line official / Instagram @disayaofficial และ DISAYA Boutique ทุกสาขา
RECOMMENDED CONTENT
‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย