ชีวิตการทำงานอัดความเครียดจนแน่นเอี๊ยด บวกกับสังคมแวดล้อมที่บีบบับคับให้เร่งรีบ แข่งขันกับเวลา ไหนจะพื้นที่แออัด มองไปทางไหนเห็นแต่ตึกสูงกับผู้คน บีทีเอสที่คนอัดแน่นเป็นปลากระป๋อง รถเมล์ที่เบียดกันจนแทบขาดอ๊อกซิเจน หรือจะร้านอาหารที่ต้องรับบัตรคิวนั่งรอกันยาว ชีวิตของคนเมืองเผชิญความวุ่นวายไม่เว้นแต่ละวัน คนกลุ่มนี้จึงถวิลหาชีวิตแบบช้าๆแต่ชัวร์ ชีวิตที่ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ได้เห็นต้นไม้สีเขียว ได้กินอาหารสดจากไร่ หรือชีวิตที่เรียกกันเก๋ๆว่า Slow Life ขณะที่ Slow Life กำลังฮอตฮิตติดกระแส ก็มีหลายความเห็นชี้ชัดฟันธงว่าอีกไม่นานเทรนด์นี้ก็จะไป Slow Life จะมาเร็วไปเร็วหรือเปล่าไม่มีใครรู้ได้ แต่ที่แน่ๆ มีสตาร์ทอัพกลุ่มหนึ่งกำลังทำธุรกิจแนว Slow Life แบบอยู่ยืนยาว
1. Digital Detox
การเที่ยวแต่ละครั้งเราแทบไม่ได้อยู่กับตัวเองซักเท่าไหร่ เพราะมัวแต่หามุมสวยถ่ายรูป อัพเดทลง facebook หรือ Instagram บรรยากาศการเที่ยวก็เลยไม่ได้หนีจากความวุ่นวายแบบสุดๆ Digital Detox จึงรวมสถานที่พักร้อนพร้อมแพคเกจหนีโลกดิจิตอลโดยแพคเกจนี้จะช่วยให้ผู้ร่วมทริปมีความสุขกับบรรยากาศตรงหน้าจนลืมมือถือเสียสนิท หรือใครอยากตัดขาดกับโลกภายนอกแบบเบ็ดเสร็จ ทาง Digital Detox ก็มีที่พักในที่ห่างไกลไร้สัญญาณโทรศัพท์
เคล็ดลับ : มีระดับความต้องการตัดขาดจากโลกภายนอก ตั้งแต่ไม่มี TV ไม่มี Wifi จนถึงไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ให้ผู้ใช้บริการเลือกใช้ตามความชอบเลย
โอกาสทางธุรกิจ : การท่องเที่ยวรูปแบบนี้กำลังได้รับความสนใจหลังจากมีงานวิจัยเปิดเผยว่าโทรศัพท์มือถือบั่นทอนความสร้างสรรค์ เพิ่มความเครียด เป็นต้นเหตุโรคสมาธิสั้นนั่งเฉยไม่ได้ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดฮวบฮาบ
Website: http://digitaldetoxholidays.com
2. freight farms
คนเมืองหลายคนชื่นชอบการปลูกต้นไม้ แต่พื้นที่แคบขนาดหนูดิ้น ลำพังจัดเก็บเสื้อผ้าและเครื่องสำอางค์ก็ไม่มีพื้นที่เหลือแล้ว ถ้าคิดจะปลูกต้นไม้คงต้องปีนขึ้นไปปลูกบนหลังคา อาหารจำพวกผักสดโดยเฉพาะผักออร์แกนนิคที่กินอยู่ส่วนมากก็ถูกส่งจากชาญเมืองหรือต่างจังหวัด
freightfarms จึงออกแบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นพื้นที่ให้คนเมืองเช่าปลูกผักกินเองและบ้านไหนพอมีบริเวณก็ซื้อตู้คอนเทนเนอร์มาไว้ปลูกผักหารายได้เสริมอีกทางหนึ่ง หรือสำหรับเกษตรปลูกผักขนาดเล็กและขนาดกลางอยากลดต้นทุน อยากปลูกผักได้ทุกฤดูและเพิ่มคุณภาพผัก คอนเทนเนอร์ของ freightfarms ก็ตอบโจทก์ไม่แพ้กัน
เคล็ดลับ : freightfarms วางเป้าหมายทำให้ผักออร์แกนนิคราคาถูกลงและคนทั่วไปเข้าถึงได้ โดยสร้างตู้คอนเทนเนอร์ที่มีอุปกรณ์ปลูกผักครบครันเพื่อคนเมืองที่ไม่มีมีเวลา ไม่มีพื้นที่สามารถปลูกผักกินเองได้ หรือใครอยากปลูกผักขายก็ทำได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ freightfarms ยังเข้าเป็นพาร์ทเนอร์กับโรงเรียนเพื่อเอาตู้คอนเทนเนอร์ปลูกผักไปวาง เด็กๆจะได้ช่วยกันปลูกผักและได้กินผักไร้สารพิษ
ความสำเร็จ : คอนเทนเนอร์ของ freightfarms ราคาตู้ละ 60,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ภายในตู้คอนเทนเนอร์ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พร้อมตั้งต้นปลูกผัก การขายตู้คอนเทนเนอร์สร้างรายได้ให้สตาร์ทอัพรายนี้ประมาณ7.8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ไม่ธรรมดาจริงๆ
Website: http://www.freightfarms.com
3. Local Alike
ทุกก้าวของการเดินทาง เรากำลังเรียนรู้โลกใบนี้ไม่มุมที่ไม่เคยสัมผัส การเคลื่อนย้ายตัวเองจากเมืองกรุงอันคุ้นเคยและออกไปใช้ชีวิตกับชาวบ้านในชนบท ได้กินอาหารท้องถิ่น ได้ออกเรือจับปลา ได้ฟังเรื่องเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ ได้เรียนรู้ความเชื่อของชาวเขา ทุกเรื่องราวความประทับใจรวบรวมอยู่ในทริปของ Local Alike platform ที่เชื่อมนักท่องเที่ยวเข้ากับชุมชนต่างๆในประเทศไทย ซึ่งการร่วมทริปกับ Local Alike ทุกคนจะได้อะไรมากกว่าภาพถ่ายชิคๆแน่นอน
เคล็ดลับ : Local Alike ร่วมหัวจมท้ายกับชุมชน โดยทีมเริ่มต้นช่วยคิดแพคเกจทัวร์ให้ขายได้ ดึงจุดเด่นของชุมชนออกมา ช่วยพัฒนาชุมชน และเป็นช่องทางขายแพคเกจทัวร์
โอกาสทางธุรกิจ : มีกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วโลกสนใจการท่องเที่ยวแบบยังยืนจำนวน 4.4 ล้านคนถือเป็นตลาดกลุ่มใหม่ที่น่าจับตามอง
Website: http://www.localalike.com
4. Siam organic
คนเมืองเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นและเปลี่ยนมากินข้าวกล้องออร์แกนนิคหลากสีแทนข้าวขาว นับเป็นจังหวะเหมาะที่ Siam organic เพิ่มข้าวแจสเบอร์รี่เป็นตัวเลือกใหม่ให้กับคนเมืองโดยข้าวตัวนี้เป็นข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มสารอนุมูลอิสระ นอกจากขายข้าวแล้ว Siam organic ยังขายชาข้าว แป้งจากข้าว และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเพื่อเอาใจคนรักสุขภาพ
เคล็ดลับ: คุณปีตาชัย เดชไกรศักดิ์ CEO Siam organic ลงพื้นที่ขลุกขลีกับเกษตกร 1 ปีเต็มเพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิตแบบทะลุทุกด้าน ไม่ใช่แค่เข้าใจเกษตรกรแบบเท่านั้น คุณปีตาชัยยังมองหาความต้องการของตลาด เพราะธุรกิจโตไม่ได้แน่ถ้าไม่มีตลาด
ความสำเร็จ : Siam Organic มีเกษตรในเครือข่าย 600 คน ซึ่งมีรายได้สูงกว่าชาวนากลุ่มอื่นถึง 8 เท่า และตอนนี้สินค้าของ Siam Organic โกอินเตอร์เจาะตลาดต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว
Facebook: https://www.facebook.com/siamorganic/
ไม่ว่าในอนาคตกระแส Slow Life จะยังอยู่หรือตกกระป๋องถูกกลบด้วยกระแสใหม่ เชื่อว่า 4 สตาร์ทอัพยังคงยืนหยัดและเติบโต เพราะพวกไม่ได้ทำธุรกิจโหนกระแส Slow Life แต่พวกเขาทำธุรกิจด้วยความเข้าใจความต้องการของลูกค้าแถมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
Writer: methawee thatsanasateankit
ขอบคุณรูปภาพจาก : localalike , reightfarms , digitaldetoxholidays ,https://www.facebook.com/siamorganic , wefunder.me , hadarchalet
RECOMMENDED CONTENT
ถ้าใครมาญี่ปุ่นแล้วอยากพักใจกลางเมือง ราคาไม่แพง เทปนี้เราพานอนโรงแรมแคปซูลสุดเท่ ว่านอนอย่างไร อยู่กันอย่างไร ห้องน้ำเข้าแบบไหน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับ Tokyo Marathon ในวันรุ่งขึ้น Dooddot x Running Insider x Runner's journey