fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#PHOTOGRAPHY — เทคนิคถ่ายภาพแนวสถาปัตยกรรม ‘Architecture Photography’ ง่ายๆ แต่สวยชัวร์ด้วยมือถือของคุณ
date : 27.ตุลาคม.2017 tag :

architecture-photography-guide-dooddot-COVER

ทุกครั้งที่เปิดหน้า feed อินสตาแกรม เรามักจะเห็นภาพถ่ายสถาปัตยกรรมสวยๆ ผ่านมาให้กดไลค์อยู่เป็นประจำจากมหานครชื่อดังของโลกต่างๆ ไม่ว่าจะทั้งนิวยอร์ก ปารีส ลอนดอน โตเกียว หรือฮ่องกง ซึ่งต่างเป็นเมืองหลวงที่เพียบพร้อมไปด้วยตึกรามบ้านช่อง และมุมเล็กมุมน้อยอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ให้น่าถ่ายรูปเก็บไว้ในทุกที่ที่ไป และยิ่งพอมาเห็นรูปทิวทัศน์อันสวยงามของเมืองแต่ละเมืองบนอินสตาแกรม นอกจากจะมาสะกิดความอยากให้พวกเราออกไปท่องเที่ยวด้วย

และนั่นยังทำให้เราอยากที่จะเรียนรู้เทคนิคถ่ายภาพเชิง ‘Cityscape’ (ภาพทิวทัศน์ของเมือง) หรือ ‘Architecture Photography’ (การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม) อีกด้วย เพื่อที่เวลาได้ไปเที่ยว พวกเราจะได้มีภาพสถาปัตยกรรมเท่ๆ สวยๆ ลง IG อวดเพื่อนๆ กันบ้าง

วันนี้เรามีเทคนิคถ่ายภาพสถาปัตยกรรมง่ายๆ แต่ได้ผลชัวร์ จาก iPhone โดย Taiyo Watanabe สถาปนิก และช่างภาพมืออาชีพจากลอสแองเจลิส มาให้อ่านกันสนุกๆ เพื่อที่จะช่วยให้คุณพัฒนาฝีมือ และมุมมองในการถ่ายภาพให้เจ๋งยิ่งขึ้น ว่าแล้วก็เลื่อนลงไปดูเทคนิคต่างๆพร้อมๆกันเลยดีกว่า!

architecture-photography-guide-dooddot-01architecture-photography-guide-dooddot-02architecture-photography-guide-dooddot-03

[ จัดตำแหน่ง (Alignment) ของภาพให้ถูก ]

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ต้องอาศัยความแม่นยำทุกครั้งในเรื่องของ perspective และ vanishing point (จุดนำสายตา) ถึงแม้จะเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่อันที่จริงแล้วการถ่ายภาพในลักษณะนี้ก็ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การยิง perspective แค่มุมเดียวเท่านั้น ถ้าคุณอยากได้ภาพที่ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ก็สามารถลองเล่น หรือทดลองกับ vanishing point หลายๆ จุดไปเรื่อยๆ ก็ได้

ส่วนการจะได้ภาพถ่ายสถาปัตยกรรมดีๆ นั้น ก่อนอื่นเลยคือต้องจัดตำแหน่งของภาพให้เข้าที่เข้าทาง ซึ่งตัวช่วยของคุณในที่นี้ก็คือการเปิด grid บน iPhone คุณนั่นเอง พยายามหาจุด หรือแนวเส้นในภาพให้ตรงกับกรอบ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะถ่ายภาพด้านนอกของแนวตึก พยายามทำให้ขอบของตึกขนานไปกับเส้นแนวตั้ง ในขณะที่เส้นของพื้นนั้นขนานคู่ไปกับเส้นแนวนอนของ grid เป็นต้น

architecture-photography-guide-dooddot-04architecture-photography-guide-dooddot-05architecture-photography-guide-dooddot-06

[ แนวตั้ง หรือแนวนอน ถ่ายภาพแบบไหนดีกว่ากัน? ]

แม้ว่าตอนนี้กล้องจากมือถือจะมี function การถ่ายภาพของเลนส์แบบ tilt-shift หรือเลนส์ที่ใช้สำหรับการแก้ปัญหาการบิดเอียงของภาพ แต่บางครั้งมันง่ายกว่าที่จะถ่ายภาพแนวตั้ง (portrait) เพื่อให้ได้ภาพที่มี composition ของตึกสูงที่ดี หรือถ้าอยากถ่ายภาพที่เป็นแนวนอนจริงๆ (landscape) พยายามจัด composition ของตัวตึกให้เต็มเฟรมไปเลย เพื่อให้ภาพดูอิมแพคมากกว่าเดิม โชคดีที่ตอนนี้อินสตาแกรมสามารถให้เราลงรูปขนาดใดก็ได้ โดยที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่ขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนแต่ก่อน เวลาจะลงรูปสถาปัตยกรรม หรือรูปอะไรก็ตามที่เราจัดวาง composition มาอย่างดี ก็สามารถอัพโหลดได้เลย โดยที่ไม่ต้องคอยมาคร็อปภาพให้เสียคอมโพสที่เราอุตสาห์คิดมาให้หงุดหงิดใจเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป

architecture-photography-guide-dooddot-07architecture-photography-guide-dooddot-08architecture-photography-guide-dooddot-09

[ เรื่องของ Perspective ต้องเอาให้แม่น ]

ก่อนที่จะไปปรับสี เล่นฟิลเตอร์ในแอพแต่งภาพอย่าง VSCO แอพที่อยากแนะนำให้ลองใช้สำหรับการปรับ Perspective ให้เป๊ะๆ ก็คือ SKRWT ซึ่งถ้าคุณอยากได้ภาพที่เน้น perspective จัดๆ แบบหายห่วง ควรใช้แอปนี้สำหรับเป็นกล้องถ่ายภาพไปเลย เพราะถ้านำภาพที่ถ่ายจากกล้องธรรมดามา edit ภายหลัง อาจทำให้คุณภาพของภาพแย่ลงจากการถูกหด ถูกยืด แถมอาจยังดูเฟค ไม่เป็นธรรมชาติ หากแต่งภาพมากเกินไป เอาเป็นว่าทุกครั้งที่คุณอยากได้ภาพที่มี perspective แม่นๆ ควรเปิด grid บน iPhone ทุกครั้ง รวมถึงในพวกแอพถ่ายภาพต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน

architecture-photography-guide-dooddot-10architecture-photography-guide-dooddot-11architecture-photography-guide-dooddot-12

[ เล่นกับแสง ]

อีกข้อสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการเล่นกับแสงและเงา ซึ่งสองสิ่งนี้จะทำให้การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมดูมีชีวิต และน่าสนใจขึ้นอีกหลายเท่า ลองทดลองถ่ายภาพของพวกแสงและเงาต่างๆ ตามตึกไปเรื่อยๆ แล้วคุณจะค้นพบว่าบรรยากาศ และคาแรคเตอร์ของตึกสามารถเปลี่ยนไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ แล้วพอคุณได้ภาพที่ต้องการแล้ว ทีนี้คุณก็มาสนุกกันต่อกับการปรับสี ปรับ contrast ของแสงในแอพแต่งภาพต่างๆเพื่อให้ได้ภาพที่เพอร์เฟ็กต์อย่างที่คุณต้องการ

RECOMMENDED CONTENT

24.พฤศจิกายน.2020

น่าจับตามองมากที่สุด สำหรับศิลปินคู่หูอินดี้ป๊อปอย่าง “Landokmai” (ลานดอกไม้) ประกอบด้วย “อูปิม - ลานดอกไม้ ศรีป่าซาง” (ร้องนำ) และ “แอนท์ - มนัสนันท์ กิ่งเกษม” (กีตาร์, คอรัส) สังกัดค่ายเพลง What The Duck (วอท เดอะ ดัก) ด้วยความชัดเจนโดดเด่นทางด้านดนตรีที่ผสมผสานความเป็น Dream-pop และความวินเทจแบบ Lo-fi ไว้ด้วยกันได้อย่างมีเสน่ห์