วันนี้ DOODDOT จะมาพูดคุยกับ NIKE THAILAND อีกครั้งกับ Private Preview อีกหนึ่งรองเท้าที่แรกของ South East Asia และนี่คือรองเท้าโมเดลที่ 3 จากโปรเจค HTM และรุ่นนี้มากับโคดเนม “M” กับเจ้า Nike Air Max Ultra M โดย Mark Parker ซึ่งก็คือ CEO. ของบริษัท Nike,Inc., ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า CEO คนเก่งคนนี้ มีความสนใจและ Lifestyle ที่เจ๋งๆอยู่เหมือนกัน เพราะนอกจากเขาจะดูแลหนึ่งในบริษัทที่ดีที่สุดของโลก และยังกอบกู้หลายๆ สถานการณ์ของ NIKE แล้ว เขาคือ Art Collector ตัวยงของวงการศิลปะ ซึ่งเขามีความสนใจในงาน modern art และ contemporary art เป็นอย่างมาก ซึ่งแม้กระทั่งในห้องทำงานเขาก็มีงานศิลปะวางอย่างมากมาย ไม่ว่างจะเป็น Andy Warhol, Adonna Khare, Mark Ryden, Todd Schorr, Tim Biskup, Eric White, Sebastian Kruger, Charles Krafft, Glennray Tutor ซึ่งล้วนแต่เป็นศิลปินระดับโลกทั้งนั้น และแน่นนอน ภายใต้โปรเจค HTM เขาคืออีกหนึ่งส่วนผสมสำคัญเคียงคู่กับ Hiroshi Fujiwara (H) และ Tinker Hatfield (T) นั่นเอง
Mark Parker นั้นได้ร่วมงานกับ Nike นับตั่งแต่ 1979 ในตำแหน่งของ footwear designer ในพื้นที่ของ Research and Development จนได้ขึ้นมาเป็น CEO ในปี 2006 โดยโมเดล Nike Air Max Ultra M ของ Mark Parker นั้น ตัวรองเท้าเป็นการเอาพื้นฐานของ AIR MAX Big Window มาปรับเปลี่ยนและแต่งเติมใส่ส่วนของวัสดุเข้าไป หน้าผ้าใช้เทคโนโลยี jacquard textiles โดยลายหน้าผ้ารองเท้าได้แรงบันดาลใจมาจากรองเท้าที่ Mark เคยออกแบบรองเท้าวิ่งตระกูล V-series ในยุค 80 ซึ่งประกอบด้วย Vengeance Vortex Vector ตัวเชือกรองเท้าเป็นแบบ Waxed laces โดยที่ส้นเท้ามีลายเซ็นของ Mark Parker และลิ้นรองทำทำจากหนัง พร้อมลาย graphic pattern ตัว “M” คาดที่พื้นรองเท้าที่มากับเทคโนโลยี Ultra ให้น้ำหนักเบาใส่สบาย ต้องบอกว่านี่คือรองเท้า Signature Shoes คู่แรกของเขาที่ไม่เคยทำมาก่อน ที่ทำให้เห็นว่า Mark Parker นั่นร่วมทำงานกับทีม ออกแบบ และ Product development มานานและเป็นส่วนสำคัญของ Nike, Inc., อย่างแท้จริง
ต้องขอบคุณ NIKE THAILAND ที่สร้าง Session สุดพิเศษให้กับพวกเราและ แน่นอนว่ารองเท้าคู่นี้จะวางขายในเมืองไทย วันที่ 26 มีนาคม 2016 เพื่อเฉลิมฉลอง Air Max Day 2016
RECOMMENDED CONTENT
‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย