fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#Visit : เบื้องหลังแนวคิด Startup จากคุณหมู Ookbee ผู้นำแพลตฟอร์มอีบุ๊คและ Fund Manager จาก 500 TukTuks
date : 21.ธันวาคม.2016 tag :

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 1

คุณเชื่อไหมว่าเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้? หลายครั้งที่คนเรามักมองสิ่งที่เกินความสามารถว่ามันเป็นไปไม่ได้ ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน เราคงไม่คิดว่าจะมี Smart Phone เกิดขึ้นให้เราทำทุกอย่างได้บนโทรศัพท์เครื่องเดียว เราคงไม่คิดว่าวันหนึ่งเราจะสามารถเรียกแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชั่น หรือแม้แต่ตอนนั้นเรายังไม่รู้จักคำว่าแอปพลิเคชั่นด้วยซ้ำไป เมื่อเวลาผ่าน เทคโนโลยีก้าวหน้าล้ำสมัย หลายสิ่งที่เคยเป็นไปไม่ได้กลับเป็นไปได้เพราะมีใครบางคนริเริ่มทำอะไรบางอย่าง ในทุกวันนี้เราคงได้ยินคำว่า Startup กันอย่างคุ้นหู เด็กรุ่นใหม่ ใครๆ ก็อยากทำ Startup แต่ภายใต้เหตุผลนั้นมันคือความเท่ โก้เก๋หรือเม็ดเงินอย่างเดียวหรือเปล่า วันนี้เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกเบื้องลึกเบื้องหลังของเจ้าพ่อวงการ Tech Startup อย่างคุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ แห่งแพลตฟอร์มอีบุ๊คที่มีชื่อว่า Ookbee ซึ่ง ตอนนี้เป็นแพลตฟอร์มอีบุ๊คที่ใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia

Ookbee เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

จริงๆ แล้ว Ookbee เริ่มมาจากการเป็นทีมในแผนกของบริษัทซอร์ฟแวร์เฮ้าส์ของผมชื่อว่า IT Works ผมเปิดมาตั้งแต่เรียนจบใหม่ๆ รับเขียนโปรแกรมจนวันหนึ่งคิดว่าอยากมีผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง ที่เขียนโปรแกรมแล้วเอามาขายในพวก App Store ให้คนใช้เยอะๆ เราคิดว่าโลกมันใหญ่มาก แล้วเราจะทำอะไรที่ไม่ต้องมานั่งเป็นผู้ผลิต Content เอง ประกอบกับตอนนั้นพวก E-book นิตยสารมันมีให้อ่านบนคอมพิวเตอร์แต่ว่ามันพกไปไหนก็ไม่สะดวกเครื่องใหญ่ แต่ถ้าเกิดมาอยู่บนแพลตฟอร์มอย่างโทรศัพท์ แท็บเล็ต น่าจะสะดวกขึ้นเยอะ เราเลยตัดสินใจทำสิ่งที่เรียกว่า Market Place ขายหนังสือ นิตยสาร กลายเป็น Ookbee ขึ้นมา

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 2

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 3

เราใช้โมเดล Startup มาแต่ต้นเลยหรือเปล่า?

ตอนนั้นที่เราเริ่มทำ บ้านเรามันยังไม่ได้มี Ecosystem ของ Startup อะไรขนาดนั้น ตอนแรกมันก็เล็กๆ มีคน 4-5 คน แต่พอทำไป 7-8 เดือนเริ่มมีกำไร เราก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้มันโตเร็วๆ พอถ้าคิดเรื่องโตเร็วๆ มันต้องเป็น Startup เป็นแพลตฟอร์มที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้อง Connect ฝั่ง Demand และ Supply เข้าด้วยกัน ไม่ได้พยายามที่จะผลิตสินค้าออกมาขายเอง อย่าง Uber ถ้าเขาเป็นอู่รถ ก็ต้องจ้างคนขับรถ ต้องมีรถ มันไม่มีทางโตเร็วได้แบบนี้ แต่พอเป็นแพลตฟอร์ม ใครๆ ก็ขับรถได้ เราก็ลงทุนเองในช่วง 2 ปีแรก หลังจากนั้นก็เริ่มมีนักลงทุนเข้ามาคือ Intouch ก็เป็นโอกาสที่ดีสำหรับเราในการขยาย เติบโตขึ้น

พอเป็น Startup มีนักลงทุนเข้ามา วิธีการทำงานเปลี่ยนไปไหม?

เราเริ่มจ้างคนเพิ่มขึ้นและเริ่มคิดว่าทำยังไงที่ธุรกิจจะโตให้ได้หลายๆ เท่าต่อปี ถ้าเราเป็น SME เราจะมองแค่เรื่องกำไร ขาดทุน โตอย่างมั่นคง แต่พอ Startup เราไม่โฟกัสเรื่องกำไรระยะสั้น คือ Startup แรกๆ ไม่เน้นเรื่องกำไรเลยด้วยซ้ำแต่จะเน้นเรื่องดึงคนเข้ามาใช้งานให้เยอะแล้วเอารายได้ไป Reinvest เพื่อให้มันโตเร็วๆ

Startup ต้องโตเร็ว ความเสี่ยงมีบ้างไหม?

แน่นอน (ยิ้ม) บริษัทอะไรจะโตไปได้เรื่อยๆ ท้ายที่สุดมันจะต้องทำเรื่องใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะ Startup มันคือเรื่องของเทคโนโลยีและเทคโนโลยีก็มีความเปลี่ยนแปลง เทรนด์มันเร็ว อย่างเมื่อก่อนก็เป็นยุค Hi5, MSN เปลี่ยนมาเป็น Facebook ธุรกิจเราเองก็มีความเสี่ยง เพราะ Ookbee ขายนิตยสาร E-Book หลังๆ นิตยสารขายไม่ดีก็ทยอยปิดตัว พอปิดตัวเยอะๆ แล้วเราจะทำยังไง ก็ต้องคิดต่อว่าจะหาผลิตภัณฑ์อะไรมาขายหรือมองหาตลาดใหม่ๆ

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 7

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 5

นักธุรกิจหนุ่มที่มี Commitment อย่างคุณหมู โฟกัสอะไรมากที่สุด?

เวลาที่เราทำธุรกิจ สิ่งที่เรามีจำกัดคือเรื่องเวลา เรามีเป้าหมายที่ใหญ่แต่ต้องสำเร็จในไม่กี่ปี พอเรารู้แล้วว่าเป็นแบบนี้วิธีคิดจะเปลี่ยนเลย เคยได้ยินไหมที่บอกว่าถ้าเรารู้ว่าเราจะตายภายในอาทิตย์หน้า เราจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญ เราคงไม่มานั่งเล่น Facebook วันละ 4 ชั่วโมง พอหลังๆ มานี้ผมเลยคิดว่าจะทำยังไงให้ประเทศไทยมี Ecosystem ของ Startup เพื่อแข่งกับ Startup ต่างประเทศได้เยอะๆ ถ้าเอาแค่ Ookbee มันอาจจะเจ๊งก็ได้หรือมันไม่ได้สร้างอะไรให้ประเทศพัฒนาไปได้ขนาดนั้น (หัวเราะ) เราเลยอยากทำสิ่งที่ส่งผลต่อวงกว้างเลยเกิดเป็น 500 TukTuks ขึ้นมา

500 TukTuks คืออะไร?

แน่นอนว่าเด็กๆ ยุคนี้หลายคนมองเห็นโอกาส แต่โอกาสอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีนักลงทุน มีรัฐบาลเข้ามา Support เรื่องของกฎหมาย 500 TukTuks มันเป็นชื่อกองทุนในประเทศไทย เกิดมาจาก 500 Startups มี Headquarter อยู่ที่อเมริกา มันเป็นบริษัทที่เรียกว่า VC (venture capital) ที่ลงทุนเยอะที่สุดในโลก Concept มันคือจะมีนักลงทุนที่อยากลงทุนใน Startup แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุน Startup อะไร แล้ว 500 Startups ก็จะเป็นคนเอาเงินไปลงทุน ก่อนหน้านี้ผมเคยเอาเงินตัวเองไปลงทุนใน 500 Startups แล้วเห็นว่าเงินมันถูกกระจายไปยัง Startup ต่างๆ เลยคิดว่าโมเดลนี้มันน่าจะเวิร์คกับประเทศไทยเลยกลายเป็น 500 TukTuks

500 TukTuks สำคัญกับ Ecosystem ของ Startup บ้านเราอย่างไร?

มันช่วยกระตุ้นให้คนอยากทำ Startup ได้นะ หลังๆ คนเริ่มสนใจเรื่องนี้จริงจัง หลายคนลาออกเพื่อมาทำ Startup ก็มี ถ้าลองอ่านประวัติของ Founder แต่ละคนมันเจ๋งมาก มีเด็กๆ หลายคนอยากลอง launch ผลิตภัณฑ์อะไรบางอย่าง มันมีวิธีคิด วิธีทำที่ถูกจากคนที่เคยทำมาก่อน ไม่ต้องเสียเวลาเจ็บเอง ถ้ามีกองทุน มีคนมาแชร์ความรู้ มีคน Support มันทำให้ Startup เติบโตได้ แต่สิ่งที่ทุกคนต้องมีคือความมุ่งมั่น ต้องอยากทำจริงๆ เพราะถ้าไม่ได้รักจริงๆ แล้วมานั่งทำอะไรที่ไม่ใช่ธุรกิจทั่วไป สมมุติเปิดร้านอาหาร ลูกค้ากินเสร็จ จ่ายตัง จบ แต่นี่คือการสร้างอะไรแปลกๆ ไม่รู้คนจะใช้หรือเปล่า เป็นช่วงวัดใจ ถ้าไม่มี Commitment ก็เลิกทำ กลับไปวิธีเดิมๆ

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 4

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 14

500 TukTuks เลือก Startup ที่จะลงทุนอย่างไร?

เราจะเริ่มดูว่ามีเคสธุรกิจคล้ายๆ กันในต่างประเทศหรือเปล่า แนวโน้มตลาดดีไหม ดู Founder ทีมงานแข็งแรงไหม ในบริษัทจะต้องมีคนอยู่ 2-3 คนที่ขาดไม่ได้  การตลาด โปรแกรมเมอร์ ดีไซน์เนอร์ ต้องมีคนที่ร่วมหัวจมท้าย ถ้ามีไม่ครบเราก็ไม่ลงทุนเพราะเรารู้ว่ามันไม่พอ ต้องมีโอกาสที่เราเห็นว่าจะเป็นไปได้ ทุกๆ 10 บริษัทที่ลงทุน ขนาดเราเลือกแล้วรู้อยู่แล้วว่าครึ่งหนึ่งมันจะเจ๊ง แม้ว่าได้เงินทุนและอีกครึ่งหนึ่งไม่ใช่ว่าไม่เจ๊งนะ (หัวเราะ) อาจแค่ไม่ตายแต่เลี้ยงไม่โต อาจจะออกมาเป็นแค่ SME อันนึงเท่านั้นและเหลือแค่ 1-2 เจ้า ที่ใหญ่ขึ้นมาได้ ในแง่การลงทุนเขาก็ต้องอยากได้ผลตอบแทน ประเด็นคือมันมี Startup น้อยมากที่จะสำเร็จแต่ถ้าสำเร็จมันไม่ได้สำเร็จแค่ 10 เท่า แต่มันมากกว่า 10 เท่า เลยจะโคฟเวอร์ที่เจ๊งไปได้หมด นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเวลาลงทุนต้องลงทุนเยอะ เพราะมันมีความเสี่ยง

ในฐานะผู้ทำธุรกิจ Tech Startup และธุรกิจที่ทำก็เป็น E-book คิดว่ามาถึงยุคของ paperless แล้วหรือยัง?

ส่วนตัวผมมองว่า ในยุคนี้ Hard Copy ยังไม่ใช่สิ่งที่ต้องปฏิเสธ การได้จับต้องบางอย่างที่มองเห็นได้จริงๆ และการแก้ไขงานเพื่อให้งานออกมาดีที่สุดผ่านการเขียนหรือปริ้นต์ยังไม่ใช่การทำงานที่ล้าสมัย ถ้าต้องคิดหรือจดอะไรจริงๆ กระดาษยังเป็นสิ่งจำเป็นในการเริ่มต้นไอเดีย ผมก็ไม่ใช่องค์กรที่เป็น paperless เสียทีเดียว เพราะยังต้องพึ่งการใช้เอกสารอยู่เสมอ เช่น การตรวจงาน เรายังปริ้นต์ออกมาเพื่อดูความถูกต้องของงานก่อนจะ Final ซึ่งปกติเราพิมพ์งานมาตรวจกันเยอะมาก และ Epson L1455  มัลติฟังก์ชั่นขนาด A3 ตอบโจทย์ธุรกิจครบเลย มีทั้งพิมพ์ สแกน สำเนา และแฟกซ์  รองรับ WiFi  สามารถปริ้นต์งานได้อย่างมีคุณภาพ มีความคมชัด สีสดสมจริง  ระบบหมึก Ink  tank ยิ่งช่วยให้ประหยัดต้นทุน  ถ้าทีมงานอยากพิมพ์ 2 หน้า (Duplex) มาเข้าเล่มเป็นหนังสือเพื่อดูตัวอย่างก็ทำได้เลย  ผมมองว่า Epson L1455 เป็นเครื่องถ่ายเอกสารตัวย่อมๆ ในออฟฟิศแต่ขนาดเล็กกะทัดรัด และราคาประหยัดกว่าการลงทุนซื้อเครื่องถ่ายเอกสารตัวใหญ่ๆ สิ้นเปลืองพื้นที่  ถ้าหากเทียบกัน Epson L1455  คุ้มค่ากว่ามากครับ

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 9

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 10

เป็นองค์กรที่นำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานทุกขั้นตอน?

ผมว่าเราเป็นองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานเยอะมาก อาจจะเป็นเพราะต้องทำงานอยู่กับอุปกรณ์ไอทีตลอดเวลา เช่น สมาร์ทดีไวซ์ เราใช้กันทุกคนเพื่อสื่อสาร แอพฯ แชททำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น เช่น การประชุมผ่าน Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ดี เพราะมีคนส่ง มีคนเห็น สามารถโต้ตอบไปมาได้ และดูย้อนหลังได้ ผมเองเดินทางค่อนข้างบ่อย แต่ถ้ามีเอกสารต้องรีวิว สามารถใช้แอพ Epson iPrint  สแกนเอกสารเป็นดิจิตอลไฟล์มาเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนเพื่อเปิดดู หรือจะส่งเข้าไปเก็บไว้บนพื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ อย่างเช่น Dropbox หรือ Google Drive  ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับการแชร์ภาพหรือเอกสารให้กับทีมงาน หรือถ้าหากอยู่ต่างประเทศแล้วอยากพิมพ์งานกลับมาที่ออฟฟิศก็ทำได้เลยทันที เพราะ Epson L1455 รองรับการพิมพ์ผ่าน Cloud print  ผมสามารถสั่งพิมพ์มาจากที่ไหนก็ได้  ทำให้การทำงานของผมสะดวกสบายมาก ในช่วงที่เราต้องเดินทางบ่อยๆ

เทรนด์ Startup ในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป?

ตอนนี้บ้านเรามี Startup เกิดใหม่ขึ้นเยอะแต่ยังสเกลยังไม่ใหญ่มาก แต่ถ้าเป็น Startup ที่สเกลใหญ่คือเกินพันล้านเหรียญจะเรียกว่า Unicorn เพราะเป็นสัตว์หายาก ทั่วโลกมี Startup สเกลนี้เยอะไปหมด แต่สัก 5 ปีข้างหน้าเมืองไทยจะเริ่มมี Startup สเกลนี้และต่อไปจะมี Startup ไทยที่ทำเทคโนโลยีที่ส่งผลในชีวิตประจำวันเยอะขึ้น เพราะทุกวันนี้ชีวิตผูกติดกับแอปพลิเคชั่น เช่น นึกถึง E-book ก็ Ookbee รีวิวอาหาร นึกถึง Wongnai สิ่งที่ Startup พยายามทำคือการแก้ไขปัญหาของคนและเป็นปัญหาที่คนยอมจ่ายเงินให้ ต่อไปจะมี Startup ไทยลักษณะนี้ปรากฏเยอะมาก

ผมยอมรับเลยว่าการลงทุนกับ Startup มีความเสี่ยง แต่เขาก็ควรได้รับโอกาส คนที่ลุกขึ้นมาทำ Startup มีความเสี่ยงเยอะ เงินทุนมีไม่มาก เพราะส่วนใหญ่คนเหล่านั้นเป็นพนักงานบริษัทที่ตัดสินใจลาออกมาเริ่มต้นทำ Startup ซึ่งแน่นอนว่าต่อให้มีความมุ่งมั่นแค่ไหน ถ้าไม่มีคนคอยชี้แนะ คอยซัพพอร์ทในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเงินลงทุน พวกเขาอาจจะเดินลำบาก ผมเลือกที่จะช่วยพวกเขาด้วยใจ มอบความเชื่อมั่นให้ไป ถ้าท้ายที่สุดไปไม่ไหว ผมก็เชื่อว่าประสบการณ์ที่ได้กลับมาจะคุ้มค่าทั้งกับเราและพวกเขา

Epson L1455 visit ookbee Dooddot 13

EPSON L1455

  • มัลติฟังก์ชันอิงค์เจ็ท A3 Print / Copy / Scan / Fax (With ADF)
  • ความละเอียดในการพิมพ์สูงสุด 4,800 × 1200 dpi.
  • พิมพ์งานแบบร่างด้วยความเร็วขาวดำ 32 แผ่นต่อนาที, สี 20 แผ่นต่อนาที
  • พิมพ์งานความเร็วมาตรฐานขาวดำ 18 ipm, สี 10 ipm
  • ความละเอียดการสแกนสูงสุด 1,200 × 2400 dpi.
  • ส่งแฟกซ์ที่ความเร็ว 33.6 Kbps, ประมาณ 3 วินาทีต่อหน้า
  • รองรับการส่งแฟกซ์ทั้งแบบ Flatbed และถาด ADF
  • ถาดป้อนกระดาษรองรับสูงสุด 250×2 แผ่น (จำนวน 2 ถาด ได้ทั้ง A3 และ A4)
  • รองรับการเชื่อมต่อแบบ USB 2.0 และ เครือข่าย 100BASE-TX/10BASE-T
  • รองรับการเชื่อมต่อไร้สายในแบบ Wi-Fi และ Wi-fi Direct

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.epson.co.th/p/C11CF49501

EPSON
Website: www.epson.co.th
Facebook: www.facebook.com/EpsonThailand

RECOMMENDED CONTENT

30.พฤศจิกายน.2022

ทำเอาแฟนๆฮือฮาสุด สำหรับเพลงใหม่ของ Three Man Down ที่แอบสปอยจนแฟนเพลงลุ้นตัวโก่งว่าศิลปินที่จะมาร่วมแจมในเพลงใหม่คือใครกันแน่ แล้วก็สมการรอคอยจริงๆ เพราะงานนี้เป็นการโคจรจับคู่ฟีเจอริ่งทางดนตรีครั้งแรกกับแร็ปเปอร์มาดเท่อย่าง URBOYTJ