เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมานอกจากจะเป็นวันที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอย่างเป็นทางการแล้ว ยังเป็นวันที่ถูกจดจำจากคนทั้งโลกว่าได้เกิด The Women’s March การเดินขบวนยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมมากกว่า 3.3 ล้านคน ในพื้นที่ทั่วประเทศกว่า 500 เมืองทั่ว US
The Women’s March ไม่ใช่การเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิงเท่านั้นแต่ยังเป็นการแสดงออกของผู้คนทุกเพศ ทุกวัยถึงจุดยืนเกี่ยวกับ สิทธิเสรีภาพและการอยู่ร่วมกันของคนทั่วโลก ที่ต่อต้านแนวคิดแบบชาตินิยมของโดนัลด์ ทรัมป์ การประท้วงครั้งนี้มีผู้เข้าความเดินขบวนมากมายไม่ว่าจะเป็นหญิง ชาย LGBT เด็ก ผู้ใหญ่ และคนในหลายหลายสาขาอาชีพทำให้เราได้เห็นความหลากหลายของผู้ร่วมประท้วงที่แม้จะแตกต่างแต่ก็อยู่ร่วมกันได้เพราะสิทธิความความเท่าเทียมของมนุษย์
หนึ่งในสีสันและสิ่งที่น่าสนใจของทุกๆการเดินขบวนคือป้ายประท้วงที่ดึงดูดใจและสามารถกลายเป็นประเด็นในการพูดถึงของผู้ที่พบเห็น ซึ่งใน The Women’s March เราก็ได้เห็นการสร้างสรรค์ของป้ายประท้วงต่างๆ ผ่านข้อความและรูปภาพที่น่าสนใจ รวมถึงการนำ Pop Culture มาดัดแปลงทำให้การเดินขบวนครั้งนี้เต็มไปด้วยรอยยิ้มและภาพของผู้ร่วมประท้วงที่ดูสนุกสนาน
แม้การเมืองและวัฒนธรรม Pop จะดูเป็นเรื่องที่แตกต่างกันสุดขั้ว แต่หลายครั้งเราก็เห็นความเชื่อมโยงกันของทั้งสองสิ่งนี้ เช่นการสอดแทรกทัศนะทางการเมืองในภาพยนต์ หรือการเสียดสีนักการเมืองผ่านการ์ตูนล้อเลียนและสารพัด meme บนอินเทอร์เน็ต จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นการนำ Pop Culture มาเป็นส่วนหนึ่งของป้ายป้ายประท้วงครั้งนี้
หลายครั้งที่เราแสดงออกถึงอัตลักษณ์ผ่านเพลงที่เราฟังหรือหนังที่เราดู ทำให้ Pop culture กลายเป็นสิ่งที่สามารถแสดงออกถึงตัวตนของแต่ละคนได้ และเนื่องจาก Pop culture เป็นวัฒนธรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่เป็นวัฒนธรรมที่คนหมู่มากรับรู้ตรงกัน มันจึงไม่ได้แสงออกเพียงแค่ตัวตนของแต่ละคนแต่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนได้อีกด้วย
ด้วยอัตลักษณ์ของชุมชนนี้ทำให้ภาพของเทพีเสรีภาพที่กำลังจะไม่มีเสรีภาพ หรือภาพของเจ้าหญิงเลอาจาก Star War ที่แสดงถึงการเป็นผู้ต่อต้านไม่เพียงแค่ดึงดูดความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก แต่ยังเป็นการสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันกับผู้คนที่เข้าใจความหมายของภาพและสัญญะทางการเมืองที่สื่อออกมาได้ แม้ว่านักวิชาการหลายคนจะบอกว่า Pop Culture อาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่ดีในการแสดงออกทางการเมืองเพราะวัฒนธรรมพวกนี้ถูกสร้างขึ้นจากระบบทุนนิยมที่ไม่ได้มีอยู่อย่างอิสระ เป็นสิ่งที่ถูกสร้างให้เกิดความหมายของบางสิ่ง กำหนดคุณค่าของบางอย่างเพื่อให้ขายสิ่งเหล่านั้นได้
แต่เมื่อ Pop Culture ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง ก็สามารถเป็นเครื่องมือการเรียกร้องสิทธิของประชาชนที่มีพลังเพราะไม่เพียงแค่สามารถสร้างความรู้สึกร่วมกับคนจำนวนมากได้ แต่มันยังทำให้เราเห็นภาพของสังคมที่กำลังเป็นอยู่ในตอนนี้และจะกลายเป็นภาพที่คงอยู่ให้ผู้คนในอนาคตได้เห็นว่าวัฒนธรรมอันร่วมสมัย ณ เวลานั้นๆ หน้าตาเป็นอย่างไร
ทุกวันนี้เราไม่ได้เห็นการปฏิวัติได้เกิดขึ้นเพียงบนท้องถนน แต่มันยังถูกถ่ายทอดทางโทรทัศน์ รายงานผ่านวิทยุ เป็น viral บนอินเทอร์เน็ต ถูกถ่ายทอดผ่านทางสารพัด meme และอีกหลากหลายช่องทาง หลากหลายพื้นที่ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมร่วมสมัยที่พวกเราเป็นคนสร้างขึ้นมา
ตราบใดที่ประชาชนยังมีเสรีภาพในการแสดงออก แม้ว่าวัฒนธรรมเหล่านั้นจะเป็นการสร้างขึ้นโดยระบบทุนนิยมหรือระบบใดๆ แต่เราคิดว่าในวันหนึ่งมันจะกลายเป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกทางการเมืองได้ตามแนวทางของเรา
RECOMMENDED CONTENT
หลังจากยอดขายถล่มทลายทั่วโลก นี่คือสุดยอดเมนูนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เอ้ย ล่าสัตว์! ครั้งแรกจาก ‘ทาโก้ เบลล์’ (Taco Bell) ที่ทาโก้จะโนแป้ง!