ภาพจากเลนส์ของช่างภาพชาวฮังการีอย่าง Balint Alovits เขาได้สำรวจพื้นที่ และถ่ายภาพง่ายๆ ที่แต่ละช็อตมีรูปทรงเรขาคณิตที่เห็นได้อย่างชัดเจนเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยภาพบันไดวนที่เขาถ่ายมาจากอิทธิผลของ Bauhaus ในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ซึ่งภาพของเขาเป็นการหยิบเรื่องราวจากสิ่งง่ายๆใกล้ตัว แต่กลับช่วยเปิดสุนทรียภาพใหม่ๆ สร้างความกลมกลืนกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ‘time machine’ คือ ชื่อชุดภาพถ่ายในเชิงสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ของ Balint Alovits และนอกจากจะได้พบเห็นศิลปะแบบ Bauhaus ก็ยังมีบันไดวนแบบเกลียวศิลปะแนว art deco ด้วย ทั้งหมดนี้เผยให้เห็นรูปแบบที่ดึงดูดทุกสายตาให้จับจ้องมาที่ศูนย์กลางของบันไดนั่นเอง
ความงดงามของบันไดวนที่บอกไปในตอนต้นยังคงผสมผสานสไตล์ caracole ที่ดูสง่าและคลาสสิกร่วมด้วย ดังนั้นเวลามองก็จะดึงความรู้สึกให้สัมผัสถึงความมีมิติเหมือน perspective เกิดจากจุดกึ่งกลาง เรียกได้ว่าภาพที่เห็นเป็นผลมาจากความสำเร็จที่ผู้สร้างกำหนดธีมให้เรารู้สึกแบบนั้น แม้ไม่มีเรื่องราวแต่สามารถมองสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน้อยก็สักช่วงระยะหนึ่ง
การสร้างงานโดยแยกพื้นที่ออกมานี้ทำให้เกิดมิติใหม่ ขณะเดียวกันก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของคอนเซปต์ในโปรเจกต์ด้วย ซึ่งภาพที่ออกมาจะพูดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่มี movements โดยผ่านธีมแบบเกลียวที่ช่วยกระตุ้นไอเดียได้อย่างต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด
_
RECOMMENDED CONTENT
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น (Ars Longa Vita Brevis) คือภาษิตของฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ในยุคกรีกโบราณ คนไทยคุ้นเคยวลีนี้จากคำสอนของ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย ที่ซึ่งต่อมาลูกศิษย์ของท่านได้นำมาใช้เป็นคำขวัญของมหาวิทยาลัยศิลปากร วลีที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสัจธรรมวลีนี้ยังผุดขึ้นมาในความคิดของ เข้-จุฬญานนท์ ศิริผล หลังจากที่เขามีโอกาสพูดคุยกับผู้ใช้เวสป้า และตระหนักถึงความผูกพันของผู้คนกับความหมายของสกู๊ตเตอร์ที่เป็นมากกว่าพาหนะ เข้จึงเลือกใช้มันมาเป็นชื่อภาพยนตร์สารคดีเรื่องใหม่ของเขา - ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น