สำหรับเราแล้วภาพยนตร์ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อความบันเทิง แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างได้
ในเดือนมิถุนายนที่ได้ถูกกำหนดให้เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองสำหรับกลุ่ม LGBTQ อย่างนี้ เราจึงอยากพาทุกคนมาร่วมเฉลิมฉลองไปด้วยการพาไปดูภาพยนต์แนว LGBTQ ที่น่าสนใจทั้งในสายอินดี้สุดๆและแมสสุดๆ ถ้าดูครบหมดนี้เราคิดว่ามุมมองที่คุณมีต่อ LGBTQ เปลี่ยนไปอย่างแน่นอน
Maurice (1987)
Maurice สร้างขึ้นมาจากนิยายในชื่อเดียวกันของ E.M. Forster ที่เล่าถึงเรื่องราว coming of age ของ Maurice สุภาพบุรุษหนุ่มอังกฤษในยุคสมัยเอ็ดเวิร์ด (ค.ศ. 1901–1910) ท่ามกลางบรรยากาศอันสวยงามและความโรแมนติกที่หลงเหลือจากจากยุควิคเตอเรียน
Maurice ได้ถ่ายทอดประเด็นของเกย์ในยุคนั้น โดยไม่ได้พยายามแค้นดราม่าให้เราน้ำตาซึม แต่ทำให้เราค่อยๆ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับ Maurice ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบความหมายของความรักและการยอมรับท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วของยุคสมัยในช่วงก่อนสงครามโลก
The Wedding Banquet (1993)
หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อของ Ang Lee หนึ่งในผู้กำกับระดับตำนานจากไต้หวัน แต่อาจไม่เคยรู้ว่าก่อนเขาจะสร้าง Brokeback Mountain ที่โด่งดัง ผู้กำกับคนนี้เคยผ่านผลงานแนว Gay Theme มาแล้ว อย่าง The Wedding Banquet เป็นเรื่องราวของ Simon และ Wei-Tung คู่รักเกย์ชาวไต้หวันและอเมริกันใน Manhattan พวกเขาต้องจัดงานแต่งงานหลอกๆ เพื่อตบตาครอบครัวของ Wei-Tung ที่อาศัยไต้หวันซึ่งพยายามจะหาเจ้าสาวให้กับเขาตลอดเวลา
พล็อตเรื่องอาจฟังดูเป็นหนังรอมคอมทั่วไป แต่เรื่องราวที่ Ang Lee ถ่ายทอดออกมามีมากกว่าที่เราคิด สิ่งที่เราชอบที่สุดใน The Wedding Banquet คือการผสมผสานความทันสมัยของอเมริกาเข้ากับความเชื่อและประเพณีการแต่งงานของเอเชียรวมถึงการตั้งคำถามกับทัศนคติและค่านิยมมากมายในสังคมเอเชีย แม้ภาพยนต์เรื่องนี้จะฉายมาแล้วกว่า 20 ปีแต่ประเด็นที่เขาเล่าก็ยังคงทันสมัยเข้ากับปัจจุบัน
Happy Together (1997)
ในบรรดาผู้กับกับหนังอินดี้ฝั่งเอเชีย ชื่อของ Wong Kar Wai น่าจะเป็นที่คุ้นเคยกันมากที่สุด และหนึ่งในภาพยนต์เลี่องชื่อของเขา (จริงๆ ก็เป็นทุกเรื่อง) คงหนีไม่พ้น Happy Together ซึ่งได้ถ่ายทอดเรื่องราวคู่รักชาวฮ่องกงจากความสัมพันธ์ที่เหมือนจะฉาบฉวยของ Yiu-Fai และ Po-Wing สู่การหาจุดสมดุลที่จะทำให้พวกเขาสามารถประคับประคองความสัมพันธ์ให้จบแบบ Happy Together ได้ในต่างแดน
ภาพยนต์เรื่องนี้ยังเต็มไปด้วยเทคนิคการใช้ภาพอันเป็นเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นสีสันอันฉุดฉาด มุมกล้องแปลกๆ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ช่วยให้ Wong Kar Wai สามารถเสนอความแปลกแยกและความพยายามจะเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของตัวละครหลักทั้งภายในและนอกให้ผู้ชมรับรู้ได้อย่างชัดเจน
A Single Man (2009)
ในเวลานี้ชื่อของ Tom Ford ไม่ได้ถูกจดจำในฐานะดีไซเนอร์ชื่อดังเพียงเท่านั้น แต่เขากำลังเป็นที่พูดถึงในฐานะผู้กำกับสุดแนวคนหนึ่งอีกด้วย A Single Man คือผลงานเดบิ้วต์ในฐานะผู้กำกับภาพยนต์ที่สามารถพิสูจน์ฝีมือของ Tom Ford ว่าเขาสามารถสร้างแนวทางของตนเองในวงการภาพยนต์ได้เช่นกัน
A Single Man คือเรื่องราวในปี 1962 ของ George Falconer อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ต้องเผชิญกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่จากการเสียคนรักที่ใช้ชีวิตด้วยกันมานานกว่า 16 ปีได้อย่างกระทันหัน A Single Man เป็นหนึ่งในภาพยนต์ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวความโศกเศร้าออกมาได้อย่างสวยงาม มีสไตล์และดูเป็นศิลปะที่สุด ซึ่งมันเป็นบทพิสูจน์สำคัญว่า Tom Ford ไม่ได้เป็นแค่ดีไซเนอร์หรือผู้กำกับแต่เขาคือศิลปินที่สร้างสรรค์งานศิลปะให้เราได้ดู
Blue Is the Warmest Color (2013)
ในบทความนี้ไม่พูดถึง Blue Is the Warmest Color ที่เปลี่ยนภาพของภาพยนตร์เลสเบี้ยนไปได้อย่างไร อย่างที่เห็นว่าแม้เราจะมีภาพยนต์ที่เกี่ยวกับ LGBT มากมายขนาดไหน แต่ภาพยนต์ที่นำเสนอเรื่องราวความรักระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิงซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงกว้างนั่นมีไม่ถึงหยิบมือ
ด้วย Sex Scenes อันโด่งดังทำให้ชื่อของ Blue Is the Warmest Color ถูกกระจายไปในวงกว้าง แต่สิ่งสำคัญของภาพยนต์คือการถ่ายทอดเรื่องราวความรักที่เกิดขึ้นกับทุกความสัมพันธ์ตั้งแต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดไปถึงโมเม้นท์ที่เจ็บปวดที่สุด จึงไม่แปลกใจว่าทำไมหลายๆ คนถึงบอกว่า Blue Is the Warmest Color คือหนังรักวัยรุ่นที่ซื่อตรง กินใจและเหมือนจริงที่สุดเรื่องเรื่องหนึ่ง
The Way He Looks (2014)
ในขณะที่หนังวัยรุ่น Gay Themed ส่วนใหญ่มักพูดถึงเรื่องราวดราม่าเพราะความแปลกแยกและแตกต่างจากเพศสภาพของตัวละคร The Way He Looks กลับเล่าเรื่องราวด้วยภาษาที่แตกต่างออกไป ที่บอกว่าแตกต่างไม่ใช่เพราะเขาเป็นหนังภาษาโปรตุเกส แต่มันคือการเลือกที่จะเล่าเรื่องราวของ Leonardo ให้เขาดูไม่ต่างจากเด็กทั่วไปแม้เขาจะตาบอด แต่ภาพยนต์ก็ไม่ได้มีการขยี้ให้เรารู้สึกว่าเด็กคนนี้เป็นลูซเซอร์หรือรู้สึกว่าเขาแตกต่างจากคนอื่นๆ
ต้องบอกว่าประเด็นที่ The Way He Looks แบกไว้เป็นประเด็นที่หนักเอาการแต่หนังกลับเล่าเรื่องด้วยท่าทีที่สบายๆ แต่ก็เต็มไปด้วยบทสนทนา สถานการณ์และการกระทำของตัวละครที่เฉียบคม จึงไม่แปลกใจว่าทำไมภาพยนต์เรื่องนี้ถึงเป็นที่รักมากมายเพราะทุกคนสามารถจับต้องภาพยนต์เรื่องนี้ได้โดยไม่ต้องตีลังกาดู
The Handmaiden (2016)
สุดท้ายคือภาพยนต์เกาหลีที่มาแรงสุดๆ ในปีที่ผ่านมาอย่าง The Handmaiden ผลงานล่าสุดของผู้กำกับ Park Chanwook ผู้สร้างบทประพันธ์ Oldboy ภาพยนต์แก็งค์สเตอร์ในตำนานของเกาหลี The Handmaiden ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมสัญชาติอังกฤษเรื่อง Fingersmith ของ ซาราห์ วอเตอร์ส มาเป็นเรื่องราวเป็นยุคต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคที่เกาหลีถูกปกครองโดยญี่ปุ่น ผ่านตัวละคร Sookee ที่เข้ามาทำงานเป็นสาวใช้ให้คุณหญิง Hideko แต่จริงๆ แล้วเธอเป็นนกต่อให้ Fujiwara ชายหนุ่มผู้หวังจะแต่งงานกับ Hideko เพราะสมบัติของเธอ
ถึงแม้ The Handmaiden จะดูเป็นหนังพีเรียดกึ่งสายลับและอาจไม่ได้มีฉากต่อสู้ดุดันเท่า Oldboy แต่เรื่องนี้ก็ยังพูดถึงประเด็นการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางอำนาจ นำเสนอความรุนแรงในเชิงโครงสร้างและการต่อต้านสังคมชายเป็นใหญ่ในยุคที่ผู้หญิงเป็นได้แค่นกต่อหรือกล่องสมบัติ
_
RECOMMENDED CONTENT
กลับมาอีกครั้งสำหรับสองพี่น้องวงดูโอ้มากความสามารถระดับอินเตอร์อย่าง “Plastic Plastic” (พลาสติก พลาสติก) ประกอบด้วย “เพลง - ต้องตา จิตดี” (ร้องนำ, คีย์บอร์ด) และ “ป้อง - ปกป้อง จิตดี” สังกัดค่ายเพลง What The Duck (วอท เดอะ ดัก) หลังจากปล่อยอัลบั้ม Anything Goes ให้แฟน ๆ ได้ฟังไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา