สำหรับคนที่ติดตามมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว พย็องชัง 2018 ที่ประเทศเกาหลีใต้ น่าจะได้พบกับสุดยอดเทคโนโลยีอย่างการเอาโดรนนับพันตัวมาใช้ในการสร้างนักเล่นสกีท่ามกลางท้องฟ้ายามค่ำคืน รวมถึงโลโก้ห่วงโอลิมปิก ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมทั่วโลก
เรียกได้ว่างานมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาตินี้ นอกจากจะเป็นเวทีแสดงศักยภาพทางด้านการกีฬาและร่างกายของมนุษย์ มากกว่านั้น ที่นี่ยังเป็นเวทีที่แสดงเทคโนโลยีล้ำๆ หลากหลายรูปแบบ อาทิ เทคโนโลยีเครื่องแต่งกายของเหล่านักกีฬา หรือเทคโนโลยีของอุปกรณ์การแข่งขัน เป็นต้น
อีกหนึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พูดถึงในมหกรรมโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ ก็คือสิ่งที่ทุกคนเรียกกันว่า ‘อาคารที่มืดที่สุดในโลก‘ ซึ่งตั้งตระหง่านอย่างดำทะมึน อยู่ท่ามกลางอาคารอื่นๆ ภายในโอลิมปิกพาร์ค
อาคาร ‘Hyundai Pavilion‘ นี้ ออกแบบโดยสตูดิโอ Asif Khan สถาปนิกชาวอังกฤษ ผู้มีผลงานออกแบบพาวิเลี่ยนมาแล้วมากมาย เขาเคยได้รับรางวัล Innovation Grand Prix จากเวที Cannes Lion 2014 มาแล้ว จากผลงาน MegaFaces กับหน้าจอบิลบอร์ดแบบอินเตอร์แอ็คทีฟที่สามารถสร้างใบหน้าคนออกมาเป็นรูปแบบสามมิติได้
กำแพงหนาสีทะมึนสูง 10 เมตรของพาวิเลี่ยนนี้ถูกทาด้วยสีดำที่มีชื่อว่า Vantablack VBx2 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่กว่า Vantablack เดิม ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Anish Kapoor (สถาปนิกและศิลปินชาวอินเดีย) เท่านั้น โดยคุณสมบัติของสี Vantablack VBx2 นี้ คือการสามารถดูดซับแสงได้มากถึง 99% ทำให้อาคารหลังนี้ดูดเราให้เข้าไปอยู่ในห้วงอวกาศอันเวิ้งว้าง ที่เต็มไปด้วยดวงดาวระยิบระยับนับพันดวง
คอนเซ็ปต์หลักของอาคารหลังนี้นั่นสุดแสนนามธรรม เพราะแบรนด์ฮุนไดต้องการจะพูดถึงความคิดริเริ่มที่ต่างเคลื่อนไหวมารวมกันจากทั่วทุกที่ (Global Mobility Initiative) ซึ่งก็พ้องกันกับแนวคิดหลักของโอลิมปิกด้วย
เมื่อหลุดจากหลุมดำเข้าไปด้านใน เราจะได้พบกับความเวิ้งว้างภายในห้องสีขาวโพลน ที่ตั้งของชิ้นงาน Droplet Installation ที่นำเอาคอนเซ็ปต์ง่ายๆ ของหยดน้ำที่จะถูกปลดออกมา 25,000 หยดต่อวินาที แล้วไหลผ่านเส้นทางและทิศทางต่างๆ มารวมกันที่จุดศูนย์กลาง
“เส้นทางที่มืดดำ จะนำพาคุณไปสู่ช่องหน้าต่างที่ปลายทาง นำพาคุณดำดิ่งลึกลงไปยิ่งกว่าเดิม มันจะทำให้คุณรู้สึกเหมือนถูกดูดกลืนเข้าไปอยู่ภายในก้อนเมฆแห่งความมืดดำ”
“คุณจะพบว่าหยดน้ำนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากดวงดาวนับร้อยนับพัน ผมอยากลองย่อสเกลจากจักรวาลที่กว้างใหญ่ไพศาล สู่พื้นที่ขนาดเล็กๆ เพียงแค่หยดน้ำ หยดน้ำก็มีส่วนประกอบของไฮโดรเจ้น ซึ่งก็เป็นส่วนประกอบหลักของการก่อเกิดเอกภพเหมือนกัน”
RECOMMENDED CONTENT
หลังจากห่างหายไปร่วม 2 ปี สำหรับสองคู่หูพี่น้อง Plastic Plastic ประกอบด้วย “เพลง ต้องตา-จิตดี (ร้องนำ,คีย์บอร์ด)” และ “ป้อง ปกป้อง-จิตดี(กีต้าร์)” วงดนตรีอินดี้ป็อปดูโอ้ จากสังกัด What the duck (วอท เดอะ ดัก) ที่สร้างสรรค์ผลงานด้านดนตรีมานานกว่า 12 ปี เจ้าของเพลงดังอย่าง “วันศุกร์” , “อยากรู้” , “Summer Hibernation” และ “ฮัม” พวกเขาได้หวนสู่วงการดนตรีอีกครั้ง พร้อมส่งเพลงฟีลกู๊ด ทำนองน่ารัก ที่ชวนทุกคนมาคลายความเหนื่อยล้าไปกับการล้มตัวลงบนหมอนสุดสบาย ในซิงเกิลใหม่ล่าสุดอย่าง “Pillow Pillow”