วันนี้ดู๊ดดอทได้มีโอกาสพูดคุยกับ Philippe Delhotal จาก Hermès ตำแหน่ง Creation and Style director, La Montre Hermès ไลน์นาฬิกาข้อมือของแบรนด์สุดหรู คุณ Philippe เคยทำงานกับแบรนด์นาฬิกาสุดคลาสสิกขวัญใจชาวไทยอย่าง Patek Philippe หลังจากปี 2009 ที่ได้มาอยู่กับบ้านใหม่ เขาได้พัฒนาและขยายตลาดของ La Montre Hermès ไปทั่วโลก และนี่คือเรื่องราวของผู้ชายที่คุณควรทำความรู้จักคนนี้…
ทราบว่าก่อนหน้านี้คุณเคยมาประเทศไทยก่อนแล้ว คราวนี้เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
ถ้ามองในเชิงของตลาดแล้ว ปีนี้ถือว่าตลาดขึ้น เพราะในช่วงไตรมาสแรกมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ถ้าพูดถึงตลาดโดยรวม โดยเฉพาะเอเชีย ต้องบอกว่าตลาดจีนถือว่าดีมาก ยิ่งเป็นไลน์นาฬิกาถือว่าเป็นที่น่าพอใจ หากพูดถึงในไทย ถ้าวัดจากเมื่อวานที่เราทำอีเว้นต์ แล้วมีแขกที่ตอบรับการเข้าร่วมงานตอนเย็น ที่ชื่อว่า ‘La Montre Hermès To Time’ จะสังเกตได้เลยว่า ผู้เข้าร่วมงานทำให้เรารู้สึกเลยว่าตลาดขยายออก แล้วแต่ละปีก็เพิ่มมากขึ้น
วิธีที่ตลาดในเอเชียโดยเฉพาะเมืองไทยทำ เค้ามีวิธีการรับรู้แบรนด์ที่ต่างจากยุโรปหรือว่าต่างจากตะวันออกกลางยังไง
ถ้าพูดตะวันออกกลาง วิธีการมองรสนิยมจะต่างกัน แต่จะขอพูดในส่วนของคนเอเชียแล้วกัน ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในแค็ตตาล็อกทั่วไปเนี่ย ต้องบอกว่ารสนิยมทั่วโลกจะคล้ายกัน แต่ว่าถ้าอะไรที่เกี่ยวกับงานหัตถกรรมศิลป์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ Hermes ที่เราทำ เราเน้นเรื่องนี้เป็นพิเศษ คนเอเชียจะให้ความสำคัญมากในเรื่องนี้ และลูกค้าคนเอเชียจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนาฬิกาชั้นสูง อย่างดีมาก
จากเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วที่มา แล้วก็ตอนนี้ด้วย เราก็จะเห็นว่าลักษณะของพฤติกรรมผู้บริโภคหรือลูกค้าที่เกี่ยวกับนาฬิกาของ Hermes ที่เป็นระดับที่เป็นเรื่องงานหัตถกรรมศิลป์เนี่ย เขาต้องการที่จะรู้ว่าของแท้คืออะไร แล้วก็ที่มาเป็นยังไง แกละกระบวนการในการผลิตเป็นยังไง เขาสนใจในเรื่องนี้มาก แล้วเราจะรู้ว่าผู้ที่สะสมนาฬิกาเหล่านี้ เป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องนี้มากยิ่งๆ ขึ้น
โดยเฉพาะถ้าเราเห็นกลไกนาฬิกา เปรียบเทียบทั้งสองทวีป คือ ในเอเชียกับในอเมริกา ผู้หญิงที่จะซื้อนาฬิกาข้อมือ ของอเมริกาเอาแค่ swatch ก็ได้แล้ว ในขณะที่เอเชียต้องการและอยากได้นาฬิกาที่เป็นกลไก รู้การสร้างสรรค์ การประดิษฐ์ การดีไซน์ มันซับซ้อนและเขามีประวัติของเขามายาวนาน
Q : วิธีคิดต่างกันไหม ในการทำงานกับบริษัทนาฬิกา เช่น บริษัทเก่าที่เคยทำ ( Patek Philippe ) กับการทำงานกับ Hermès มี approach ที่ต่างกันไหม
A : คือต่างกัน วิธีการ คอนเซปต์เชิงเกี่ยวกับเรื่อง ถ้าเราเคยทำงานกับบริษัทที่ผลิตนาฬิกาอย่างเดียว เขาจะชำนาญมาก แต่การที่ได้มาทำงานกับ Hermès ต้องอย่าลืมว่าเป็นแบรนด์ที่มีความชำนาญถึง 14 อย่างอยู่ในตัว เป็นงานด้านหัตถศิลป์ถึง 14 แขนงเลย รู้วิธีการในการประยุกต์ แล้วก็พอมาทำนาฬิกาก็จะเอาของบางอย่างจากใน 14 แขนงนี้มาใช้ เช่น ผ้าพันคอ ก็เอามาเป็นดีไซน์ เป็น inspiration ที่จะมาทำหน้าปัดนาฬิกา
และถ้าถามว่า มีปัจจัยอะไรที่ต้องทำร่วมกันกับ Hermès แล้วก็รู้สึกว่าดีใจ ที่ได้ทำงานทั้งสองแห่ง คือ คุณภาพ ทั้งสองแห่งนี้เน้นคุณภาพและก็ชำนาญในเรื่องที่ตัวเองทำ แต่หากถามว่ากับ Hermès เป็นอย่างไร Hermès มี แรงบันดาลใจเยอะกว่า เพราะว่ามันมีหลากหลายวิชาชีพหัตถศิลป์ ที่ดูแล้วเอามาใช้งานต่อได้ ตอนที่ทำงานที่ Patek ก็มีความสุข แล้วพอมาทำงานที่นี่ก็มีความสุขเช่นเดียวกัน แต่ว่าเป็นจังหวะชีวิตที่ต่างๆกันออกไป
Q : ตอนนี้สนุกกับอะไรมากที่สุดในการทำงานกับ Hermès ?
A : ถ้าพูดถึงเรื่องกลไกแล้ว นาฬิกากลไกเป็นนาฬิกาที่พิเศษ แต่ว่าถ้าถามว่า เรื่องงานหัตถศิลป์นี่มีหลากหลายที่เข้ามา แต่ก็ไม่ใช่เป็นช่างฝีมือเฉพาะของ Hermès แต่เป็นช่างฝีมือที่เราเห็นระดับโลก ว่าคนไหนที่จะมาทำงานร่วมกับเรา แล้วก็ช่วยกันคิดประเด็นออกมา สร้างสรรค์
ที่จริงแล้ว ช่างฝีมือของ Hermès เขาก็มีความชำนาญและมีความเก่งมากนะ แต่มีวิชาชีพหนึ่ง เรื่องหัตถศิลป์ของ Hermès เรื่องหนึ่งที่รู้สึกว่าผมชอบมาก คือเรื่องการทำหน้าปัดคริสตัล คริสตัลต้องบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของ Hermès และขณะเดียวกันคนไม่ได้คิดว่าจะเอาคริสตัลมาใช้กับนาฬิกาเท่าไรนัก แต่คิดเอามาใช้ทำของในบ้าน ทำแชงเดอเรีย ทำอะไรเยอะแยะ แต่ว่าพอเราเอามาประยุกต์ใช้กับนาฬิกาแล้ว ก็รู้สึกว่าเราได้สร้างสรรค์
แต่ว่าถ้าพูดแล้ว ช่างฝีมือทั้งหลาย เขาเป็นศิลปิน เรารู้ว่าเขามีความชำนาญมาก และเราก็มีความสุขที่ได้ทำงานกับเขา เพราะว่าเขาเป็นคนสร้างชื่อเสียงให้กับนาฬิกาเหล่านั้น
ศิลปิน ช่างหัตถศิลป์เหล่านี้ต้องบอกเลยว่า เราต้องมีความเคารพเขามากนะ เพราะว่ามันมีบางจังหวะของชีวิตเขา เขาเจอความยากลำบากในการดำรงชีวิต เช่น ช่างฝีมือที่เกี่ยวกับเรื่องการทำลงยา พวกนี้ตอนปี 197 กว่านี่เจอวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ ต้องตกงาน แล้วเขาทำงานคนเดียว ไม่มีใครเข้าไป ยกเว้นพวกแบรนด์ใหญ่ๆ ที่เลือกแล้ว และไป support เขา และเขาก็อยู่ได้ แล้วเขาก็ทำงานด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนมาก เราก็เลยรู้สึกว่า เนี่ย! เขาช่วยเรา เขามีฝีมือจริงๆ
Q : ตอนนี้อะไรคือ most challenge ของนาฬิกา Hermès โดยเฉพาะกับประเทศที่หนึ่งในยอดขาย Patek Philippe เยอะที่สุดในโลก อย่างเช่น ประเทศไทย
A : เมื่อวานแขกที่มาในงานเราก็สวมนาฬิกา Patek Philippe มาเกือบทั้งงาน (หัวเราะ) เราหวังว่าวันหนึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องใช้เวลานะ แต่ก็แน่นอนอยู่แล้วที่ของดีคนก็ชอบ เพราะฉะนั้นของ Patek เขาก็มีคุณค่าแบบนั้น
แต่ว่าสิ่งที่ท้าทายของ Hermès เรารู้เลยว่า เราต้องฉีกออกไป ฉีกออกไปก็คืองานสร้างสรรค์ เราจะต้องทำแปลกออกไปจากคนอื่นแน่นอน และแปลกในเรื่องรูปทรงและอื่นๆอีกหลากหลาย แล้วก็นี่นับเป็นเอกลักษณ์ของ Hermès
เหมือนรุ่นนี้ อันนี้เป็นนาฬิกาที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งปกติแล้วในวงการนาฬิกาเนี่ย เขาไม่ทำกัน เพราะว่าทำยาก มีบางแบรนด์ทำ แล้ว Hermès คิดว่าเราจะลองทำอันนี้ เพราะว่าส่วนหนึ่ง ผ้าพันคอของเราทุกอย่าง ที่เรียกว่า สี่เหลี่ยมจตุรัส อันนี้เป็นแบรนด์ เป็นเอกลักษณ์ของเรา แล้วก็รุ่นนี้เรียกว่า Carré (การ์เคร่) แปลว่า square ‘Carré H Hermes’ (การ์เคร่ อัช Hermes) เราก็คิดว่ามันทำยาก แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ท้าทาย และมันมีความเสี่ยงนะ เพราะคนชอบหรือไม่ชอบก็ได้ แต่เรายอมรับที่ว่า เสี่ยงก็เอา เพื่อเราอยากทดลองทำสิ่งที่ยาก
Q : Essential ของนาฬิกา Hermès คืออะไร
A : ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่จะบอกว่าคำจำกัดความว่า “เอกลักษณ์” ของนาฬิกา Hermès เป็นอย่างไร ต้องบอกว่า คือความแตกต่างจากอย่างอื่น ถามว่าแตกต่างอย่างไร แม้แต่รูปทรง ฟอร์ม ฟอร์มนี่แตกต่าง แล้วขณะเดียวกัน ลองดูว่าตัวเลข คือเราพยายามคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับพื้นที่ตรงหน้าปัดออกมาให้มันมีเอกลักษณ์ คือตัวเลขบ้าง หรือว่ารูปทรงต้องมีอะไรเป็นพิเศษจริงๆ ถ้าสังเกตดูของ Hermès
“ขอบคุณที่ให้โอกาสได้คุยด้วย เพราะลูกค้าก็เป็นส่วนที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกันพันธมิตรต่างๆ ก็เป็นส่วนที่จะนำเสนอว่า เรามีความรักในวิชาชีพของเราอย่างไร เรามีความตั้งอกตั้งใจในการทำงานอย่างไร”
Philippe Delhotal
.
RECOMMENDED CONTENT
ซีรีส์ The Last of Us เล่าเรื่องราว 20 ปีหลังจากอารยธรรมสมัยใหม่ถูกทำลาย โจเอล ผู้รอดชีวิตได้รับการว่าจ้างให้พาตัวเอลลี เด็กหญิงอายุ 14 ปี ออกจากเขตกักกัน ภารกิจเล็กๆกลับกลายเป็นการเดินทางที่โหดร้ายและน่าสลดในไม่ช้า เมื่อทั้งคู่ต้องเดินทางข้ามสหรัฐอเมริกาและช่วยเหลือกันเพื่อความอยู่รอด