“I wore white today in honour of the women who came before me, and the women yet to come,”
หญิงสาวจากครอบครัวชนชั้นแรงงานในย่านบรองซ์ เชื้อสายเปอร์โตริโก อดีตบาร์เทนเดอร์ อเล็กซานเดรีย โอคาซิโอ-คอร์เทซ (Alexandria Ocasio-Cortez) ผู้หญิงที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาผู้ก้าวสู่สภาคองเกรสด้วยวัย 29 ปี เขียนแคปชั่นอินสตาแกรมในวันที่เธอเลือกหยิบชุดสูทกางเกงสีขาวมาใส่เข้าร่วมประชุมเขตสภานิติบัญญัตินิวยอร์ก (New York’s 14th Congressional District)
ไม่รู้ว่ามีมที่เธอเต้นเก๋ๆ ในสภา หรือความสดใสแซ่บเฟว่อร์และมีสไตล์แบบเป็นธรรมชาติของโอคาซิโอ-คอร์เทซ กันแน่ที่เราชอบ รู้แต่ว่าแต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สีของเสื้อผ้าถูกใช้เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองและสังคม ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปีที่แล้ว เหล่าดารา เซเลบฯ นักแสดงต่างพร้อมใจกันใส่ชุดดำไว้ทุกข์ให้กับกรณีล่วงละเมิดทางเพศและความไม่เท่าเทียมในฮอลลีวูดมาแล้ว
จากชุดดำปี๋ของ Time’s Up movement ถึงคราวนี้กับชุดขาวล้วนของโอคาซิโอ-คอร์เทซ ผู้หญิงและชุดสีขาวของพวกเธอกำลังบอกอะไรกับเรา
ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 21 ปี ค.ศ. 1908, Hyde Park กรุงลอนดอน ผู้ร่วมเดินขบวนเรียกร้องให้ผู้หญิงมีสิทธิ์เลือกตั้งในอังกฤษ (Votes for Women) กว่า 300,000 คน สวมใส่เดรสโค้ด 3 สี คือ สีขาว สีเขียว และสีม่วง ซึ่งทั้ง 3 สีนี้กำหนดขึ้นโดยนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี เอมเมอไลน์ เพธิค-ลอว์เรนซ์ (Emmeline Pethick-Lawrence) ด้วยเหตุผลว่าคือมันเป็นสีพื้นฐานที่ผู้หญิงอังกฤษยุคโน้นต้องมีในตู้แทบจะทุกคนอยู่แล้ว อีกทั้งสีแต่ละสีก็สื่อความหมายในตัวเอง สีม่วงเป็นสีที่แสดงความสัตย์ซื่อและความเป็นธรรม สีเขียวแทนความหวัง และสีขาวสื่อถึงความบริสุทธิ์
การที่ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งในศตวรรษที่ 19 จะออกมารวมตัวกันแสดงออกทางการเมืองแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูน่าเชื่อถือ จริงจัง เพื่อให้คนโฟกัสไปที่ประเด็น เสื้อผ้าของพวกเธอจึงไม่ควรมาแย่งซีน สีขาวเลยถูกเลือกให้เป็นสีเดรสโค้ดหลัก เพราะทั้งมีนัยยะแสดงถึงสันติภาพ และเป็นสีเรียบๆ ไม่หวือหวาฉูดฉาด ไม่โดดเด่นเกินไป เพื่อไม่ให้นำไปสู่ความคิดคร่ำครึที่มีต่อผู้หญิงนักเคลื่อนไหวเหล่านี้ว่าพวกเธอแต่งตัวมาเพื่อเรียกความเห็นใจหรือเรียกคะเเนน แต่เป็นการเรียกร้องเพื่อรับฟัง เคารพกันที่สมอง สติปัญญา ที่ความสามารถของพวกเธอ
เชอร์ลีย์ คริสฮอล์ม
เสื้อทักซิโด้เอย ชุดสูทเอย ต่างก็เคยเป็นเสื้อผ้ามัสคิวลีน (Masculine) สำหรับผู้ชายที่ผู้หญิงในยุคหนึ่งเคยหยิบมาใส่เพื่อทำลายความคิดที่ว่าเสื้อผ้าคือสัญลักษณ์ของเพศใดเพศหนึ่ง (เช่นชุดสูททักซิโด้ Le Smoking ของ YSL ที่เปิดตัวในปี 1966 ) เมื่อบวกกับสีขาวจึงมีพลังงานยิ่งนัก! มันถูกส่งต่อมายังผู้หญิงคนดังของโลกทั้งสายการเมืองและสายป๊อปคัลเจอร์ เมื่อต้องปรากฏตัวในวาระสำคัญเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของการ Empowerment
เจอรัลดีน เฟอร์ราโร
ครั้งหนึ่ง เชอร์ลีย์ คริสฮอล์ม (Shirley Chisholm) ผู้หญิงผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ ที่ได้รับเลือกเข้าสู่สภาคองเกรสเมื่อปี 1969 ก็เคยสวมชุดสูทกระโปรงสีขาวแบบ All-white Look ต่อมาในปี 1984 เจอรัลดีน เฟอร์ราโร (Geraldine Ferraro) เลือกใส่สูทสีขาวและสร้อยไข่มุกเรียบโก้ ในวันที่เธอได้เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ส่วนฮิลลารี คลินตัน หยิบชุดสูทสีขาวของ Ralph Lauren ทั้ง 2 ครั้ง ในการดีเบตกับโดนัล ทรัมป์ (Donald Thrump) และอีกครั้งในวันที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เข้ารับตำแหน่ง เพื่อประกาศจุดยืนของเธอที่มีต่อทรัมป์อย่างชัดเจนผ่านเสื้อผ้าขาวล้วนของเธอ จนแพนต์สูท (Pantsuits) หรือสูทกางเกงเหมือนว่าจะกลายเป็นไอเท็มหลักเวลานึกถึงนางคลินตันไปแล้ว
ชุดสีขาวของโอคาซิโอ-คอร์เทซอาจไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นหรือทริบิวต์ต่อสตรีคนสำคัญในอดีตเท่านั้น แต่ยังเป็นการส่งพลังงานบวกครั้งสำคัญต่อให้คนรุ่นใหม่อย่างเราๆ กล้าแสดงจุดยืนของตัวเองด้วย
– WHITE IS THE NEW LIGHT-
RECOMMENDED CONTENT
หลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการกับบ้านหลังใหม่กับค่ายเพลง “High Cloud Entertainment” ไปเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาไปไม่ทันไร งานนี้จึงได้ฤกษ์ปล่อยผลงานเพลงในฐานะศิลปินเดี่ยวเต็มตัวในชื่อ “PEARWAH” หรือ “แพรวา - ณิชาภัทร ฉัตรชัยพลรัตน์” กับเพลงที่มีชื่อว่า “จีบป่ะ”