ชีวิตคนเมืองทุกวันนี้ยิ่งแข่งขัน ยิ่งเร่งรีบ ยิ่งห่างไกลจากธรรมชาติ อะไรก็ตามที่เป็นเหมือน Resolution ของคนเมืองให้ใช้ชีวิตช้าลงและมีเวลาเสพสุนทรียะรอบตัวได้มากขึ้นนั้นถึงจะถือว่าตอบโจทย์
เทรนด์ของการออกแบบเป็นหนึ่งในสิ่งที่จับต้องได้มากที่สุดเวลานี้โดยเฉพาะงานออกแบบในยุคดิจิทัลที่ต้องอิงกับธรรมชาติและมนุษย์ให้ใกล้กันมากขึ้น
Breaking the Boundary Between Human and Nature
หนึ่งในคนทำงานออกแบบที่สื่อสารกับมนุษย์ได้ดีที่สุดอีกคนหนึ่ง คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก เท็ตสึโอะ คนโดะ (Tetsuo Kondo) สถาปนิกชาวญี่ปุ่นผู้คร่ำหวอดในแวดวงสถาปัตย์มาอย่างยาวนาน เขาทำงานภายใต้แนวคิดไร้กรอบระหว่าง ‘คน’ กับ ‘ธรรมชาติ’ โดยนำองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดูเหมือนจะเข้ากันไม่ได้ นำมาสร้างสรรค์ให้เข้ากันได้อย่างน่าทึ่ง เช่น สภาพอากาศ ความแห้ง ความชื้น พลังงาน ภูมิทัศน์ รวมถึงผู้คน ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพื้นที่นั้นๆ
Cloudscapes ผลงานของ Tetsuo Kondo Architects และ Transsolar ณ The Museum of Contemporary Art Tokyo (MOT) เมื่อปี 2013
งานโด่งดังของเขาชิ้นหนึ่งชื่อว่า Cloudscapes สร้างขึ้นสำหรับงาน Venice Architecture Biennale เมื่อปี 2010 แล้วจากนั้นก็ต่อยอดมาเป็นงานอินสตอลเลชั่นชื่อเดียวกันในปี 2013 ซึ่งตั้งอยู่ที่ Sunken Garden ในบริเวณ The Museum of Contemporary Art Tokyo (MOT) ประเทศญี่ปุ่น เขาและ Transsolar นักวิศวกรรมภูมิอากาศระดับโลก ร่วมกันออกแบบอาคารคอนเทนเนอร์ทรงลูกบาศก์โปร่งแสงขนาด 2 ชั้น ดูไร้ขอบเขตไร้กำแพงเมื่อมองจากภายนอก ส่วนด้านใน เมื่อปีนบันไดขึ้นสู่ชั้น 2 ความโปร่งแสงของอาคารสะท้อนรับกับวิวตึกสูงภายนอก แต่ที่ว้าวสุดๆ คือเขายก ‘เมฆ’ มาใส่ไว้ข้างในอาคารจริงๆ ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสปุยเมฆกันอย่างใกล้ชิด
Cloudscapes ผลงานสำหรับ Venice Architecture Biennale ครั้งที่ 12 เมื่อปี 2010 ผลงานของ Tetsuo Kondo Architects และ Transsolar ที่จำลองเมฆมาไว้ภายในอาคาร
ความล้ำคือก้อนเมฆของคนโดะจะเปลี่ยนรูปร่างไปตามอุณหภูมิในแต่ละวัน โดยการควบคุมความชื้นด้วยเครื่องเป่าลมร้อนและเครื่องเป่าลมเย็นภายในอาคาร ให้อากาศสมดุลกันทั้งภายในและภายนอกเพื่อที่ก้อนเมฆก่อตัวลอยอยู่ได้ เหมือนเรากำลังอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง ใกล้จนสัมผัสเมฆได้และไม่ไกลจากท้องฟ้า นี่คืองานออกแบบที่ผสมผสานระหว่างภูมิทัศน์แวดล้อมกับสถาปัตย์ได้อย่างลงตัว
House with Gardens ผลงานของ Tetsuo Kondo Architects
Mixing Exterior into the Interior
ความกล้าบ้าบิ่นที่จะหยิบธรรมชาติมาใส่ไว้ในทุกๆ ที่ของคนโดะไม่เพียงถูกใช้ในงานออกแบบพื้นที่เชิงศิลปะเท่านั้น ในการออกแบบที่อยู่อาศัย เขาคนนี้ก็บ้าพลังไม่น้อยไปกว่ากัน บ้านหลังหนึ่งในเมืองโยโกฮาม่าที่ออกแบบโดยคนโดะมีชื่อว่า House with Gardens ซึ่งชื่ออย่างนั้นเพราะเขานำสวนมาใส่ไว้ในทุกส่วนของบ้านจริงๆ
บ้านไม้สีขาวขนาด 2 ชั้นถูกทำให้ด้านในกับด้านนอกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยผนังเปิดโล่งรับเเสงธรรมชาติส่องผ่าน เปิดช่องลมเข้าได้เต็มที่ ติดกระจกใสทั่วผนัง แล้วเติมต้นไม้เข้าไปแทรกอยู่ในทุกส่วนของบ้านเหมือนกับเดินไปห้องไหนก็มีสวนขนาดย่อมอยู่ทุกที่
เหตุผลที่งานออกแบบของเท็ตสึโอะ คนโดะมักอิงกับธรรมชาติ เพราะเขาสนใจในตัวมนุษย์ (Human Being) เป็นอย่างมาก เขาเชื่อว่ามนุษย์เองก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเช่นกัน แนวคิดหลักอีกอย่างคือการตอบโจทย์ความยั่งยืน (Sustainability) กลับสู่ความเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ซ่อนอยู่ภายใน โดยเฉพาะการอยู่อาศัยของคนเมือง (Urban Living) ที่นับวันยิ่งเร่งรีบและห่างไกลจากธรรมชาติมากขึ้นทุกที ความฝันของเท็ตสึโอะ คนโดะจึงเป็นความพยายามที่จะทำให้มนุษย์กับธรรมชาติกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันผ่านงานออกแบบสถาปัตยกรรมของเขาเอง
A Path in the Forest (2011) ผลงานอันมีชื่อเสียงขั้นมาสเตอร์พีซอีกชิ้นหนึ่งของ Tetsuo Kondo Architects ที่สร้างบันไดทางเดินเหล็กในป่าที่มีต้นไม้เก่าแก่อายุกว่า 300 ปีในประเทศเอสโตเนีย โดยไม่มีการตัดต้นไม้หรือกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในป่าเลยแม้แต่น้อย
Find Your Living DNA
เช่นเดียวกับ AP ซึ่งเชื่อว่าคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถออกแบบได้จากที่อยู่อาศัย เร็วๆ นี้ผลงานการออกแบบของเท็ตสึโอะ คนโดะก็กำลังจะมาร่อนลงจอดให้เราได้ไปชมกันแบบใกล้ชิดที่กรุงเทพฯ เมื่อเขาจับมือร่วมกับ AP และ Transsolar นักวิศวกรรมภูมิอากาศระดับโลกที่เคยมีผลงานกับคนโดะมาแล้วเมื่อครั้งโปรเจ็กต์ Cloudscapes และร่วมกับ Supermachine ดีไซน์สตูดิโอชั้นแนวหน้าของไทย
คราวนี้พวกเขาจะมารวมตัวกันในการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้คุณ ได้สัมผัส AP WORLD อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ผ่านแกน 3 ส่วน หลักๆ คือ ความยั่งยืน (Sustainability) การแชร์พื้นที่อย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างคอมมิวนิตี้ (Sharing community) และส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้นั่นก็คือ ความสุขและความอุ่นใจ (Happiness)
โดยการออกแบบพาวิลเลียนครั้งนี้จะรังสรรค์ให้เป็นพื้นที่นิทรรศการแบบ Interactive ซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เริ่มจากการออกแบบพาวิลเลียนแบบเต็นท์โปร่งแสงขนาดใหญ่ มีกิมมิคเก๋ๆ ตรงบอลลูนอะลูมิเนียมที่ลอยอยู่เหนือเพดาน เหมือนร่มเงาของต้นไม้ในป่า ตัวอะลูมิเนียมเองจะทำหน้าที่ช่วยลดความร้อนจากแสงแดดของกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี ตามแนวคิดของสถาปนิกอย่างเท็ตสึโอะ คนโดะที่อยากเห็นคนเมืองอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
เพราะนิทรรศการในโลกยุคดิจิทัลจะต้องไม่ใช่การแสดงงานแบบ 2 มิติอีกต่อไปแล้ว แค่มาเดินดูแล้วจบ แต่ต้องเกิดจากการผสมผสานของสื่อที่หลากหลาย ที่สำคัญคือให้ผู้ชมตอบสนอง เปิดประสบการณ์การรับรู้ในมิติใหม่ๆ
ภายในงาน APWORLD ครั้งนี้มีกิจกรรมแบบอินเตอร์แอ็กทีฟ สเปช ซึ่งนอกจากจะได้ค้นพบ Living DNA ของตัวคุณเองแล้ว เท่านั้นยังไม่พอ ทุกคนยังจะได้ชมภาพจำลองของนวัตกรรมการออกแบบการอยู่อาศัยแบบใหม่ผ่าน 6 โครงการไฮไลท์ซึ่งยกมาไว้ที่นี่เป็นที่แรกอีกด้วย!
The Picnic With HAY & AP
ยังไม่หมดนะ นี่จะเป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่คุณจะได้ใช้พื้นที่ Social Community เมื่อ HAY และ AP แบรนด์เฟอร์นิเจอร์จากเดนมาร์กจัดคาเฟ่สุดเก๋ให้คุณได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศ อาหารและเครื่องดื่มภายใต้ธีมปิคนิก
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Live Talk ร่วมกับเว็บไซต์ The Standard ชวนคุณมาฟังเรื่องราวดีๆ จาก Speaker ชั้นนำจากหลากหลายแวดวงรวมถึงตัวสถาปนิกเท็ตสึโอะ คนโดะเองก็จะมาแชร์ไอเดียงานออกแบบสุดไอคอนิกของเขาครั้งนี้ด้วย
แล้วพบกันที่ AP WORLD ในวันที่ 1-7 สิงหาคม 2562 ณ ลานพาร์คพารากอน สยามพารากอน
RECOMMENDED CONTENT
ผลงานของ อาจารย์ Osamu Tezuka 'Astro Boy'