เจแปนฟาวน์เดชั่นกรุงเทพ และช่างชุ่ย ครีเอทีฟพาร์ค ภูมิใจนำเสนอนิทรรศการศิลปะ “Jurassic Plastic” โดย ฮิโรชิ ฟูจิ ศิลปินระดับโลกชาวญี่ปุ่น
เนื่องจากคุณฟูจิตระหนักถึงปัญหาการผลิตสินค้าด้วยพลาสติกจำนวนมากที่เติบโตขึ้นในชีวิตประจำวันของเราเหมือนดอกเห็ดตั้งแต่ยุค 70 ในปีค.ศ. 1997 เขาจึงได้เริ่มเก็บสะสมของเล่นพลาสติกที่ไม่เล่นแล้วตามบ้านเรือน จนเกิดเป็นโครงการระยะยาวที่มีชื่อว่า “เก๊กโกะ บาซาร์” หรือตลาดแลกเปลี่ยนของเล่นที่เด็กๆ สามารถนำเอาของเล่นเก่ามาแลกเป็นของเล่นมือสองชิ้นใหม่ได้
จากโครงการนี้ คุณฟูจิได้พบว่ามีของเล่นที่น่าสนใจหลายชนิดถูกแลกเปลี่ยนออกไปตลอดเวลา มีเพียงของเล่นที่แตกหักแล้วและของเล่นที่ได้จากร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ถูกผลิตจำนวนมากเท่านั้นที่ไม่มีใครมาแลกเอาไป ปัจจุบันปริมาณของเล่นที่ไม่เล่นแล้ว โดยเฉพาะของเล่นพลาสติกนั้นมีจำนวนสูงกว่า 50,000 ชิ้นซึ่งยังถือเป็นเพียงจำนวนน้อยนิดหากเทียบกับของเล่นทั้งหมดที่มีจริงๆในสังคมปัจจุบัน คุณฟูจิกล่าวว่าในโลกของเรามีการผลิตสินค้าพลาสติกมากเกินความจำเป็นและสินค้าเหล่านั้นก็ถูกทิ้งขว้างเป็นขยะจำนวนมหาศาล ซึ่งขยะเหล่านั้นก็จะถูกกวาดลงสู่ท้องทะเลเมื่อเกิดน้ำท่วม ทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ในท้องทะเลอย่างรุนแรง
ในนิทรรศการ “จูราสสิก พลาสติก” คุณฟูจิจะนำเสนอผลงานประติมากรรมรูปไดโนเสาร์และสัตว์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นจากของเล่นที่ไม่เล่นแล้วจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าน้ำมันดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกนั้นก็มาจากซากศพของสิ่งมีชีวิตในยุคจูราสสิกอย่างไดโนเสาร์ ในนิทรรศการนี้ นอกจากคุณฟูจิจะนำของเล่นเก่ามาสร้างเป็นงานศิลปะล้ำค่าที่มีสีสันสวยงามน่าดึงดูดแล้ว ยังปลุกจิตสำนึกให้เราตระหนักถึงบทบาทของพลาสติกที่มีต่อทุกชีวิต พร้อมทั้งหยิบยกปัญหาขยะและปัญหาลัทธิบริโภคนิยมขึ้นมาให้เด่นชัด
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ฟรี มีการจัดเวิร์คช็อปมากมายตลอดช่วงเวลาที่จัดนิทรรศการ
งานจัดขึ้นที่ช่างชุ่ยตั้งแต่วันนี้ ถึง 14 ตุลาคม
เว็บไซต์ เจแปน ฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ: www.jfbkk.or.th
เว็บไซต์ช่างชุ่ย: www.changchuibangkok.com
RECOMMENDED CONTENT
‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย