Pop Art ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ถ้าอธิบายอย่างง่ายที่สุด Pop มีที่มาจากคำว่า Popular หมายถึงเป็นที่นิยม กระแสหลัก Pop Art จึงว่าด้วยงานศิลปะที่พูดถึงความป็อบ ความโมเดิร์น สังคม วัฒนธรรม ความแมส ความขบถ หรืออะไรก็ตามที่หลุดจากกรอบเดิมๆ ในการสร้างงานศิลปะ
ส่วน Conceptual Art ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง หรืออาจแตกยอดออกมาจาก Pop Art อีกทีนั้น จะเน้นหนักไปที่สิ่งที่ศิลปินสนใจ ต้องการจะสื่อ รวมถึงไปถึงแมททีเรียล หรือวัตถุจัดแสดงที่ศิลปินเลือกใช้ และส่วนใหญ่ Conceptual Art มักเป็นชิ้นงานที่สร้างไม่เสร็จ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หรือเปลี่ยนไปตามพื้นที่ (Space) แม้แต่อารมณ์ความรู้สึกของศิลปินก็ไม่เว้น
Barbara Kruger ถือเป็นอีกหนึ่งศิลปินแนว Conceptual Art ที่โลกกำลังให้ความสนใจ ด้วยผลงานที่ง่ายและเท่ แต่กินขาดตามแนวทางของเธอ ถ้าเอาแบบที่เราจำได้ดี คงหนีไม่ผลชิ้นงาน ‘I Shop Therefore I Am’ กับการนำเอาภาพถ่ายแนว screenprinting มาจัดวางลงบนอาร์ทเวิร์กกราฟิก ฟอนต์ Futura สีขาวบนพื้นแดง เป็นการวิจารณ์ลัทธิบริโภคนิยมอย่างเจ็บๆ คันๆ ซึ่งมันก็ดันไปคล้ายคลึงกันกับโลโก้ของแบรนด์สตรีทชื่อดังแบรนด์หนึ่งพอดี
ถ้าให้ว่ากันตามตรง Supreme เคยมีปัญหากับแบรนด์ Louis Vuitton มาก่อน เรื่องที่มีการนำเอาแพทเทิร์นไปใช้ในการออกแบบเสื้อผ้า แต่ภายหลังก็เหมือนจะจูบปากกัน และจับมือกันออกคอลเล็กชั่น Supreme x Louis Vuitton ออกมาซะงั้น แถมยังฮอตฮิตเล่นเอาถ้าเผลอหลุดไปในงานปาร์ตี้ชาวสตรีทฮิปฮอป ก็จะต้องเห็นไอเท็มคอลเล็กชั่นนี้อย่างน้อยหนึ่งชิ้นในทุกคนไป
มีคนสังเกตว่า โลโก้ของ Supreme นั้น ดันมีความคล้ายคลึงกันกับผลงานของ Barbara Kruger มาก ซึ่งภายหลังมีคนจุดประเด็นนี้ Supreme ก็ออกมาพูดตรงๆ เลยว่า ได้แต่แรงบันดาลใจมาจากงานของ Barbara จริงๆ นะเออ ซึ่งมันก็เป็นแนวทางปกติของการทำงานสาย Pop Art ที่หยิบนิดแปลงหน่อย ก็สามารถกลายเป็นลิขสิทธิ์งานของตนเองได้แล้ว เหมือนตอนกระป๋องซุปแคมเบล ของ Andy Warhol นั่นแล
แต่ในฐานะของอาจารย์ศิลปะประจำ UCLA เธอก็ยังไม่ปริปากใดๆ ถึงเรื่องนี้ จนกระทั่ง… เมื่อแบรนด์ Supreme ได้ทำการฟ้องร้องแบรนด์สตรีท Married to the Mob (MTTM) ที่นำเอาโลโก้ของ Supreme มาดัดแปลงเป็น ‘Supreme Bitch’ ทางนิตยสาร Complex เลยลองเทียบเคียงส่งอีเมลไปขอความเห็นถึงประเด็นนี้เสียหน่อย และเธอก็ได้ตอบกลับมาด้วยอีเมลว่างเปล่า แต่แนบไฟล์ fool.doc มาด้วย พร้อมข้อความว่า
“What a ridiculous clusterfuck of totally uncool jokers. I make my work about this kind of sadly foolish farce. I’m waiting for all of them to sue me for copyright infringement.” (นี่มันเป็นเรื่องตลกไร้สาระของพวกตัวตลกที่น่าสมเพชเสียเหลือเกิน ฉันก็ทำงานที่พูดถึงพวกนี้นี่แหละ นี่ก็นั่งรอว่าเมื่อไหร่พวกนั้นจะมาฟ้องร้องลิขสิทธิ์กับชั้นบ้าง)
ถ้าเป็นยุคนี้ ท้ายจดหมายคงต้องมี emoji สักตัวแถมมาด้วย เล่นเอาคนที่โดนพาดพิงหนาวๆ ร้อนๆ ไปตามๆ กัน ส่วนเคส Supreme กับ MTTM ก็จบลงด้วยการยกฟ้อง เรียกกระแสกันไป
นั่นคือเรื่องราวของ Barbara Kruger อย่างคร่าวๆ ผลงานชิ้นอื่นๆ ของเธอก็ล้วนแล้วน่าสนใจ เพราะมันได้วิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างเผ็ดร้อน อาทิเซ็ทภาพถ่ายแฟชั่นของ Kim Kardashian บนปกนิตยสาร W หรือจะเป็นภาพของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนล่าสุด ที่พาดหัวตัวเป้งๆ ว่า Loser บนปกนิตยสาร New York
ล่าสุด Barbara Kruger เตรียมปล่อยงานชิ้นใหม่ ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ร่วมมือกันกับเทศกาลศิลปะ Performa 17 กับบัตร MetroCard ของนิวยอร์คจำนวน 50,000 ใบ พร้อมด้วยข้อความบนบัตรว่า ‘who speak?’, ‘who is housed?’, ‘who is silent?’ และ ‘whose values?’ ซึ่งโปรเจ็กต์นี้มันจะไม่น่าสนใจเลย ถ้ามันดันไม่ไปพ้องกับโปรเจ็กต์บัตร MetroCard ที่ทาง Supreme เคยทำไว้เมื่อต้นปีพอดิบพอดี
RECOMMENDED CONTENT
เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนชาวไทย ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค จึงนำ “เสียง” หรือความคิดเห็นจากประชาชนภาคธุรกิจ มีส่วนร่วมในการส่งเสียงผ่านการสำรวจของ ‘Business of the People Poll’ ร่วมออกแบบและขับเคลื่อนโดย สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในจัดทำการสำรวจผ่านตัวแทนผู้ประกอบการไทยจำนวน 451 ตัวอย่าง โดยมุ่งเน้นหัวข้อไปที่ ‘ปัจจัย, ความท้าทาย, โอกาส และคำแนะนำ ในการเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต’ เพื่อที่จะทราบถึงความเข้าใจ ข้อเท็จจริง และแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากผู้ที่มีบทบาทจริงในภาคธุรกิจของประเทศไทย