fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#BigMoney | ทำงานทางไกล VS ทำงานที่ออฟฟิศ เทียบข้อดี-เสีย แบบไหนทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ?
date : 21.สิงหาคม.2019 tag :

มาถึงยุคทองของการทำงาน!! ยุคใหม่สมัยนี้ที่พนักงานอาจจะไม่ต้องเข้าออฟฟิศก็ได้ ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะมีอินเทอร์เน็ตคอยเชื่อมต่อ มีแชทให้สอบถามงานตลอดเวลา และมีแพลตฟอร์มช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพรายล้อมอยู่รอบตัว ซึ่งการทำงานแบบทางไกลหรือ Remote Working เนี่ย มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งผู้เขียนก็อยากชี้ในเห็นทั้งสองด้าน

มาเริ่มจาก 3 ข้อดีกันก่อน ดังนี้

1. ช่วยประหยัดทรัพยากรออฟฟิศ

ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟ ค่าแอร์แอร์ หรืออุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ทำให้เจ้าของบริษัทมีเงินเหลือไปเพิ่มสวัสดิการส่วนอื่นทดแทนให้พนักงานได้อย่างตรงจุด

2. ไม่เปลืองค่าเดินทาง แถมไม่หงุดหงิด

แทนที่พนักงานจะต้องเสียเวลาเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เช้าตรู่ กว่าจะฝ่ารถติด ฝ่าผู้คนและโดยสารมากับขนส่งสาธารณะรูปแบบต่าง ๆ แถมยังต้องเสียเวลาไปหลายชั่วโมงมาก แทนที่จะรู้สึกสบายใจ ผ่อนคลาย ไม่เครียด พร้อมคิดงานด้วยสมองปลอดโปร่งก็ต้องมาเจอปัญหาแบบนี้ ซึ่งแน่นอนว่าหากทำงานอยู่ที่บเานก็ลดปัญหาตรงนี้ได้ รวมถึงประหยัดค่าเดินมากได้ดีมาก ๆ

3. ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

อย่างที่บอกว่าพอเราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น ได้โฟกัสกับงานอย่างเต็มที่ไม่ต้องหงุดหงิด หรือเสียเวลาไปกับสิ่งรอบข้าง ก็มีเวลาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านั่งอยู่ในออฟฟิศ ที่มีแต่ห้องสี่เหลี่ยม หรือมุมโต๊ะที่มีเพื่อนร่วมงานแออัดวุ่นวาย เสียงดัง เพราะนอกจากจะได้ไอเดียสร้างสรรค์ ยังไม่รู้สึกอึดอันเวลาต้องคิดงานสำคัญอีกด้วย

_

แต่ยังไงก็ตามการทำงานแบบ Remote Working ยังมีจุดอ่อนบางประการเช่นกัน หากองค์กรยังไม่พร้อม แนะนำว่า ศึกษาจุดอ่อนและปรับให้เป๊ะก่อนเลือกทำงานแบบทางไกล Remote Working ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ อ้างอิงจากบทความของ ไรอัน โฮเวอร์ Founder of Product Hunt, Weekend Fund investor ที่รวบรวม

5 เหตุผลที่ Remote Working อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดเสมอไป ได้แก่

1. ความเหงาของพนักงาน

พูดเป็นเล่นไป ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ที่ทำงานแบบ Remote Working ต่างลงความเห็นว่าการทำงานแบบไม่เข้าออฟฟิศนั้นช่างเหงาเหลือเกิน เพราะไม่ได้เจอกับใคร ไม่ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน บางครั้งพวกเขาต้องอยู่ลำพังโดดเดี่ยว เหงา ๆ เป็นเดือน ๆ เลยนะ

2. การประสานงานระหว่างทีมที่อาจจะเกิดขึ้นตลอด 24 ชม.

แม้โลกใบนี้จะมีระบบแชทช่วยให้การทำงานดีขึ้นอย่าง Slack แต่ก็ยากอ่ะแหละ หากเราทำงานแบบไม่เข้าออฟฟิศ ชีวิตส่วนตัวอาจจะหายไปทีละน้อย ซึ่งเราอาจจะต้องตอบแชทตลอดเวลา ทำงานตลอดแบบ 24/7 ซึ่งแน่นอนว่า เรายังคงเป็นพนักงานกินเงินเดือนและไม่สามารถหลีกเลี่ยงการตอบแชทได้ เราต้องทำ และในระยะยาวอาจทำให้ชีวิตของคุณอาจจะเข้าสู่วิถี Work ไร้ Balance ชัวร์ป๊าบ

3. ทำงานแบบ Remote Working การระดมสมองอาจจะยากหน่อย  

หากพนักงานไม่มีออฟฟิศ และไม่มีการประชุมกันเลย เน้นทำงานแบบ Remote Working แบบจัดเต็ม เน้นตอบแชททำงาน หรือวิดิโอคอลหากัน คุยงานกันแบบไฮเทค แน่นอนว่า อาจจะทำให้ได้ไอเดียเพียงบางส่วนก็เป็นได้ เพราะอย่าลืมว่าการคุยผ่านจอ แตกต่างจากการประชุมที่พบปะเจอหน้า ซึ่งช่วยสร้างส่วนร่วมได้มากกว่า ดังนั้น ควรจัดหาเวลาพบปะกันบ้าง จะได้เสริมเติมไอเดียซึ่งกันและกันไงละ

4. ถ้าพนักงานไร้ประสิทธิภาพก็ต้องเหนื่อยตามงานกันอีก 

แน่นอนว่า การทำงานแบบไม่ได้เจอกันเลย พนักงานทั้งหลายจะต้องมีความรับผิดชอบสูงสุด!! และหากเจ้าของธุรกิจ หรือหัวหน้าได้เจอกับทีมงานมืออาชีพรับผิดชอบงานตรงเวลาก็ไม่มีปัญหา เว้นเสียแต่เจอกับพนักงานจอมอ้าง และผลัดวันประกันพรุ่ง ตรงนี้ลำบากเลยค่ะ เนื่องจากต้องคุมให้อยู่หมัดด้วยระบบตอกบัตร หรือแพลตฟอร์มใด ๆ ก็ได้ที่ดูแลเรื่องนี้ไว้ก่อน แบบไม่ให้วัวหายแล้วค่อยมาล้อมคอกนั่นเอง

5. ทำงานแบบ Remote Working พนักงานอาจจะขาดแรงจูงใจ

เพราะมนุษย์คือสัตว์สังคม การเข้าสังคมพบปะแลกเปลี่ยนความคิดยังคงเป็นพื้นฐานของมนุษย์ เราไม่ได้กล่าวหาว่าการทำงานแบบไม่เข้าออฟฟิศไม่มีข้อดีนะคะ เพียงแค่บริษัทฯ หรือองค์กรควรบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับการทำงานทางไกลด้วย เพื่อให้การทำงานยั่งยืนและได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้นเอง !!

เอาเป็นว่า… ไม่ว่าคุณจะเลือกบริษัทที่มีสไตล์การทำงานแบบไหน หรือเจ้าของบริษัทไม่รู้จะตัดสินใจเลือกการทำงานให้พนักงานอย่างไร ก็ให้ชั่งน้ำหนักแล้วลองเปรียบเทียบลักษณะงานของบริษัทตัวเองดูว่า งานแบบไหนเหมาะกับการทำงานทางไกลแบบไม่เข้าออฟฟิศ หรือ Remote Working บ้าง

___

แหล่งข้อมูล: linkedin.com
เรื่อง: Butter Cutter

RECOMMENDED CONTENT

31.สิงหาคม.2017

ผ่านไปแล้วหมาดๆ กับรอบ Wolrd Premeire ใน section 'Venice Days' ของเทศกาล Venice Film Festival กับภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของผู้กำกับ เป็นเอก รัตนเรือง – 'Samui Song – ไม่มีสมุยสำหรับเธอ' หลังจากห่างหายงานกำกับภาพยนตร์ไปอย่างยาวนาน