fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#BigMoney | ทำร้านกาแฟอย่างไร ให้ไม่ขาดทุน !
date : 11.ธันวาคม.2018 tag :

สำหรับใครที่อยากลาออกมาเปิดร้านกาแฟ หรือเปิดร้านกาแฟอยู่ต้องอ่าน!!! พูดถึงร้านกาแฟสด คอฟฟี่ช็อป หรือคาเฟ่มีสไตล์ที่อยู่ทุกมุมตึก แทบจะทุกโซนในเมืองไทยที่มีจำนวนมากและผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว การันตีจากรายงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าบอกว่า ธุรกิจร้านขายกาแฟจะมีการเติบโตและขยายตัวสูง สอดคล้องกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่ชอบดื่มกาแฟ ชอบนั่งชิล ๆ ในร้านสวยทันสมัย ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจร้านกาแฟคงจะต้องปัดฝุ่นใหม่ สร้างแบรนด์ร้านให้โดดเด่นเป็นที่รู้จัก และมีกลยุทธ์การตลาดที่ชัดเจน จึงจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ลองเรียนรู้จากความสำเร็จ

เรียนรู้จากกรณีศึกษา หากยกตัวอย่างร้านกาแฟในเมืองนอกอย่าง Blue Bottle อ่านชื่อไทยว่า บลูส์ บอตเทิลส์ ที่แตกต่างจนได้ใจลูกค้า ร้านกาแฟมินิมอลที่ยังไม่มีสาขาในเมืองไทย แต่ดังสุด ๆ ในอเมริกาและญี่ปุ่น

ปัจจุบัน บลูส์ บอตเทิลส์ มีสาขาใหญ่อยู่ที่เมืองโอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย คงคอนเซปต์คนหลงใหลกาแฟแบบเจมส์ ฟรีแมน ผู้ก่อตั้งและซีอีโอแห่งบลูส์ บอตเทิลส์ที่ไม่เน้นการตกแต่งใด ๆ ที่หรูหรา เพราะเขาต้องการเน้นกาแฟ กาแฟ และกาแฟ ชนิดที่กาแฟเย็นยังใส่ในแก้วกาแฟร้อนขาย (555+) ก็ยังขายได้อยู่

เพราะเป็นที่พบปะสังสรรค์คนรักกาแฟ เห็นว่าถูกใจคนวัยทำงานระดับผู้บริหารวัย 35-45 ปี พร้อมกับวัยเกษียณ 55-65 ปี ซึ่งเป็นคนที่มีฐานะ ทำให้เรารู้เลยว่า การสร้างร้านกาแฟพร้อมกับสร้างสังคมให้กับลูกค้าด้วยเป็นสิ่งที่ร้านกาแฟยุคใหม่ขาดไม่ได้จริง ๆ

ว่าแต่ร้านกาแฟอินดี้แห่งนี้ทำไมถึงดังได้ล่ะ จริง ๆ แล้วมีหลายปัจจัยเลยล่ะที่ทำให้กาแฟของบลูส์ บอตเทิลส์ดัง เริ่มจากไม่ชงกาแฟเก่าเก็บที่มีอายุเกิน 48 ชั่วโมง หรือสองวัน พูดง่าย ๆ คือ คั่วใหม่ ๆ ให้ชิมตลอด ความเรียบง่าย การเข้าถึงคนรักกาแฟที่อร่อย ควบคู่กับการสร้างสังคมไปด้วยกัน คงจะเป็นกลยุทธ์คร่าว ๆ ของร้านขวดสีฟ้าแห่งนี้

มองธุรกิจร้านกาแฟสดในเมืองไทย

ขณะที่ธุรกิจกาแฟในเมืองไทยเราคงจะมาพูดเอง หรือทำนายเองคงจะไม่แม่นเท่ากับตัวจริงในวงการกาแฟ ล่าสุด ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องกาแฟกับคุณชนินทร์ เชนส้ม และคุณณิชา หวังเรืองสถิตย์ เจ้าของร้านอาหาร Made for Mouth จังหวัดพิษณุโลก ที่ให้บริการกาแฟและร้านอาหารแบบครบวงจร ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้รับเคล็ดลับที่ทำให้ร้านกาแฟและเครื่องดื่มอยู่รอดได้ในสังเวียนที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดว่า “จะต้องรวดเร็วทันใจ เสิร์ฟไว ภายใน 1 นาที!!” ถึงจะได้ใจลูกค้า เพราะลูกค้าไม่ชอบรอนาน ๆ  

นอกจากนี้เจ้าของร้านกาแฟ Made for Mouth ยังบอกอีกว่า เราจะต้องรู้จักการบริหารให้ดี เช่น การแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน เพื่อบริการลูกค้า และไม่ควรทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ควรจะไว้ใจให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการทำงานในร้าน ราวกับเป็นครอบครัวเดียวกัน พร้อมกับส่งมอบกาแฟที่ดีที่สุด พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เฟ้นหาเมล็ดที่มีคุณภาพดี โดยเฉพาะการพัฒนาสูตรกาแฟใหม่ ๆ ไม่ให้ซ้ำซากจำเจ แต่ก็ยังคงคอนเซปต์เดิมเอาไว้ เพื่อครองใจลูกค้าให้อยู่หมัด พร้อมกับสร้างความแปลกใหม่อยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าติดใจและทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำ (Re-Purchase)ได้เป็นอย่างดี พร้อมกับต้องมีอัธยาศัยที่ดีต่อลูกค้า ธุรกิจกาแฟจึงจะโดดเด่นได้ในสังเวียนที่มีผู้เล่นหลากหลาย และสามารถอยู่รอดได้

ช่างเป็นไอเดียการทำธุรกิจกาแฟที่น่าสนใจจริง ๆ และเป็นกรณีศึกษาเหมาะสำหรับใช้พัฒนาธุรกิจกาแฟสดซึ่งคุณอาจจะสามารถนำมาปรับใช้ได้เช่นกัน แต่คงต้องขอแนะนำว่า ผู้ประกอบการทั้งหลายเลือกปรับกลยุทธ์ธุรกิจพร้อมกับสร้างแบรนด์ร้านกาแฟให้โดดเด่นแตกต่างเป็นตัวเองจะดีที่สุดนะคะ เพราะกับตั้งคำถามกับตัวเองและทีมงานดูว่า “ต้องการให้ร้านกาแฟของเราเป็นแบบไหนในสายตาของลูกค้า”

อ่านมาถึงตรงนี้ คงต้องขอทิ้งท้ายด้วยคติประจำใจของใครหลายคนที่ว่า “ถ้ามัวแต่เดินตามรอยเท้าของผู้อื่น เราก็จะไม่มีรอยเท้าเป็นของตนเอง” ดังนั้น ลองตั้งคำถาม หาคำตอบ พร้อมกับสำรวจร้านของตัวเองว่าอะไรคือจุดแข็งจุดขาย พร้อมกับนำเสนอให้ชัดเจน และเริ่มต้นพัฒนาธุรกิจ เริ่มตั้งแต่วันนี้ยังทันค่ะ สู้ ๆ นะ !!!

___

ที่มา: dbd.go.th, blog.hubspot.com 
เรื่อง: Butter Cutter

RECOMMENDED CONTENT

28.ธันวาคม.2017

หลายสื่อยกให้ ศรีสะเกษ นครหลวงโปรโมชั่น เป็น ‘นัก […]