fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#BOOK — ‘Singlish vs English’ : พูดอังกฤษเองก็ได้ง่ายจัง แต่ที่ยากคือพูดอังกฤษอย่างคนสิงคโปร์นี่แหละ!
date : 8.มกราคม.2018 tag :

“Okay Lah!”

เชื่อว่าทุกคนที่เคยเดินทางไปสิงคโปร์ ต้องเคยประสบพบเจอความ ‘Lah’ ที่มักต่อท้ายสำเนียงเสียงพูดภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์กันถ้วนทั่วทั้งเกาะ และมักจะเจอสำเนียงแปร่งประหลาด พร้อมสรรพแสงประเภทที่ไม่เคยพบเจอในโลกใบนี้มาก่อน แถมมันยากระดับที่ว่า คนสิงคโปร์ด้วยกันเองยังต้องเผลอสบถ ‘Cheem’ เพราะมันยากแท้หยั่งถึงเหลือเกิน คำพวกนี้!

Singlish หรือภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์ ถืออยู่ในหมวดภาษาพูดท้องถิ่นที่ไม่ใช่ภาษาราชการ แต่ก็เป็นภาษาที่ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 80 ต้องเคยพูด พูดได้ และสื่อสารกันเป็นประจำ

ย้อนไปเมื่อครั้งที่ภาษาอังกฤษเข้ามาเป็นครั้งแรกในดินแดนที่เดิมเป็นหมู่บ้านประมงและเมืองท่าค้าขายที่ชื่อเทมาเส็ก พร้อมกับมาของยุคล่าอาณานิคม British India ครองดินแดนแถบเกาะสุมาตราและชวา ชาวเมืองดั้งเดิมที่พูดภาษาจีน ทั้งฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และกวางตุ้ง รวมถึงภาษามลายู และภาษาทมิฬ ก็เริ่มรับเอาภาษาอังกฤษเข้ามาในอ้อมใจ และใช้มันเป็นดั่งภาษาที่สองสำหรับติดต่อพูดคุยกับชนชั้นนำในยุคนั้น

ก่อนที่ภาษาอังกฤษจะเริ่มแพร่หลาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไม่เว้นแม้แต่ตามข้างทาง ทุกชนชั้นได้มีโอกาสพูดภาษาอังกฤษกันถ้วนหน้า และช่วงเวลานั้นเองที่ภาษาอังกฤษเริ่มกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ และกลายเป็นวัฒนธรรมการพูดคำแทน ในกรณีที่นึกคำยากไม่ออก อังกฤษคำ จีนคำ มลายูคำ ทมิฬคำ จึงเกิดขึ้น แพร่หลาย ก่อนที่จะได้รับความนิยมเป็นดั่งภาษาท้องถิ่นผสม หรือที่เรียกกันว่า Pidgin นั่นเอง

ภาษา Singlish ถึงจุดเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง หลังจากแพร่หลายและได้รับความนิยม ในยุคที่สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากมาเลเซีย ก็เกิดแคมเปญรักชาติที่ชื่อว่า ‘Speak Mandarin’ เพื่อเชิญชวนให้คนสิงคโปร์กลับไปสู่รากเหง้า และพูดภาษาจีนแมนดารินกันให้มากขึ้น นั่นเลยทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภาษาสูงมาก เพราะผู้คนที่ก็หลากหลายเชื้อชาติอยู่แล้ว ต่างก็พูดจาคนละภาษากัน แถมยังต้องมาพูด Singlish เพื่อให้เข้าใจตรงกันอีก ฟังดูเหมือนลำบาก แต่ที่จริงคือสนุกมาก!

Singlish จากที่เป็นแค่วัฒนธรรมภาษา ตอนนี้กลับกลายเป็นเสมือนสินค้าส่งออก เป็น Soft Power ที่นักท่องเที่ยวมองว่าน่ารัก อยากเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลสิงคโปร์ก็ไม่ค่อยสนับสนุนให้แพร่หลายนัก เพราะยังคงอยากให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการอยู่ จึงไม่แปลกอะไรถ้าป้ายสาธารณะต่างๆ ของสิงคโปร์จึงมีภาษาให้อ่านถึง 4 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ จีน ทมิฬ และมาเลย์

 

นั่นเลยทำให้เกิดหนังสือที่ว่าด้วยภาษา Singlish วางขายเต็มเมือง มีพจนานุกรมศัพท์เฉพาะ ถึงขั้นมีหนังสือเลียนแบบ The Coxford Singlish Dictionary เลย เช่นกันกับหนังสือน่ารักโดยสำนักพิมพ์ The little dröm store เล่มนี้

‘Singlish vs English’ ทำออกมาในขนาด A5 และพิมพ์ 4 สีออกโทนพาสเทลกำลังน่ารัก ยิ่งบวกเข้ากับภาพประกอบสุดคิ้วท์ รับรองได้เลยว่า ไม่ว่าจะเด็กรุ่นไหน ผู้ใหญ่วัยใด แค่ลองพลิกก็ต้องอยากอ่าน อยากรู้จักภาษา Singlish ให้มากขึ้นแล้ว

the little dröm store เกิดขึ้นจากสองกราฟิกดีไซเนอร์ชาวสิงคโปร์ ที่อยากทำผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนวัฒนธรรมของสิงคโปร์ได้อย่างน่ารักและน่าซื้อหา ไม่ใช่แค่หนังสือเท่านั้น ที่นี่ยังมีทั้งกระเป๋า ถุงผ้า เข็มกลัด พวงกุญแจ หรือแม้กระทั่งผ้าแขวนผนัง น่าเสียดายที่ตอนนี้ shop ของแบรนด์ที่เป็นหน้าร้านต้องปิดตัวลงไป เพื่อหาสถานที่ใหม่ แต่ทุกสิ่งทุกไอเท็มก็ยังสามารถซื้อหาออนไลน์กันได้ที่ thelittledromstore.com อยู่

อ้อ หนังสือ ‘Singlish vs English’ นี้จัดส่งทั่วโลก แถมยังมีหนังสือในซีรี่ส์อีกเล่มชื่อ ‘The Strangely Singaporean Book’ นะเออ

—————

‘Singlish vs English’
ขนาด A5 / 232 หน้า
ราคา 29.90 SGD
(ประมาณ 725 บาท)

 

RECOMMENDED CONTENT

21.ตุลาคม.2022

เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนชาวไทย ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค จึงนำ “เสียง” หรือความคิดเห็นจากประชาชนภาคธุรกิจ มีส่วนร่วมในการส่งเสียงผ่านการสำรวจของ ‘Business of the People Poll’ ร่วมออกแบบและขับเคลื่อนโดย สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในจัดทำการสำรวจผ่านตัวแทนผู้ประกอบการไทยจำนวน 451 ตัวอย่าง โดยมุ่งเน้นหัวข้อไปที่ ‘ปัจจัย, ความท้าทาย, โอกาส และคำแนะนำ ในการเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต’ เพื่อที่จะทราบถึงความเข้าใจ ข้อเท็จจริง และแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากผู้ที่มีบทบาทจริงในภาคธุรกิจของประเทศไทย