fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

“Candy Crush Saga” เกมส์ Puzzle ลูกกวาดหลากสีบน Smartphone ของใครหลายๆคนตอนนี้ ล่าสุดทำออกมาเป็นลูกกวาดที่เอาไว้กินได้จริง!
date : 16.พฤศจิกายน.2013 tag :

“Candy Crush Saga” เกมส์แนว Puzzle จากค่าย “King” (ค่ายเกมสัญชาติ Sweden) บน Smartphone ระบบปฎิบัติการทั้ง iOS และ Android ที่ตอนนี้นั่งจิ้มกันทั่วบ้านทั่วเมือง กับรูปแบบการเล่นที่แสนจะเรียบง่าย เพียงแค่เราพยายามจัดตำแหน่งลูกกวาดสีต่างๆให้อยู่ในแนวเรียงกัน มันก็จะแตกตัวออก (เหมือนๆกับเกมส์จับคู่สามเหมือนทั่วๆไปอย่าง Bejeweled) แต่สิ่งที่ทำให้เจ้า Candy Crush นี่มันสนุกจนติดงอมแงมคงจะเป็นสีสันสดใสของบรรดาลูกกวาดชนิดต่างๆ เอ็ฟเฟ็คตระการตาทั้งภาพและเสียง ที่ไม่ว่าคุณจะเด็กหรือผู้ใหญ่ สาวๆนักจิ้มหรือหนุ่มๆนักเคาะก็ต้องยอมศิโรราบให้กับเกมนี้แน่ๆ ติดกันจนเมื่อไม่มีพลังชีวิตเล่นต่อก็ยังไม่วายขอเพื่อนกันให้ว่อน Facebook เต็มไปหมด และเมื่อวานนี้เพิ่งมีประกาศจากทางผู้ผลิตออกมาว่าตอนนี้ทั้งโลกคนลงเกมส์ Candy Crush ไว้ในเครื่องยอดรวมประมาณ 500 ล้านคน! เยอะมาก! ตรงกับช่วงเวลาครบรอบ 1 ปีของเกมลูกกวาดนี้พอดิบพอดี กลายเป็นข่าวดังข่าวใหญ่แห่งวงการ Application ขณะนี้เลยก็ว่าได้!

ล่าสุดฝันของทุกคนได้เป็นจริงแล้ว (ไม่รู้ว่าฝันกันไว้รึเปล่า) เมื่อลูกกวาด Candy Crush ในเกมส์ถูกทำออกมาให้เป็นลูกกวาดของจริงกินได้บนโลกใบนี้! ทีนี้เวลาใครบอกว่าติด Candy Crushไม่ได้แค่นิ้วพังอย่างเดียวแล้ว แต่ทั้งฟันผุและร่างกายน้ำตาลเกินอีก! ทำออกมาล่อตาล่อใจทั้งหมดสี่แบบ มีรูปทรงรูปแบบต่างๆสีสันสดใสตามแบบในเกมส์เป้ะ เหมือนกันชนิดที่ว่าไม่ใช่ว่าแกะห่อมาแล้วไม่ได้กินมั่วแต่นั่งเรียงนะ (ถ้าเป็นเหมือนรายนี้ถือว่าอันตรายแล้ว) ที่ทำออกมาได้เหมือนแน่นอนเพราะมันผลิตโดยค่ายเกมส์ King ที่ว่านั่นล่ะ เขาตั้งใจลองทำออกมาเพราะเห็นว่าไหนๆคนชอบเล่นกัน คนก็คงน่าจะชอบกินกันเหมือนกัน จับมือกับบริษัทลูกกวาดยักษ์ใหญ่อย่าง Dylan’s Candy Bar ตอนนี้ราคาขายตกอยู่ที่กล่องละ $4 (130 บาท) ถ้าซื้อทั้ง 4 กล่องสี่แบบ ลดเหลือ $15 (460 บาท) สามารถสั่งซื้อได้ในเว็ปไซต์ http://www.dylanscandybar.com/Candy/b/6985840011?ie=UTF8&title=Candy และอีกไม่นานมันจะเริ่มขายกันให้เห็นกันในห้าง Walmart และท้ายที่สุด (ถ้าไม่เจ๊งซะก่อนนะ) ต้องมาให้เห็นกันถึงในห้างบ้านเราแน่ๆ

CREDIT: Branding Magzine

RECOMMENDED CONTENT

9.กันยายน.2019

เนื่องจากคุณฟูจิตระหนักถึงปัญหาการผลิตสินค้าด้วยพลาสติกจำนวนมากที่เติบโตขึ้นในชีวิตประจำวันของเราเหมือนดอกเห็ดตั้งแต่ยุค 70 ในปีค.ศ. 1997 เขาจึงได้เริ่มเก็บสะสมของเล่นพลาสติกที่ไม่เล่นแล้วตามบ้านเรือน