ก เอ๋ย ก.ไก่ ข.ไข่ อยู่ในเล้า…เชื่อว่าใครที่ผ่านวัยเด็กมา ต้องท่องประโยคนี้ได้ขึ้นใจ พร้อมมีหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ก.ไก่ หน้าปกสีส้มวางอยู่บนโต๊ะ แต่เคยสงสัยไหมว่า หน้าตาแบบเรียนภาษาไทย ก.ไก่ ในแต่ละยุคสมัยจะแตกต่างกันอย่างไรหนอ
เรามาดูกันสิว่า กว่าจะมาเป็นแบบเรียนภาษาไทย ก.ไก่ ที่คุ้นตากันอยู่ในปัจจุบัน คนสมัยก่อนเขามีแบบเรียนภาษาไทย
ก.ไก่ หน้าตาแบบไหนกันบ้าง?
เริ่มจาก พ.ศ. 2458 ภาพประกอบเป็นภาพพิมพ์ขาวดำ
พ.ศ. 2458 หนังสือมูลบทบรรพกิจ แบบสอนหนังสือไทยโรงพิมพ์เจริญราฎร์
พ.ศ. 2465 หนังสือมูลบทบรรพกิจพระยาสุนทรโวหาร (น้อย)
ต่อมา พ.ศ. 2490 เริ่มใช้ภาพวาดพิมพ์ลายเส้นสอดสี
พ.ศ. 2490 แบบเรียน ก.ไก่ อนุบาล บริษัทประชาช่างจำกัด
พ.ศ. 2545 ใช้ภาพถ่ายเป็นภาพประกอบ ซึ่งฉบับนี้หลายคนคงคุ้นเคยเป็นอย่างดี
พ.ศ. 2545 แบบเรียน ก.ไก่ อนุบาล บริษัทประชาช่างจำกัด
จากแบบเรียนภาษาไทย ภาพพิมพ์ขาวดำ ภาพวาดสี จนถึงภาพถ่าย…
แล้วจะเป็นอย่างไร? ถ้าตัวอักษรไทยทั้ง 44 ตัวจะปรากฏโฉมใหม่ในแบบเรียนภาษาไทย ก.ไก่ ฉบับพิเศษ
ด้วยภาพถ่ายมุมมองสุดเฉียบของคุณ!
ก.ไก่ ต้องสบตา โดยคุณ MR.ARTORN DUMKRAM
ข.ไข่ โดยคุณ PICHAI CHALONGPHUM
ป. ปลา โดยคุณ JITTISAK SINTONG
ด.เด็กยิ้ม โดยคุณ CHAIYUN DAMKAEW
ผ.ผึ้ง ดูดน้ำหวาน โดยคุณ วนิดา ทับทวี
ร.เรือ โดยคุณ ทรงศักดิ์ เอียดดำ
ท.ทหาร รั้วของชาติ โดยคุณ WATCHARACHAI KLAIPONG (KUN JUMPA)
Canon ขอเชิญคุณร่วมสร้างนิยามใหม่แก่ ตัวอักษรไทยให้ครบทั้ง 44 ตัว ด้วยภาพถ่ายจริงจากมุมมองของคุณ กับแคมเปญ CanonLife Redefine ครั้งที่ 1 “อักษรไทย”
อีกทั้งยังได้ช่วยต่อยอดจินตนาการให้เด็กไทย โดยภาพถ่ายของผู้ที่ได้รับคัดเลือก จะนำไปผลิตเป็นแบบเรียนภาษาไทย
ก. ไก่ ฉบับพิเศษ เพื่อมอบให้สถานศึกษากว่า 400 แห่งทั่วประเทศ
เพียงส่งภาพถ่ายอักษรไทย (ตัวใดก็ได้) ในแบบของคุณมาที่ www.canonlife.com ตั้งแต่วันนี้ – 31 มี.ค. 2559
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/canonlifester
RECOMMENDED CONTENT
เนื่องจากคุณฟูจิตระหนักถึงปัญหาการผลิตสินค้าด้วยพลาสติกจำนวนมากที่เติบโตขึ้นในชีวิตประจำวันของเราเหมือนดอกเห็ดตั้งแต่ยุค 70 ในปีค.ศ. 1997 เขาจึงได้เริ่มเก็บสะสมของเล่นพลาสติกที่ไม่เล่นแล้วตามบ้านเรือน