Crystal x Yuree มาพร้อมขวด 6 ดีไซน์ใหม่ จากแคมเปญ Art for Life ที่คริสตัลผู้สนับสนุนงานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ต้องการให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างมีคุณภาพ ได้มีโอกาสร่วมงานกับ “ยุรี เกนสาคู” ศิลปินคลื่นลูกใหม่ของวงการศิลปะร่วมสมัย
ยุรี เกนสาคู เล่าว่า “รู้สึกยินดีมาก ๆ ที่ได้มาร่วมสร้างสรรค์ผลงาน Illustration ในแคมเปญ Art for Life ซึ่งยุรีได้นำผลงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง คือ Gogi Chan มาพัฒนาต่อยอดภายใต้แนวคิดให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างมีคุณภาพ ด้วยการใช้ “แก๊งเพื่อนทั้ง 7” มาสะท้อนแรงบันดาลใจให้ทุกคนใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยรวมตัวแทนของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งพื้นดิน น้ำ และอากาศ ที่ใกล้สูญพันธุ์และได้รับผลกระทบจากการทิ้งขยะของเสียมาครีเอทเป็นแก๊งเพื่อน อาทิ วาฬยักษ์ใหญ่ใจดี นกกระเรียนมงกุฎแดงผู้รักเดียวใจเดียว กวางสาวหล่าหรือเสาหลาที่ได้ชื่อว่าเป็นยูนิคอร์นแห่งเอเชีย ฯลฯ เพื่อสื่อสารให้เข้าถึงกับคนทุกวัย และรู้สึกผูกพันเหมือนแก๊งเพื่อนสนิท ที่มาสนับสนุนให้ทุกคนดูแลทุก ๆ ชีวิตบนโลก เพื่อสิ่งแวดล้อมที่สวยงามและยั่งยืน”
สำหรับ งาน BAB 2020 ที่คริสตัลเป็นผู้สนับสนุน เป็นเทศกาลศิลปะร่วมสมัยที่มุ่งสะท้อนถึงปัญหาและพยายามเสนอบางส่วนของทางออก เกี่ยวกับสิ่งที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ร่วมกัน ภายใต้แนวคิด “ศิลป์สร้างทางสุข” (Escape Routes) ศิลปะจะช่วยเยียวยาและเชื่อมโยงเราทุกคนไว้อีกครั้ง ผ่านมุมมองของ 82 ศิลปินชื่อดังทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะถูกจัดแสดงในสถานที่สำคัญของกรุงเทพฯ ทั้งโบราณสถานที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า รวมถึงศูนย์กลางธุรกิจท่องเที่ยวใจกลางกรุงเทพฯ รวม 10 พื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2564 ส่วน ยุรี เกนสาคู เป็นศิลปินคลื่นลูกใหม่ของวงการศิลปะร่วมสมัย ที่มีผลงาน Illustration รวมทั้งงาน 3 มิติ ที่เต็มไปด้วยสีสันมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ที่ได้รับอิทธิพลหลากหลายจากทั้งเทพปกรณัม นิทานพื้นบ้าน วัฒนธรรมป๊อป ไปจนถึงการ์ตูนมังงะ ที่สื่อสารด้วยอารมณ์ขัน การเล่นคำ และแง่มุมการมองโลกที่น่าสนใจ ผลงานของยุรี เกนสาคู สำหรับ BAB 2020 จัดแสดงอยู่ที่อาคารเดอะพาร์ค (The PARQ) ถ.พระราม 4 ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 มกราคม 2564
RECOMMENDED CONTENT
เป็นครั้งแรกที่บริษัทผู้สร้างตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดอย่าง Monotype ได้ทำการออกแบบตกแต่งตัวชุดอักษรที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกอย่าง Helvetica หลังจากที่พยายามปลุกปล้ำกันอยู่นานกว่าสองปีเพื่อที่จะปรับปรุงชุดตัวอักษรที่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบ swizz font