ผลสำรวจ ดัชนีสตรีเจ้าของธุรกิจ โดย มาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Women Entrepreneurs) ครั้งที่ 2 เปิดเผยว่า ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจในระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วจะมีโอกาสดีกว่ากลุ่มที่อยู่ในตลาดเกิดใหม่ สาเหตุเพราะสามารถเข้าถึงตัวช่วยและโอกาสต่างๆ ได้ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น เงินลงทุน บริการทางการเงิน และโปรแกรมการศึกษาเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม การศึกษาดัชนีสตรีเจ้าของธุรกิจของมาสเตอร์การ์ด สนับสนุนให้ผู้หญิงไทยก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของธุรกิจเพราะเป็นลู่ทางที่ให้โอกาสที่ดีกว่า โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 15 (คะแนน 65.8) ของประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยประเทศในกลุ่มนี้ อาทิ ฟิลิปปินส์ (คะแนน 68.0 อันดับที่ 9) บอสวาน่า (คะแนน 66.5 อันดับที่ 14) ไทย โปแลนด์ (คะแนน 65.4 อันดับที่ 19) และคอสตาริก้า (คะแนน 65.0 อันดับที่ 20) อาจจะไม่มีเงื่อนไขที่สนับสนุนเจ้าของธุรกิจที่ดีพอ แต่กลับมีสตรีที่มีบทบาทโดดเด่นในฐานะเจ้าของธุรกิจ กลุ่มวิชาชีพและกลุ่มช่างฝีมือ
ความไม่เท่าเทียมที่ส่งผลต่อธุรกิจ
รายงานยังระบุว่า เจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงทั้งกลุ่มที่เพิ่งเริ่มธุรกิจและกลุ่มที่ธุรกิจอยู่ตัวแล้ว ยังคงพัฒนาธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องถึงแม้จะเผชิญความไม่เท่าเทียมกันเพราะการกีดกันทางเพศ ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันนี้สามารถกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าทางธุรกิจของผู้หญิงเหล่านี้ได้
การวิจัยของมาสเตอร์การ์ดติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของนักธุรกิจหญิงและเจ้าของธุรกิจหญิงใน 57 ประเทศเป้าหมายครอบคลุมทั้ง 5 ทวีป ได้แก่ เอเซียแปซิฟิก ยุโรป ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง แอฟริกาและอเมริกาเหนือ
“ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจทั่วโลกล้วนน่าทึ่งที่ทำงานอย่างเต็มที่ เราเชื่อว่า เราสามารถสนับสนุนพวกเธอให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจและดำเนินชีวิตที่มีฐานะมั่นคงและมีคุณค่ายิ่งขึ้นโดยไม่เพิกเฉยในการต่อสู้และความพยายามของพวกเธอ”
— มาร์ติน่า ฮุนด์–มิฌอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน มาสเตอร์การ์ด กล่าว
ตัวแปรที่ทำให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้า
หากความไม่เท่าเทียมทำให้โอกาสที่จะโตในวงการธุรกิจลดลง มาดูกันดีกว่าว่าจะมีตัวแปรอะไรบ้างที่จะช่วยผลักดันให้เหล่าสตรีมีที่ยืน และแน่นอนว่าผลสำรวจดัชนีเจ้าของธุรกิจหญิงที่มาสเตอร์การ์ด (Mastercard Index of Women Entrepreneurs) ได้สรุปมาระบุว่า ประเทศที่มีเงื่อนไขและให้โอกาสแก่ผู้หญิงในการดำเนินธุรกิจมากที่สุด 10 อันดับแรกคือ
- นิวซีแลนด์ – 74.2 คะแนน
- สวีเดน – 71.3 คะแนน
- แคนาดา – 70.9 คะแนน
- สหรัฐอเมริกา – 70.8 คะแนน
- สิงคโปร์ – 69.2 คะแนน
- โปรตุเกส – 69.1 คะแนน
- ออสเตรเลีย – 68.9 คะแนน
- เบลเยียยม – 68.7 คะแนน
- ฟิลิปปินส์ – 68.0 คะแนน
- สหราชอาณาจักร – 67.9 คะแนน
การศึกษายังพบอีกด้วยว่า ในประเทศที่ระบบเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว และมีเงื่อนไขชัดเจนในการสนับสนุนผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ก็ไม่ได้ปลอดจากการความลำเอียงทางเพศ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศนิวซีแลนด์ พบว่า ‘คนในประเทศไม่ใส่ใจต่อประเด็นการทำธุรกิจของผู้หญิง’ ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจในนิวซีแลนด์ก้าวพ้นความท้าทายต่างๆ จนมาอยู่อันดับที่หนึ่ง ได้ถึง 2 ปีติดต่อกัน
ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาของมาสเตอร์การ์ดเสนอว่า โอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจของผู้หญิงไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเสมอไป ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเช่น กานา (46.4 %) หนึ่งในสามประเทศที่เพิ่งเพิ่มเข้าในการศึกษาครั้งนี้ (กานา มาลาวีและไนจีเรีย) อูกานดา (33.8 %) และเวียดนาม (31.3 %) มีผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจในอัตราที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว เพราะผู้หญิงในประเทศเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าของธุรกิจ เพื่อการอยู่รอด ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนและบริการต่างๆ ตาม
ทั้งนี้ “เราหวังว่าข้อมูลจากการศึกษาของเราจะช่วยย้ำเตือนให้รัฐบาลและองค์กรต่างๆ ให้เพิ่มการสนับสนุนแก่นักธุรกิจหญิงและผู้หญิงที่กำลังเติบโตในอนาคตในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางการเงินและโอกาสทางการศึกษาที่กว้างขึ้น”
RECOMMENDED CONTENT
สมการรอคอยจริง ๆ สำหรับเพลงใหม่ล่าสุด “สอนใคร” (Teach) จากอีพีอัลบั้ม “Arakgochina” (อาราโกชิน่า) ของศิลปินหนุ่มหล่อมาดเซอร์ “เป้ อารักษ์” หรือ “เป้ – อารักษ์ อมรศุภศิริ” สังกัดค่ายเพลง What The Duck ที่ก่อนหน้านี้ปล่อยเพลงสร้างเซอร์ไพร์สแฟนเพลงมาแล้ว 2 เพลง