กลายเป็นประเด็นใหญ่ต้อนรับวันสตรีสากลเลยกับการโชว์น่าอกของ Emma Watson ในการถ่ายแบบให้นิตยรสาร Vanity Fair ที่ทำให้เธอถูกนิยามว่าเป็น “Bad Feminism” จนเรางงว่าเดี๋ยวนะ! สิ่งที่เอ็มม่าทำมันแย่กับภาพลักษณ์แฟมินิสต์ยังไง ซึ่งแน่นอนว่าเอ็มม่าออกมาโต้ตอบอย่างชาญฉลาดว่า “ แฟมินิสต์เกี่ยวกับการให้ทางเลือกกับผู้หญิง มันไม่ใช่เครื่องมือที่จะเอาไปตีตราว่าสิ่งที่ผู้หญิงเป็น มันเป็นเรื่องของอิสระ เป็นเรื่องของเสรีภาพ เป็นเรื่องของความเท่าเทียม ฉันไม่เข้าใจจริงๆว่าหน้าอกของฉันไปส่งผลอะไรก็สิ่งเหล่านี้” สมกับการเป็นทูตของ UN Women เพราะสิ่งที่เอ็มม่าพูดเป็นพื้นฐานอันสำคัญที่สุดไม่เพียงแค่ของแฟมินิสต์แต่คือพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของทุกคน วันนี้เราจะมาทบทวนบทบาท Feminism ของเอ็มม่าว่าเธอไม่ได้ถูกตั้งฉายาขึ้นมาลอยๆ
Emma Watson ได้กลายเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่และกลายเป็นเสียงเพื่อแทนเด็กสาวทั่วโลก เมื่อปี 2014 เธอได้รับเลือกให้เป็นทูตมิตรภาพให้กับองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ซึ่งเอ็มม่าเปรียบเสมือนการให้อำนาจแก่เด็กสาว นอกจากนี้เธอยังเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ริเริ่มโครงการ HeForShe ที่รณรงค์ให้ผู้ชายส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมทางเพศด้วย ซึ่งก่อนรับตำแหน่งทูตมิตรภาพเอ็มม่าก็ได้เกี่ยวข้องในกับการส่งเสริมเรื่องให้การศึกษาแก่เด็กผู้หญิงมาหลายปี เธอเคยเดินทางไปยังบังกาลาเทศและสาธารณรัฐแซมเบียเพื่อผลักดันเรื่องมนุษยธรรม เธอทำงานเพื่อโปรโมท Fair Trade เครื่องแต่งกายออแกนิกส์ และเป็นแอมบาสดอร์ขององค์กรการกุศล Camfed international ที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการให้การศึกษาแก่เด็กสาวในชนบทของแอฟริกา
เห็นได้ชัดว่าการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ของเอ็มม่า วัตสันนั้นเกี่ยวการเรื่องการศึกษา ซึ่งเธอก็ทำได้ดีกับการเป็น “ภาพลักษณ์” ที่ดีให้กับเรื่องนี้ ตั้งแต่บทของเฮอร์ไมโอนี่ที่เป็นเด็กสาวคงแก่เรียน จนมาถึงชีวิตจริงที่เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยบราวน์ด้านวรรณคดีอังกฤษ ทำให้ภาพของเอ็มม่าออกมาตอกย้ำว่าการศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญอยู่เสมอและเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาเป็นพื้นฐานที่สุดของความเท่าเทียม ซึ่งนี้คือหัวใจหลักของ Feminism
ยิ่งการเป็นบุคคลสาธารณะยิ่งทำให้ทุกการกระทำขอเอ็มม่า วัตสันถูกจับตา แต่ก็เป็นข้อดีเพราะเธอสามารถทำให้เรื่องการเมือง เรื่องมนุษยธรรมที่ถูกมองเป็นเรื่องน่าเบื่อสามารถเข้าไปอยู่ใน Pop Culture ได้ ขณะเดียวกันเธอก็ถูกคาดหวังว่าเธอจะต้องเป็นเด็กสาวเฮอร์ไมโอนี่ที่เป็นที่รัก เธอจะต้องเป็นทูตสันวไมตรีที่ยิ้มแล้วมีสายตาแบบนางฟ้าแม่ทูนหัว ทั้งๆที่ประเด็นของ Feminism มันไปไกลมากกว่าการมานั่งกำหนดว่าผู้หญิงที่ดีต้องแต่ตัวแบบไหน ต้องวางตัวอย่างไร แต่เขากำลังพูดการถึง “สิทธิในการมีความชอบธรรมในร่างกายของตน” (Body Integrity) ไปจนถึง “สิทธิในการตัดสินใจเรื่องส่วนบุคคล” (Autonomy) กันแล้ว
แนวทางการขับเคลื่อนของกลุ่มสตรีนิมยมนั้นมามากมายและเป็นแนวคิดซับซ้อนมากๆ กลุ่มหนึ่ง ในยุคปัจจุบันที่การเมืองแฝงมาในรูปแบบของอำนาจแฝง (อำนาจตรงคือพวกสิทธิการเลือกตั้ง สิทธิตามกฎหมาย) แนวทางที่เอ็มม่าใช้ ไม่ใช่การออกมาพูดว่าผู้ชายต้องลุกให้ผู้หญิงนั่งบนรถเมล์ หรือผู้หญิงต้องแต่งตัวในเรียบร้อยเป็นกุลสตรี แต่มันคือการมุ่งไปที่พื้นทางที่สุดคือการให้สิทธิทำ สิทธิที่จะเป็น สิทธิที่เธอจะเลือกแม้กระทั่งเรื่องที่จะสวมบราหรือโนบรา
RECOMMENDED CONTENT
“เครื่องดื่มตราช้าง” ดึงตัวเจ้าพ่อเพลงรัก ‘บอย โกสิยพงษ์’ และนักร้องสุดอบอุ่น ‘นภ พรชำนิ’ มาร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลงเชียร์นักเตะทีมชาติไทยครั้งแรก ในโปรเจ็กต์สุดพิเศษภายใต้แคมเปญ #เล่นไม่เลิก ส่งเพลง “ช้างศึก เล่นไม่เลิก” แทนพลังเชียร์ของแฟนบอลไทยทุกคน