fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

Emoji facade สัญลักษณ์แทนความรู้สึกด้านหน้าอาคารในเนเธอร์แลนด์
date : 30.เมษายน.2017 tag :

attika-architekten-emoji-designboom-06

บริเวณชานเมืองที่พัฒนาขึ้นใหม่ใกล้กับเมืองที่ชาวดัตช์อาศัยอยู่อย่าง Amersfoort บริษัทสถาปนิก attika ได้วางแผนสร้างตัวอาคารที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการสร้างที่จะทำให้เกิดข้อดีของวัฒนธรรมแบบร่วมสมัย และบริเวณหน้าตึกที่ดูแปลกตา ด้วยการนำแผ่นคอนกรีตสีขาวที่มีหน้าตาของ emoticon จำนวน 22 ใบหน้าติดอยู่ตามเหลี่ยมมุมของช่องต่างๆ จัดวางตกแต่งคู่กับอิฐสีแดงภายนอกตัวอาคาร โดยอาคารนี้เป็นสตูดิโอที่ตั้งอยู่ในเมืองอัมสเตอร์ดัม

attika-architekten-emoji-designboom-02

attika-architekten-emoji-designboom-05

Attika architekten บอกว่า ที่เลือกใช้ emoji หรือ emoticon มาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง เนื่องจากได้สะท้อนการตกแต่งของสถาปัตยกรรมรูปแบบสมัยใหม่ที่เป็นที่รู้จักกันดีในตอนนี้ แต่หากย้อนไปในช่วงสถาปัตยกรรมยุคคลาสสิก เราก็จะได้เห็นเหล่าสถาปนิกในยุคนั้นเขาใช้หัวของพระมหากษัตริย์ หรืออะไรก็ตามที่แสดงถึงความรุ่งเรืองในยุคนั้นๆ มาใส่ติดไว้ตรงด้านหน้าอาคารหรือสิ่งก่อต่างๆ ทาง Attika จึงนำแนวคิดนี้มาทบทวนผลงานของตัวเองว่าจะมีอะไรอีกบ้างที่สามารถใช้ในการตกแต่งอาคารได้อีก จนได้คำตอบเป็น emoji ที่เมื่อใดก็ตามหากคุณมองมายังสิ่งก่อสร้างนี้ในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า คุณก็จะรู้ทันทีว่าสถาปัตยกรรมนี้อยู่ในช่วงไหน ซึ่งบางคนคงจะมีแปลกใจกันบ้าง

attika-architekten-emoji-designboom-04

attika-architekten-emoji-designboom-03

attika-architekten-emoji-designboom-08

ทั้งนี้ การเลือกคาแรกเตอร์ที่ชัดเจนลงบนคอนกรีต จะต้องคัดเลือกช่วงอารมณ์ที่ทุกคนคุ้นเคย อันเป็นพื้นฐานของอารมณ์ที่คนส่วนใหญ่ชอบใช้ในการแทนความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็น เสียใจ มีความสุข ทำให้ใครก็ตามที่เห็นก็จำได้ทันที รวมถึงใบหน้าจูบและใบหน้าที่ดวงตาเป็นรูปหัวใจก็สามารถสื่อถึงความรู้สึกรักมาก แถมสะท้อนบุคลิกภาพได้อีกด้วย

Website : www.designboom.com

RECOMMENDED CONTENT

21.ตุลาคม.2022

เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนชาวไทย ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค จึงนำ “เสียง” หรือความคิดเห็นจากประชาชนภาคธุรกิจ มีส่วนร่วมในการส่งเสียงผ่านการสำรวจของ ‘Business of the People Poll’ ร่วมออกแบบและขับเคลื่อนโดย สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในจัดทำการสำรวจผ่านตัวแทนผู้ประกอบการไทยจำนวน 451 ตัวอย่าง โดยมุ่งเน้นหัวข้อไปที่ ‘ปัจจัย, ความท้าทาย, โอกาส และคำแนะนำ ในการเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต’ เพื่อที่จะทราบถึงความเข้าใจ ข้อเท็จจริง และแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากผู้ที่มีบทบาทจริงในภาคธุรกิจของประเทศไทย