นิทรรศการศิลปะ CHRONICLE / พงศาวดาร
โดย วีรพงษ์ ศรีตระกูลกิจการ (อายิโน๊ะ)
พิธีเปิดนิทรรศการ วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2560 เวลา 18.00น.
จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน – 31 ตุลาคม 2560
หอศิลป ศุภโชค ดิ อาร์ต เซ็นเตอร์
สร้างผลงานจิตรกรรมและผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ โดยออกจากเงื่อนไขของการเป็นภาพพิมพ์ ผู้ที่ทำงานอย่างไม่มีวันหยุด วีรพงษ์มีการแสดงผลงานทั้งในและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ เคยได้รับรางวัลต่างๆ เช่น รางวัลเหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 51, เหรียญเงิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่54, เหรียญทองแดง การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 52 ครั้งที่ 53 และครั้งที่ 55, รางวัล Honorable Mentions, 10th International Biennial Engraving “Josep de Ribera” Xativa, Spain และการแสดงผลงานเดี่ยว เกียรติจิตรกร Painter Prestige ณ หอศิลปแห่งชาติ
ผลงานของวีรพงษ์นั้นจะผันเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาซึ่งเดินไปพร้อมกับประสบการณ์ และชีวิตโดยไม่ยึดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังนั้นผลงานจึงเป็นตัวสะท้อนถึงความคิด อารมณ์ความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตในขณะที่สร้างผลงานนั้นๆ ขึ้นมา
“ผมต้องการใช้ผลงานจิตรกรรมเป็นสื่อแสดงออกถึงปรากฏการณ์แห่งความรู้สึกของตนเองที่เกิดจากการรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวในชีวิตทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผสมผสานจินตนาการผูกโยงเรื่องราวบันทึกเป็นร่องรอยของเหตุการณ์ปัจจุบัน บรรจุรวมสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นในใจขณะสร้างผลงาน โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบล่วงหน้า วัตถุในผลงานมุ่งสะท้อนเรื่องราวในสังคม และค่านิยมในเรื่องคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดและมาตรฐานของสังคม โดยนำมาเรียงร้อยในองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดเรื่องราวใหม่ เปรียบเหมือนภาพบันทึกประวัติศาสตร์ของปัจจุบันขณะ ผมมีความมุ่งหมายในการค้นหาคุณค่าที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ภายในสิ่งต่างๆ โดยใช้การสร้างผลงาน เพื่อให้เข้าใจในสุนทรียภาพแห่งศิลปะ และคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต”
S.A.C. Subhashok The Arts Centre
CHRONICLE Art Exhibition
By Verapong Sritrakulkitjakarn (Ayino)
Opening reception on Thursday, September 21, 2017, 6.00 pm.
At S.A.C. Subhashok The Arts Centre
—
RECOMMENDED CONTENT
“People on Sunday” (2562) เป็นการตีความ บทสนทนาโต้ตอบ และสาส์นแสดงความนับถือต่อภาพยนตร์บุกเบิกจากประเทศเยอรมันเรื่อง “Menshen Am Sonntag” (2473) หรือ “ผู้คนในวันอาทิตย์” ผลงาน “People on Sunday” (2562) ได้นำภาพยนตร์ต้นฉบับดังกล่าวกลับมาตีความใหม่ผ่านบริบทที่แตกต่างจากเดิม ทั้งยุคสมัย ภูมิประเทศ ตลอดจนสภาพในการทำงาน