fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

พูดคุยกับ Greg Constantine ช่างภาพชาวอเมริกัน เจ้าของผลงานชุดโรฮิงยาที่กำลังจัดแสดงอยู่ขณะนี้
date : 18.มีนาคม.2014 tag :

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (2)ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมงาน “Exiled to Nowhere: Burma’s Rohingya” ผลงานของ Greg Constantine ช่างภาพชาวอเมริกันที่เล่าเรื่องราวความยากลำบากของ “โรฮิงยา” ชาวมุสลิมในประเทศพม่า ผ่านผลงานภาพถ่ายขาวดำอันทรงพลังและรูปแบบการจัดแสดงที่น่าสนใจ

หลังจากที่เดินดูงานโดยรอบ เราก็ไม่รอช้าที่จะคุยกับช่างภาพเจ้าของผลงาน (Greg จะนั่งอยู่ในงานเป็นประจำทุกวัน) เขาเล่าว่างานชุดนี้เริ่มทำตั้งแต่ปี 2006 (8 ปี) เป็นโปรเจคต์ที่ตั้งใจทำขึ้นเองไม่ได้รับมอบหมายจากหนังสือหรือนิตยสารใดๆทั้งนั้น ซึ่งเขาได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนมากมาย หนึ่งในนั้นก็มีสถานทูตแคนาดาในประเทศไทยรวมอยู่ด้วย (Greg เป็น Canadian-American) งานชุดนี้เป็นหนึ่งในซีรี่ส์ชุด Nowhere People ที่ซึ่ง Greg มีความสนใจถึงกลุ่มคนที่พลัดถิ่นฐานและไม่มีพื้นที่ให้ยืนในประเทศของตนเอง ภายใต้กรอบแนวความคิดนี้เขาทำผลงานออกมาตลอดเวลาเป็นภาพขาวดำ (แถมเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่สอบถามจากเจ้าตัวคือเถ่ายด้วยฟิล์มขาวดำ Kodak Tri-X 400 ใช้กล้องสลับไปมาระหว่าง Nikon F100 กับ Leica M6) ที่แต่ละชุดต่างก็ได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆมากมาย จนมาถึงงานชุดล่าสุดที่นำมาจัดแสดงคือ “Exiled to Nowhere: Burma’s Rohingya” การถูกเนรเทศไปสู่ดินแดนอันไม่มีอยู่จริงของ “โรฮิงยา” ชาวมุสลิมในประเทศพม่าที่ทุกวันนี้ยังคงถูกกดขี่และขับไล่จนไม่เหลือพื้นที่แม้แต่จะยืนอยู่ในประเทศบ้านเกิดก็ตาม สาเหตุที่ Greg เลือกถ่ายทอดเรื่องราวของชาวโรฮิงยา เพราะตลอดเวลา 8 ปีที่เข้าไปสัมผัสความขัดแย้งนี้ด้วยตนเอง เขาเล่าว่า “มันน่าเศร้าและน่าหดหู่เมื่อคิดว่าคนเหล่านี้เหลือความหวังในการใช้ชีวิตแต่ละวันอยู่อย่างริบหรี่ พวกเขาได้ถูกลิดรอนสิทธิของตัวเองออกไปหมดอย่างย่อยยับ มันโหดร้ายเสียจนพวกเขาไม่สามารถมองเห็นว่าอนาคตของชีวิตตัวเองและพวกพ้องจะเป็นอย่างไรต่อไป และจนถึงทุกวันนี้มันยังมีปัญหาก่อตัวอยู่มากมาย ซึ่งผมเชื่อเลยว่ามันไม่มีทางจะจบลงง่ายๆในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน” ซึ่งเขาเน้นย้ำเลยว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น และองค์กรต่างๆภายในโลกที่ดูแลเรื่องนี้ควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง

สิ่งหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับคนที่เข้ามาดูงานอย่างมากคือสเปซพื้นที่ในการจัดงานที่เป็น “ตึกร้าง” ฟังจากคนที่รับผิดชอบดูแลตึกเล่าว่า “ตึกนี้ไม่มีคนใช้งานเกือบ 15 ปี (หลังจากวิกฤติฟองสบู่แตก) มีคนแรกก็คือช่างภาพฝรั่งคนนี้ (Greg) เขาเข้ามาจัดการเรื่องปัดกวาดเก็บถูเองหมด” ซึ่งนอกจากทำความสะอาดแล้วยังรวมไปถึงการเดินสายไฟที่ใช้จัดแสดงผลงานอีกด้วย Greg ให้เหตุผลว่า ส่วนตัวเขาชอบความสวยงามที่มีในตึกร้างอยู่แล้ว ตลอดเวลาช่วงปีที่ผ่านมา (อาศัยอยู่ในไทย) เขาใช้เวลาเดินหาตึกร้างตามที่ต่างๆในกรุงเทพ จนได้มาเจอกับอาคารเก่าย่านสุรวงศ์แห่งนี้ และตัดสินใจใช้จัดแสดงผลงานชุดโรฮิงยาเพราะสถานะของชาวโรฮิงยาทุกวันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกัน เป็นความสวยงามที่ถูกทอดทิ้งจากสังคมในพม่ารวมถึงสายตาของคนทั้งโลก ซึ่งหลังจากตระเวนจัดแสดงไปทั่วทั้งลอนดอน วอชิงตัน บรัซเซล และกำลังจะไปต่อกันที่โตเกียว น่าเสียดายว่าผลงานชุดนี้จะจัดแสดงอยู่ในกรุงเทพให้เราชมกันอีกไม่ถึงหนึ่งอาทิตย์แล้ว (ตั้งแต่วันที่ 13 จบวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม) ทั้งหมดเพียง 9 วัน เขาให้เหตุผลส่วนตัวว่า การจัดแสดงในเวลาอันสั้นมันก็มีข้อดีในแง่ความรู้สึกว่าผลงานจบและสมบูรณ์ในตัวของมันเอง ต่างจากการเลือดจัดแสดงระยะยาวที่เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ความหมายและความแข็งแรงในเนื้อหาของงานหลุดลอยไปไหนได้ง่าย

สุดท้ายนี้ Greg กล่าวว่างานชิ้นนี้คงไม่อาจเป็นเสียงพูดแทนความเจ็บปวดของชาวโรฮิงยาที่เกิดขึ้นได้ แต่เขาหวังว่าการนำมาจัดแสดงมันจะสามารถตั้งคำถามกลับไปหาคนที่มาดู และรับรู้ถึงความเป็นไปที่เกิดขึ้นในพม่าตอนนี้เท่านั้นก็เพียงพอ มันเป็นสิ่งที่เขาเชื่อว่า “ภาพถ่ายที่ดีควรจะเป็น”  ตามแรงบันดาลใจที่เขาได้รับจากช่างภาพระดับโลกที่ตั้งใจทำผลงานและโปรเจคต์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นเวลานานอย่างเช่น W. Eugene Smith (ผู้ซึ่งเป็นเหมือนฮีโร่ของ Greg เลยคนหนึ่ง) และอีกหลายคนเพียงเพราะเชื่อมั่นว่างานที่ทำอยู่เป็นงานที่ไม่ควรปล่อยผ่านและมองข้ามไป… ยอมรับว่าถ้าถามในมุมเราที่เป็นคนดูจากทั้งตัวผลงานและการจัดแสดงก็ค้นพบเลยว่าช่างภาพคนนี้ใส่ใจรายละเอียดต่องานที่เขารักและทำจริงๆ นับเป็นงานภาพถ่ายดีๆ ที่ใครไม่ได้ชมถือว่าพลาดโอกาสไปอย่างมาก (แต่เรามีรูปภายในงานมาฝากสำหรับคนที่ไม่มีเวลา) ช่างภาพหรือคนรักการถ่ายรูปคนไหนได้ยินแล้วก็อย่าลืมหาเวลาไปกันล่ะ สามารถนั่งรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีช่องนนทรีแล้วเดินต่อมาถนนสุรวงศ์ได้เลย

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (20)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (19)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (18)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (17)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (16)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (15)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (14)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (13)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (12)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (11)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (10)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (9)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (8)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (7)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (6)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (5)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (4)

Dooddot Greg Constantine exiled to nowhere burma Rohingya (3)

นิทรรศการ Exiled to Nowhere: Burma’s Rohingya, Photography Exhibition by Greg Constantine
13 มีนาคม – 22 มีนาคม 2557 (เปิดนิทรรศการวันที่ 13 ตั้งแต่ 6 โมงครึ่ง ถึง 2 ทุ่มครึ่ง)
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 11:00 น. ถึง 18:30 น.
จัดที่ตึกร้าง ตรงหัวมุมแยกตัดระหว่างถนนนราธิวาสและถนนสุรวงศ์
สามารถนั่งรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีช่องนนทรีแล้วเดินต่อเข้าไปได้
(ดูแผนที่ได้จาก http://goo.gl/maps/ySMQq)
Facebook: https://www.facebook.com/events/497081727070540/
เวปไซต์ของช่างภาพ www.exiledtonowhere.com www.nowherepeople.org

Writer: Pakkawat Tanghom
Photographer: Pakkawat Tanghom

RECOMMENDED CONTENT

21.กันยายน.2020

หากผู้บริโภคต้องการเห็นการตลาดแบบเดิม ๆ นิสสันเอเชีย และโอเชียเนีย ขอเตือนว่า อย่าเปิดดูแบรนด์แคมเปญล่าสุด หรือเข้าไปดูเว็บไซต์ใหม่ของนิสสัน ซึ่งเริ่มเปิดตัวในประเทศออสเตรเลีย ประเทศไทย และประเทศฟิลิปปินส์ เร็วๆ นี้ นิสสันนำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดล่าสุด