fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#Entrepreneur : 4 สุดยอดธุรกิจ Start-Up สำหรับคนรักอาหาร ที่อาจสร้างรายได้ให้คุณเป็นกอบเป็นกำ!
date : 25.สิงหาคม.2015 tag :

Food startup dooddot 1

หลายคนชอบกินเป็นชีวิตจิตใจ หลายคนมีความสุขกับการตระเวนหาร้านอาหารใหม่ๆ บ้างก็ชอบสังเกตพ่อครัวปรุงอาหารแล้วกลับมาทดลองทำเองที่บ้าน บ้างก็ชอบเขียนวิจารณ์รสชาติอาหารลงบล๊อก บ้างก็ชอบถ่ายรูปเก็บสถิติก่อนลงมือกิน เมื่อหลงรักการกินเข้าเส้นเลือดชนิดที่ว่าอยู่กับการกินแล้วช่างมีความสุข จนเกิดไอเดียอยากกระโจนเข้าสู่ธุรกิจอาหาร แต่ติดที่ว่าทุกตรอกซอกถนนมีร้านอาหาร ร้านขนม ร้านกาแฟเจ้าเดิมจับจองเต็มพื้นที่ นี่ยังไม่นับร้านใหม่ๆที่เพิ่งขึ้นป้ายเตรียมเปิดดำเนินการ บวกกับสมัยนี้การเริ่มต้นเปิดร้านต้องมีต้นทุนขั้นต่ำซักครึ่งล้าน! แต่อ่านแล้วอย่าเพิ่งท้อกันนะคะ ถ้าใครมีใจรักการกินเป็นทุนเดิมแต่ไม่อยากแข่งขันในสนามธุรกิจสีแดงเดือด ลองมาดูไอเดียธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารแบบไม่ซ้ำใคร รับรองว่าสร้างแรงบันดาลใจให้คุณอยาก สตาร์ทอัพธุรกิจอาหารของตัวเองเลยทีเดียว

1. Blue Apron
Website: https://www.blueapron.com

สตร์ทอัพรายแรกชื่อ “Blue Apron” เป็นแอพลิเคชั่นสัญชาติอเมริกาที่ขายสูตรอาหารพร้อมจัดส่งวัตถุดิบในการทำอาหารทุกชนิดตามสูตรทั้ง เนื้อสัตว์ เครื่องเทศ เครื่องปรุง น้ำมันและเนย ที่สำคัญ Blue Apron หั่นและตวงมาให้เสร็จสรรพก่อนจะส่งตรงถึงบ้าน ด้วยเหตุนี้บริการของ Blue Apron จึงถูกอกถูกใจแม่บ้านมือใหม่ หรือแม่บ้านที่ขี้เกียจจ่ายตลาด และนอกจากความสะดวกสบาย Blue Apron ยัง การันตีว่าทุกเมนูเมื่อปรุงเสร็จรสชาติเด็ดแน่นอน ไม่ได้โม้!

ไอเดียตั้งต้น: Blue Apron มองเห็นช่องว่างความต้องการของแม่บ้านยุคใหม่ ที่เวลาน้อยไม่มีเวลาจ่ายตลาด ไม่มีเวลาเตรียมกับข้าว แต่อยากให้ครอบครัวได้กินอาหารทำเองที่ดีต่อสุขภาพ Blue Apron จึงเสนอบริการที่ช่วยลดขั้นตอนและประหยัดเวลาที่ต้องใช้ในการทำอาหารเสียเลย

Food startup dooddot 2

Food startup dooddot 4

Food startup dooddot 3

จุดแข็ง: Blue Apron กำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องสมัครสมาชิกเพื่อรับชุดประกอบอาหารที่ทาง Blue Apron จัดส่งให้สัปดาห์ละครั้ง ดันนั้น Blue Apron จึงรู้จำนวนลูกค้าล่วงหน้าทำให้ควบคุมปริมาณการผลิตได้ง่าย จุดแข็งอีกข้อหนึ่งคือการที่ Blue Apron มีเครือข่ายเกษตรท้องถิ่นซึ่งผลิตวัตถุดิบป้อนให้ ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้บริการของ Blue Apron จึงได้รับวัตถุดิบสดใหม่ส่งตรงถึงหน้าประตูบ้าน

ราคา: สำหรับแพคเพจ 2 คน ราคาเฉลี่ยคนละ 9.99 ดอลล่าร์สหรัฐหรือประมาณ 300 บาท ต่อหนึ่งมื้อ ส่วนแพคเกจสำหรับ 4 คนราคาต่อหัวจะลดลงเหลือคนละ 8.74 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 250 บาท โดยปัจจุบัน Blue Apron มีลูกค้าขาประจำมากถึง 100,000 คนเลยทีเดียว

Food startup dooddot 6

Food startup dooddot 5

Food startup dooddot 8

………………………………………………………………………………………………..

2. Eatwith
Website: http://www.eatwith.com/

ไอเดียแรกเป็นธุรกิจที่เจาะกลุ่มลูกค้าอยากทำอาหารกินเองที่บ้าน ไอเดียถัดมาจะเป็นธุรกิจที่เปลี่ยนประสบการณ์การกินข้าวนอกบ้าน สตาร์ทอัพรายนี้ชื่อว่า “Eatwith” ในเมื่อการกินข้าวตามร้านอาหารทั่วไปเริ่มซ้ำซากจำเจ ไม่น่าตื่นเต้นซักเท่าไหร่นักโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการประสบการณ์แปลกใหม่ Eatwith จึงทำแอพลิเคชั่นเชื่อมนักท่องเที่ยวกับเจ้าของบ้านที่รักการทำอาหาร โดย app นี้ทำให้นักท่องเที่ยวได้กินอาหารแบบออริจินอลที่บ้านของคนทำ ส่วนตัวเจ้าของบ้านเองก็สามารถมีรายได้เพิ่มแถมยังไเพื่อนใหม่อีก

Eat With ; Hummus Brunch with Naama Shefi & Noam Bonnie ; Photo By: Eilon Paz

Food startup dooddot 9

Food startup dooddot 10

Food startup dooddot 12

ไอเดียตั้งต้น: หลังจากสตาร์ทอัพอย่าง Airbnb เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านทุกคนสามารถเปิดบ้านของตัวเองให้นักท่องเที่ยวเข้าพักได้นั้นได้จุดกระแสการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวอยากพบปะ พูดคุยกับคนท้องถิ่นเป็นที่นิยม Eatwith จึงจับกระแสดังกล่าวโดยมองว่าการทานอาหารเป็นช่วงเวลาที่ได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์มากที่สุด ถ้านักท่องเที่ยวได้มีโอกาสพูดคุยกับพ่อครัวหรือแม่ครัวที่เปิดบ้านทำอาหารให้กินและแลกเปลี่ยนมุมมองกัน คงทำให้อาหารมื้อนั้นน่าจดจำยิ่งขึ้น

ความท้าทาย: Eatwith ต้องควบคุมคุณภาพของเจ้าของบ้านที่เปิดให้บริการกับนักท่องเที่ยว โดยใช้ทีมงาน Eatwith ลงตรวจสอบมาตรฐานและมีมาตรการกำหนดให้ 1 อาทิตย์เจ้าของบ้านจะให้บริการนักท่องเที่ยวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ในขณะเดียวกัน Eatwith ก็ต้องช่วยสแกนผู้ใช้บริการให้เจ้าของบ้านเช่นกัน ซึ่ง Eatwith ใช้ระบบการให้เรทติ้งนักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการ

ราคา: ขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้านในแต่ละมื้อ มีตั้งแต่ $30 ไปจนถึง $100 ก็มี ยังไงก็ลองเข้าไปเลือกกันได้เลย

Food startup dooddot 13

Food startup dooddot 14

Food startup dooddot 15

………………………………………………………………………………………………..

3. Imperfect picks
Website: http://www.harrisfarm.com.au/collections/imperfect-picks

อีกหนึ่งสตาร์ทอัพทำธุรกิจแบบหลุดกรอบจนเราคาดไม่ถึงชื่อว่า Imperfect picks พวกเขาขายผักและผลไม้ที่ถูกคัดออกเพราะรูปร่างแปลกประหลาด คดบ้าง งอบ้าง ซึ่งสินค้าเหล่านี้สามารถรับประทานได้แต่ถูกทิ้งเพราะหน้าตาไม่ผ่านมาตรฐานขึ้นห้างของประเทศสหรัฐเมริกา

ไอเดียเริ่มต้น: Imperfect picks มีความตั้งใจแรกเริ่มอยากลดปริมาณขยะจากเศษอาหาร พวกเขาจึงลงมือค้นหาข้อมูลและพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทิ้งผักผลไม้ที่รูปร่างไม่สวยงามมากถึง 6 ร้อยล้านปอนด์ต่อปี  ข้อมูลดังกล่าวชี้ช่องทางสร้างรายได้ พวกเขามองว่ากลุ่มคนรายได้น้อยพร้อมจะซื้อผักผลไม้กลุ่มนี้ถ้าพวกเขาขายผักผลไม้เหล่านี้ในราคาถูก

Food startup dooddot 17

ความท้าทาย: Imperfect picks ต้องสร้างเครือข่ายเกษตรกร โดย Imperfect picks จะรับซื้อผักผลไม้จากเกษตรกรในราคา 10 เซนต์ต่อปอนด์ การสร้างเครือข่ายนั้นจะทำให้มีผักผลไม้ขายสม่ำเสมอ นอกจากนั้น Imperfect picks ต้องสร้างช่องทางจัดจำหน่ายขึ้นมาใหม่ทั้งระบบ ตั้งแต่รับสมัครสมาชิกที่รับซื้อผักผลไม้เป็นประจำ ฝากขายผักผลไม้ที่ร้านค้าชุมชน หรือส่งตรงถึงโรงงานแปรรูปต่างๆ

ราคา: เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มคนรายได้น้อย ราคาพืชผักของ Imperfect picks จึงถูกกว่าราคาพืชผักผลไม้ทั่วไปประมาณ 30-50 เปอร์เซนต์

Food startup dooddot 18

Food startup dooddot 19

Food startup dooddot 20

………………………………………………………………………………………………..

4. QR fridge magnet

ไอเดียสตาร์ทอัพสุดท้ายเป็นขวัญใจเหล่าแม่บ้านเพราะช่วยลดปริมาณของเสียในตู้เย็น ซึ่ง “QR fridge magnet” เป็นแม่เหล็กติดตู้เย็น QR code ที่บรรจุข้อมูลวันหมดอายุของอาหารแต่ละชนิดไว้และแสดงผลด้วยสี โดยเริ่มต้นจากสีเขียวหมายถึงอาหารที่กินได้แล้วค่อยๆเปลี่ยนสีเป็นสีส้มเพื่อบอกว่าอาหารใกล้หมดอายุ สุดท้ายแม่เหล็กติดตู้เย็นจะเป็นสีแดงเข้มเมื่ออาหารหมดอายุ

Food startup dooddot 22

Food startup dooddot 21

ไอเดียตั้งต้น: QR fridge magnet มองเห็นปัญหาของครอบครัวคนในเมืองที่ยุ่งจนลืมว่ามีอาหารชนิดใดแช่ทิ้งไว้ในตู้เย็นบ้าง แต่ถ้ามีตัวช่วยที่คอยเตือนหน้าประตูตู้เย็นจะช่วยเตือนสติสมาชิกในครอบครัวให้รู้ว่าควรรีบกินอาหารก่อนที่มันจะเน่าเสียคาตู้เย็น และช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

ความท้าทาย: ต้องควบคุมต้นทุนการผลิตเพื่อขายให้ชนชั้นกลางในราคาที่เอื้อมถึงได้

ไอเดียของสตาร์ทอัพข้างต้นคงช่วยเปิดมุมมองของผู้ที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจอาหาร เพราะคำว่าธุรกิจอาหารแท้จริงแล้วมันเป็นได้มากกว่าแค่การเปิดหน้าร้าน โดยเฉพาะประเทศไทยเองก็เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำแถมมีชื่อเสียงด้านอาหารโด่งดังไปทั่วโลก จุดนี้จึงเป็นโอกาสมหาศาลสำหรับผู้ที่มีใจรักอยากเริ่มต้นทำธุรกิจอาหาร ข้อสำคัญก็คือหาไอเดียสร้างสรรค์ที่ตอบโจทก์ความตอบการของลูกค้าให้เจอ

Writer: methawee thatsanasateankit
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.eatwith.com/ ,
http://www.psfk.com/, http://www.bitrebels.com/ และ http://www.freckled-fox.com/

RECOMMENDED CONTENT

10.ตุลาคม.2017

STAR WARS: THE LAST JEDI ตัวอย่างแรก (Official ซับไทย HD) กับคำโปรยของผู้จัดว่า มันไม่ได้จะเป็นไป ในแบบที่คุณคิด #TheLastJedi กับภาคต่อ ของ STAR WARS ที่จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ 14 ธันวาคมนี้