วัยรุ่นยุค Touchscreen ทั้งหลาย… รู้จักวัตถุโบราณที่ชื่อว่า “Gameboy” กันไหม? เกมกดจากค่าย Nintendo ที่ครองใจเด็กติดเกมที่เกิดก่อนปี 2000 ทั่วโลก (ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเด็ก Boy หรือเด็ก Girl) มาถึงวันนี้ล่าสุดแบรนด์ที่ชื่อว่า G-PAD คิดค้นยางหุ้ม iPhone ที่จะทำหน้าที่เป็นปุ่มกดแทนการใช้นิ้วมือจิ้มจอของเรา!
เพื่ออะไรน่ะเหรอ? คำถามนี้ลองไปถามคอเกมรุ่นเกมกดคงทราบกันดีว่า การกดบังคับทิศทางลูกศรขึ้นบนลงล่าง และปุ่ม A B ด้วยปุ่มที่เป็นปุ่มแข็งๆ สัมผัสได้ถึงกายภาพ มันฟินกว่าการจิ้มหน้าจอขนาดไหน แต่ก่อนจะไปกันไกลกว่านี้ ต้องบอกก่อนว่าเจ้ายางหุ้มอันนี้ไม่ได้เอาไปเล่นเกมไอโฟนได้ทุกเกม (แหม สาวก Cookie Run หันหน้าหนีกันเลยทีเดียว) มันถูกสร้างมาสำหรับคนที่เล่นแอพ “GBA4iOS” แอพที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน Emulator เล่น Rom สารพัดเกมส์เครื่อง Gameboy Advance ของค่าย Nintendo (ไอ้รอมๆหรืออีโมเลเต้อที่พูดๆมานี่ดักแก่หมดทุกอย่างเลย ใครสงสัยว่าคืออะไรลองไปเสิชดู) ซึ่ง GBA4iOS เป็นโปรแกรมที่มีให้โหลดกันจริงจัง ไม่ต้อง Jailbreak อะไรทั้งนั้น เมื่อเปิดแอพขึ้นมาหน้าจอเราครึ่งล่างจะเป็นเหมือนปุ่มกดเกมบอย จุดนี้ล่ะคนคิดค้น G-PAD มองเห็นว่ามาถึงขนาดนี้แล้ว ถ้าจะเอาให้สุดมาจิ้มจอ “มันไม่ใช่” มันต้องกดปุ่มจริงๆไปเลย ก็เลยเกิดออกมาเป็นเจ้าปุ่มจำลองที่ว่านี่ล่ะ (ลองดูวิดีโอแนะนำอันนี้ดู เห็นไหมว่าใส่ปุ่มแล้วเล่นเก่งขึ้นเห็นๆ! http://www.youtube.com/watch?v=dx61psX4anI)
สำหรับโปรเจคต์นี้ กำลังอยู่ในกระบวนการยื่นไอเดียรอเงินบริจาคทำทุนอยู่ ตั้งไว้เบ็ดเสร็จราคาน่าจะตกอยู่ที่ $33 (พันกว่าบาท) เหล่าคอมเมนต์หัวหมอจากต่างประเทศก็คุยกันใหญ่ว่า “ราคาเท่านี้ไปหา Game Boy Advance ใน ebay เอาก็ได้” “โถ่ ไม่คุ้มเลย!” แต่ยังไงก็แล้วแต่ สำหรับใครที่ห่างจาก iPhone ไม่ได้ แล้วคิดถึงบรรดาเกมสนุกๆอย่างช่างหนวดมาริโอ้ ลิงจ๋อดองกี้คอง และอีกมากมายจากค่าย Nintendo คิดซะว่าเพื่อความสนุก (และเพื่อฝีมือการเล่นเกมที่ดีขึ้น) ยังไงๆก็ต้องพึ่งเจ้าปุ่มกดนี่ล่ะ! เป็นอีกหนึ่งงานไอเดีย Simple ง่ายๆที่เราหยิบมาฝากกัน
CREDIT: Gizmodo
RECOMMENDED CONTENT
“People on Sunday” (2562) เป็นการตีความ บทสนทนาโต้ตอบ และสาส์นแสดงความนับถือต่อภาพยนตร์บุกเบิกจากประเทศเยอรมันเรื่อง “Menshen Am Sonntag” (2473) หรือ “ผู้คนในวันอาทิตย์” ผลงาน “People on Sunday” (2562) ได้นำภาพยนตร์ต้นฉบับดังกล่าวกลับมาตีความใหม่ผ่านบริบทที่แตกต่างจากเดิม ทั้งยุคสมัย ภูมิประเทศ ตลอดจนสภาพในการทำงาน