นาทีนี้ เชื่อว่า “มูเตลู” น่าจะเป็นคำฮิตติดหู ขนาดที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าไม่มีใครไม่รู้จัก “การมู” อันเป็นกิจของความเชื่อที่ไล่เริ่มตั้งแต่ศรัทธา บูชา กราบไหว้ ขอพร จนถึงการร่วมพิธี ทุกวันนี้ การมูแทบจะเป็นสิ่งที่เรานึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อจะริเริ่มทำอะไรสักอย่าง จนอาจเป็นที่ตั้งคำถาม เพราะตัวมันเองอยู่ระหว่าง “ความเชื่อ” กับ “ความงมงาย” โดยมีเพียงเส้นคั่นกลางบางๆ แต่สำหรับสายมู มันอาจเป็นคำที่ง่ายกว่านั้น คือ “ความอุ่นใจ”
SAC Gallery (เอส เอ ซี แกลเลอรี) พร้อมด้วย 4 ศิลปิน Applied Art ทั้ง Noon Passama, JUNSEKINO, Pelagan S และ Eiair จึงหยิบยกหัวข้อนี้ที่ใกล้ชิดจนแทบเรียกได้ว่าเป็นวิถีของคนไทย ทั้งเป็นที่พูดถึง คุ้นเคย คลุกคลี มาก่อรูปเป็น “มู เต ลู: Ilmu teluh” นิทรรศการกลุ่มที่จะใช้ศาสตร์ Applied Art ของ 4 ศิลปินจาก 4 แขนง คือ Jewelry Design, สถาปัตยกรรม, Graphic Design และ Ceramic Art สะท้อนโครงร่างของความเชื่อ นำเสนอวัตถุแห่งความเชื่อ วัตถุที่สะท้อนทั้งความต้องการและความคาดหวัง ซุกซ่อนไว้ทั้งความปรารถนา ไปจนถึงความต้องการเพียงแค่หลักประกันในชีวิต
ศิลปินทั้งสี่ยกการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคล การสักยันต์ หรือแม้กระทั่งระบบสัญลักษณ์ มาปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์และพื้นที่ความศักดิ์สิทธิ์ หลอมกลืนความเชื่อเข้ากับการใช้ชีวิต เกิดเป็นภาพแทนความเชื่อที่จะมองว่า “มู” ก็ได้ จะมองว่า “ไม่” ก็ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับคุณแล้ว ว่า “เชื่อ” หรือ “ไม่”?
นิทรรศการ “มู เต ลู: Ilmu teluh” โดยศิลปิน Noon Passama, JUNSEKINO, Pelagan S. และ Eiair จัดแสดงระหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ถึง 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ บริเวณชั้น 1 อาคารหอศิลป์ เอส เอ ซี แกลเลอรี โดยมีกำหนดการเปิดวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่ www.sac.gallery, Facebook/sacbangkok และ instagram.com/sacbangkok
#sacNoonPassama #sacJunSekino #sacPelaganS #sacEiair
RECOMMENDED CONTENT
นี่คือภาพของผีรป่าแอมะซอนซึ่งในประเทศบราซิล ที่เป็นป่าฝนเขตร้อนผืนใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และนับเป็นปอดของโลกในปัจจุบัน ที่เป็นข่าวที่ไม่สู้ดีนักที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับข่าวธารน้ำแข็งอกโยคูลล์ ในไอซ์แลนด์เป็นที่แรกที่ละลายหมดสิ้น