fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

“Levi’s Vintage Clothing Exhibition” งานจัดแสดงยีนส์รุ่นตำนานของ LVC ที่ได้รับเกียรติจาก Mr.Yosuke Otsubo นำยีนส์ศตวรรษที่ 19 มาให้ชมกัน!
date : 8.กรกฎาคม.2014 tag :

กลางอาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้รับบัตรเชิญเข้าร่วมงาน Levi’s Vintage Clothing Exhibition ที่จัดที่ Central Embassy เป็นงานเปิดตัวไลน์ LVC ของ Levi’s ที่มีคนรักยีนส์และเหล่า Influencer คนดังของเมืองไทยมาร่วมงานกันมากมาย อย่างคุณเป้ อารักษ์ที่มาเดินชมงาน แล้วอดใจทนฟังเพลงบลูส์ไม่ไหวต้องขอตัวมาแจมกีตาร์ให้เราฟังกัน หรือจะเป็นคุณอาทิตย์ ศิลปินชื่อดังมาร่วมวาดผลงานลงบนยีนส์ให้กับ LVC ซึ่งเนื้อหาหลักของงานนี้เป็นการจัดแสดงยีนส์รุ่นต่างๆที่ถ้าใครเป็นแฟนยีนส์วินเทจคงรู้กันดีว่า รุ่นของ LVC จะแยกออกเป็นตามปีต่างๆที่เคยมีการผลิตมาก่อนในอดีต ได้รับเกียรติจาก Mr. Yosuke Otsubo (Regional Sales and Marketing Director Asia, Middle East, Africa) ผู้บริหารฝ่ายการตลาดของแบรนด์และยังเป็นกูรูยีนส์ตัวจริงจากญี่ปุ่น (เตรียมอ่านคอลัมน์พิเศษที่ Dooddot พูดคุยกับเขาได้เร็วๆนี้)   พาทัวร์เดินรอบ พร้อมอธิบายขั้นตอนการผลิต รวมถึงสาเหตุความเป็นมาคาแรคเตอร์เด่นๆของแต่ละรุ่นแต่ละตัว อย่างเรื่องเล่าของยีนส์ที่ในอดีตขณะแช่น้ำย้อม แล้วพื้นที่บริเวณนั้นเกิดสั่น ทำให้น้ำกระดิก Texture ที่ได้ของยีนส์ปีนั้นๆจึงต่างกัน หรือเคล็ดลับการใส่ยีนส์ที่ซื้อมาใหม่ๆให้ลงแช่น้ำเปล่าๆแนบเนื้อ สาธิตโดยการมีนายแบบรูปหล่อมานั่งในอ่างน้ำให้เห็นกันชัดเจน …นี่ล่ะรายละเอียดลึกชนิดที่คงมีแต่คนญี่ปุ่นเท่านั้นถึงจะทำได้

null

null

null

null

null

ภายในงาน นอกจากกางเกงปีต่างๆแล้ว ยังมีทักซิโด้ยีนส์ที่ Levi’s ตัดพิเศษให้กับนักร้องนักแสดงชื่อดังชาวอเมริกัน Bing Crosby ชื่อว่า “Crosby Tuxedo” มีเรื่องราวว่าในสมัยนั้นมีการห้ามใส่เครื่องแต่งกายยีนส์เข้าไปในโรงแรม ซึ่ง Bing และผองเพื่อนก็ประสบปัญหานี้ด้วยเช่นกัน เป็นเหตุให้เขาติดต่อทาง Levi’s ให้ออกแบบทักซิโด้ยีนส์ให้ ซึ่งทางแบรนด์เอง นอกจากจะออกแบบแล้วยังติดต่อเซ็นสัญญากับ American Hotel Association พร้อมป้ายหนังสีน้ำตาลด้านในเสื้อจั่วหัวกำกับไว้ชัดเจนว่า “Notice! To Hotel Men Everywhere.” เชื่อว่าถ้าโรงแรมไหนเห็นแล้วคงไม่กล้าปฏิเสธแน่นอน  ในระหว่างที่เล่าให้ฟังคุณ Yosuke ก็เปิดป้ายที่ว่าให้ดูและใส่เดินในงานวันนั้นให้รู้กันไปเลยว่า Crosby Tuxedo ยีนส์ที่ว่านี่เท่เก๋าขนาดไหน!  ส่วนที่น่าจะเป็นไฮไลต์เด็ดของงานเลยคือ ยีนส์ตัวหายากขั้นสุดยอดที่ Yosuke หิ้วมาจากญี่ปุ่นให้แฟนๆชาวไทยชมกันโดยเฉพาะ มันคือ 501 ปี 1890 ที่ถือเป็นปีแรกๆที่เริ่มตีรหัสรุ่น 501 เป็นจุดเริ่มของตำนานที่ทุกวันนี้ก็ยังมีแต่คนชื่นชอบ ยีนส์ที่เอามาให้ชมนี้เป็นตัวจริงกับที่คือเคยใส่โดยช่างเหมืองแร่ศตวรรษที่ 19 อายุนับย้อนไป 120 ปี จากเหมืองแร่เก่าบัดนี้ถูกนำมาจัดโชว์ในตู้อย่างดี ซึ่งมูลค่าของกางเกงที่ว่านี้อยู่ในระดับตีค่าไม่ได้เลยทีเดียว สำหรับใครที่พลาดโอกาสไม่ได้ไปงานนี้ ลองชมภาพที่ Dooddot นำมาฝากกัน  หรือถ้าอยากรู้ว่า LVC มีรุ่นอะไรบ้าง ลองอ่านรายละเอียด ตรงท้ายคอลัมน์นี้ได้เลย

null

null

null

null

null

null

null

Levi’s® Vintage Clothing (LVC)

ลีวายส์® คัดสรรกางเกงยีนส์ยอดฮิตสุดเก๋าจากช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 124 ปีของลีวายส์® 501® มาผลิตใหม่ด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมที่เคยทำเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในแบบย้อนยุคให้เหมือนเก่าทุกกระเบียดนิ้ว ทั้งเนื้อผ้า รูปทรง ตลอดจนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ด้วยคุณภาพการผลิตและเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยลีวายส์® เลือกหยิบกางเกงยีนส์ 501® ในตำนานที่ผลิตในช่วงยุคสมัยคริสตศักราชต่างๆ มาผลิตใหม่ทั้งสิ้น 10 รุ่นคริสตศักราช

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1890 เป็นปีแรกที่ลีวายส์®ใช้ตัวเลข “501” เป็นรหัสรุ่นของกางเกงยีนส์ โดยในยุคนั้นตัวเลข “5” จะถูกใช้เป็นรหัสนำหน้าของสินค้าลีวายส์® ที่ผลิตจากวัสดุที่ดีที่สุด

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1922 เพิ่มรูร้อยเข็มขัดตรงขอบกางเกงยีนส์ครั้งแรก แต่ยังคงมีกระดุมสำหรับใส่สายเอี๊ยม (suspender) และสายปรับกระชับ (Back buckle belt)

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1933 เป็นรุ่นสุดท้ายที่มีสายปรับประชับ (back buckle belt) และกระดุมสำหรับใส่สายเอี๊ยม (suspender) จุดสำคัญที่สุดของรุ่นนี้ คือ ป้ายสีขาวเล็กๆ พิมพ์รูปนกอินทรีสีฟ้าและตัวอักษร  “NRA” (National Recovery Act) ที่อยู่บริเวณป้ายหนัง นอกจากนี้ป้าย Guarantee Ticket ได้ถูกเปลี่ยนจากคำว่า ‘This is a pair of them’ เป็น ‘This is a pair of Levi’s®’  ทรงกระบอกใหญ่ ขาตรง

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1937 มีการเย็บป้ายเร้ดแท็ป® (Red Tab®) เข้ากับกระเป๋าหลังด้านขวาของกางเกงเป็นครั้งแรกเพื่อสร้างเอกลักษณ์อันโดดเด่นให้แบรนด์ลีวายส์® และซ่อนหมุดย้ำโลหะในการเย็บกระเป๋าหลังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนเวลานั่ง

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1944 (World War II) ในสถานการณ์ขาดแคลนในสภาวะสงคราม ลีวายส์® ต้องตัดการตกแต่งที่ไม่จำเป็นออกเพื่อลดปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยได้ตัดหมุดย้ำโลหะตรงเป้าด้านหน้าและสายปรับกระชับ  (back buckle belt) ออก เส้นโค้งปีกนกบนกระเป๋าหลังถูกใช้วิธีการเพ้นท์สีแทนการเย็บด้วยเส้นด้าย กระดุมหน้าแบบโดนัท และกระดุมด้านบนเป็นรูปช่อมะกอก

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1947 เป็นแม่แบบของกางเกงยีนส์ 501® ในปัจจุบัน ด้วยการตัดเย็บที่มีรูปทรงแบบสลิมเข้ารูปยิ่งขึ้น ใช้การเดินเส้นด้ายตรงกระเป๋าหลังแบบโค้งปีกนกด้วยจักรเป็นเส้นคู่ และเป็นช่วงที่คนยุคใหม่เริ่มหันมาใส่ยีนส์

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1954 เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่ใช้ซิปที่เป้ากางเกง และป้ายหนังมีการพิมพ์รหัส “501Z”

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1955 เริ่มใช้ป้ายปะเก็นกระดาษแบบยุคปัจจุบันครั้งแรก โดยเป็นช่วงที่มีการใช้คำว่า Jeans แทนคำว่า Overall

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1966 เริ่มใช้ Bar Tack แทนการตอกหมุดโลหะบนกระเป๋าหลังด้วยตะขอยึด เนื่องจากเมื่อผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน หมุดโลหะมักจะทะลุเนื้อผ้ายีนส์ออกมา และนี่เป็นช่วงปลายของการใช้ Big E บนป้ายเร้ดแท็ป® (Red Tab®) ส่วนกระเป๋าหลังโค้งคู่ปีกนกมีความโค้งน้อยกว่าปกติ

กางเกงยีนส์ 501® รุ่นปี 1978 มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโลโก้สัญลักษณ์ลีวายส์® บนป้ายเร้ดแท็ป® (Red Tab®) จาก LEVI’S® เป็น Levi’s® ทำให้เกิดคอนเซ็ปต์ใหม่ของความเป็น ‘Big E’ และ ‘Little e’

พิเศษกับคอลเลคชั่น LVC ออเร้นแท็ป (Orange Tab) รุ่นปี 1960  ที่ผลิตขึ้นครั้งแรกในสหรัฐฯ เป็นการใช้ป้ายออเร้นแท็ป (Orange Tab) บ่งบอกสัญลักษณ์ลีวายส์® แทนการใช้ป้ายเร้ดแท็ป® (Red Tab®) สำหรับไอเท็มต่างๆ ทั้งกางเกงยีนส์เข้ารูป เสื้อสวมหัว เสื้อยืด เสื้อเชิ้ตเดนิม และเสื้อแจ็คเก็ตเดนิม ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น ถือเป็นการปฏิวัติยีนส์คลาสสิคอเมริกันสู่ยุคเจเนเรชั่นใหม่ ทุกวันนี้ ออเร้นแท็ป (Orange Tab) ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งยุคเสรีอันแสนจะเรียบง่าย

 Photographer: Pakkawat Tanghom

RECOMMENDED CONTENT

15.ธันวาคม.2017