fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

มาทำเครื่องประดับใส่เองกันเถอะ! ที่ Lohameka Studio สตูดิโอที่เปิดเวิร์คชอปการทำเครื่องประดับ
date : 20.มีนาคม.2019 tag :

มีใครอยู่บ้านว่างๆ แล้วเบื่อบ้างไหม? วันนี้เราจะมาเอาใจสายคราฟท์ หรือใครที่เบื่อการเดินห้าง ชวนมาทำกิจกรรมฝึกสมาธิ แถมยังได้ของกลับบ้านอีก

ทำไมคนถึงต้องใส่เครื่องประดับ เป็นข้อสงสัยก่อนที่ คุณ วินิจ กุศลมโนมัย ได้ตั้งไว้ก่อนที่จะเปิดสตูดิโอที่มีชื่อว่า Lohameka Studio (โลหะมีค่า สตูดิโอ) สตูดิโอนี้เปิดสอนการทำเครื่องประดับตั้งแต่ คนที่ไม่มีพื้นฐาน ไปจนถึงเทคนิคต่าง

หลายๆ คนชอบคิดว่าเครื่องประดับเป็นเรื่องไกลตัว ดูทำยาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์การออกแบบ หรืออาจคิดว่าต้องไปเรียนนานๆ ดูยุ่งยากไปหมด แต่ตอนนี้ทุกคนสามารถทำเครื่องประดับง่ายๆใช้เองได้แล้วเพราะ Lohameka Studio ได้เปิดเวิร์คชอประยะเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 3 วัน สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐาน และยังมีอุปกรณ์ให้ใช้แบบครบสูตรในสตูดิโออีกด้ว

สำหรับการเวิร์คชอปทางสตูดิโอจะสอนตั้งแต่ ทฤษฎีเบื้องต้น การเลื่อยโลหะ ไปจนถึงการเชื่อมโลหะ ทางสตูดิโอจะเน้นการสอนทำฟังชั่นต่างๆ เช่น การเจาะรูที่สามารถไปประยุกต์ใช้ในการทำแหวน และทำลวดลายบนโลหะ หรือ การเชื่อมโลหะที่สามารถไปใช้กับการเชื่อมหัวแหวนและทำต่างหู

เวิร์คชอปนี้เหมาะกับใครก็ได้ที่ รักการออกแบบ ชอบศิลปะ/งานคราฟท์ หรือใครก็ได้ที่อยากลองทำอะไรใหม่ๆ คนที่ไปเรียนมีตั้งแต่อายุ 17 ปีไปจนถึง 60ปี เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าเราจะอายุมากเกินหรือน้อยเกิน  เวิร์คชอปนี้สามารถสร้างสมาธิและฝึกทักษะใหม่ๆ ที่สามารถนำไปสร้างธุรกิจได้อีกด้วย

สำหรับ Beginning Class ค่าเรียนจะอยู่ที่ 6,500 บาท สามารถดูตารางเรียน และติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ https://www.lohameka.com

RECOMMENDED CONTENT

14.ธันวาคม.2020

‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ  ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย