เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาดู๊ดดอทได้รับเชิญจากร้านอาหารทะเลชื่อดังจากศรีลังกา ‘Ministry of Crab’ นี่เป็นครั้งที่ 2 แล้วสำหรับการมาลิ้มรสความเป็นเมืองโคลัมโบ จากศรีลังกา
Ministry of Crab ก่อตั้งโดย เชฟ ดาร์ชาน มูนิดาซา ร่วมกับ 2 นักคลิกเก็ตในตำนานจากดินแดนศรีลังกา ในปี 2011 หลังจากนั้นไม่นาน ร้านแห่งนี้ก็มีชื่อเสียงโด่งดังมาในประเทศ เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นร้านที่หยิบปูยักษ์และกุ้งยักษ์มาปรุงได้อย่างน่าสนใจ
ตั้งแต่ปี 2015 – ปัจจุบัน Ministry of Crab ขึ้นแท่นในเวทีเอเชียด้วยการติดอันดับ 1 ใน 50 ร้านที่ดีที่สุดในเอเชียถึง 6 ปีซ้อน ที่สำคัญยังเป็นร้านอาหารเบอร์ 1 ในศรีลังกาอีกด้วย
ซึ่งครั้งแรกเรามาที่นี่ได้ชิมไปหลายเมนู แต่กลับมาครั้งนี้พร้อมเมนูใหม่ อย่าง ‘บริยานี ปู’ เมนูมื้อกลางวันที่เชฟต้องการให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
‘บริยานี ปู’ ฝีมือเชฟ ดาร์ชาน มูนิดาซา ใส่ใจตั้งแต่การเลือกข้าวบาสมาติระดับพรีเมี่ยมมาผสมกับเครื่องเทศศรีลังกาที่มีความหอมเฉพาะตัว ใส่ไข่ต้มเข้าไปอีก 6 ฟอง ปิดท้ายด้วยปูโคลนที่เป็นซิกเนเจอร์ของร้าน เพื่อให้ได้ความหอมและรสชาติที่ดีขึ้นทางร้านเลือกเสิร์ฟมาในหม้อดินเท่านั้น
เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีขึ้นไปอีกทางร้านเสริ์ฟแซมโบลสะระแหน่สด เครื่องเคียงที่เรียกความสดชื่นได้อย่างดี ผ่านการบดด้วบมือบนหิน Miris Gala ตามสไตล์ศรีลังกา พร้อมกับผักดองสไตล์มาเลย์และซอสเกรวี่เนื้อปูที่เป็นสูตรเฉพาะของครอบครัวเชฟ
‘บริยานี ปู’ ถือเป็นเมนูพิเศษที่ตอนนี้ร้านเสิร์ฟเฉพาะวันพุธเท่านั้น
ปูโคลนที่เป็นเอกลักษณ์ของร้านยังเอามาผัดพริกไทยดำหรือผัดพริกก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 เมนูนี้ขึ้นชื่อถึงขั้นว่าทุกโต๊ะต้องสั่ง ส่วนกุ้งก็มีให้เลือกตั้งแต่กุ้งกุลาดำไปจนถึงกุ้งแม่น้ำขนาดใหญ่ สามารถเอาไปทำได้ทั้งทอดกระเทียม หรือแกงกะหรี่กุ้งหม้อดิน
ปิดท้ายอย่าลืมสั่ง Coconut cream brulee ของหวานซิกเนเจอร์ของร้าน ที่ทำออกมาได้ดีมาก เนื้อครีมเนียนนุ่ม ไม่หวานจนเกินไป เมื่อตักคู่ไปกับคาราเมลที่เบิร์นไฟมาด้านบนถือว่าเข้ากันอย่างลงตัว จบมื้อได้อย่างสวยงาม
สำหรับร้าน Ministry of Crab ควรชวนเพื่อนมากินด้วย หรือมากันเป็นครอบครัว เพราะแต่ละเมนูมีจานค่อนข้างใหญ่ เหมาะที่จะแบ่งปันกันมากกว่า
Ministry of Crab, Bangkok
เวลาทำการ : 18.30–23.30 น.
ปิดทุกวันจันทร์
ซอยสุขุมวิท 31
สามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้าและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
www.facebook.com/Ministryofcrabbangkok
RECOMMENDED CONTENT
“โรคร้ายไม่ใช่เรื่องของคนคนเดียว” เพราะโรคร้ายไม่ได้ทำร้ายแค่ผู้ป่วยเพียงคนเดียว แต่ยังมีคนในครอบครัวและคนอีกหลายคนที่ต้องเจ็บปวดและได้รับผลกระทบเช่นกัน การช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับการรักษานั้น เท่ากับเราได้ช่วยเหลือคนมากกว่าหนึ่งคน