fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

Movie Guide : แนะนำภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากงานวรรณกรรมชิ้นดัง ต้อนรับงานหนังสือที่กำลังจะถึงปีนี้
date : 26.มีนาคม.2014 tag :

ต้อนรับงานหนังสือปีนี้ Dooddot มีคอลัมน์ Movie Guide มาฝาก (หลังจากคราวที่แล้วแนะนำหนังในเทศกาลวันวาเลนไทน์ไป https://www.dooddot.com/film-valentines-day/) คราวนี้เรารวบรวมหนังที่ดัดแปลงมาจากงานวรรณกรรมไม่ว่าจะเป็นนิยายหรือเรื่องสั้น ซึ่งจริงๆแล้วภาพยนตร์ทั้งน้อยใหญ่ในโลกนี้ เกินครึ่งล้วนดัดแปลงมาจากหนังสือกันทั้งนั้น ถ้าให้หยิบมาพูดทั้งหมดคงไม่ไหว เราเลยคัดมาทั้งหมดสิบเรื่อง เลือกมาเฉพาะที่ตัวหนังสือเคยมีผลงานฉบับแปลไทยออกมาแล้ว ให้สำหรับนักดูและนักอ่านเป็นลายแทงได้ไปตามล่าหาซื้อในงานหนังสือปีนี้ เอาให้เดินกันให้เมื่อยไปเลย!

null

1. The Great Gatsby (2013) ผลงานการแสดงของ Leonardo Dicaprio เมื่อไม่นานมานี้ (ปีที่แล้วเอง) เรื่องราวความรักของมหาเศรษฐี Gatsby กับหญิงสาว Daisy ที่ทั้งคู่เคยพบรักกันตอนเด็กแล้วต้องพลัดพลาดกันไปคนละทาง ซึ่งจริงๆแล้ววรรณกรรมเรื่องนี้เคยถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์มาแล้วหลายรอบมาก ผลงานการประพันธ์ของ F. Scott Fitzgerald (เขียนในปี 1925) นักเขียนชาวอเมริกันคนสำคัญของศตวรรษที่ 20 ผลงานของเขาถูกกล่าวขานว่านำเสนออเมริกันในยุค Jazz Age (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) ได้อย่างดีเยี่ยม มีงานชื้นดังอื่นๆอีกมากมาย เช่น “The Curious Case of Benjamin Button” ก็เป็นหนึ่งในนั้น
หนังสือฉบับแปลไทย: “รักเธอสุดที่รัก” แปลโดย ศ.ปรางค์ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาสน์ (เนื่องจากฉบับไทยพิมพ์ปี พ.ศ. 2518 สำหรับใครที่อยากหามาอ่านคงต้องไปเจอกันที่โซนหนังสือเก่าแล้วล่ะ)

 null

2. The Help (2011) หนังที่เชื่อว่าต้องเรียกน้ำตาของคอหนังหลายคนมาแล้ว เรื่องราวระหว่างแก๊งค์สาวใช้ผิวสีกับคุณนายผิวขาวในยุค 60’s ยุคที่อเมริกันยังลุ่มๆดอนๆกับวัฒนธรรมการเหยียดสีผิวของคนในชาติ แต่อย่างไรก็ตามด้วยความรักที่มีพวกเธอก็ปฎิบัติกับลูกๆของคนขาวดีไม่ต่างจากลูกตัวเอง ดัดแปลงมาจากงานเขียนชิ้นแรกในปี 2009 ของ Kathryn Stockett นักเขียนสาวชาวอเมริกัน
หนังสือฉบับแปลไทย: “คุณนายขาว สาวใช้ดำ” แปลโดย ศุภลักษณ์ สนธิชัย สำนักพิมพ์สันสกฤต

 null

3. Persepolis (2007) ภาพยนตร์การ์ตูนที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูนภาษาฝรั่งเศสของ Marjane Satrapi พูดถึงเรื่องราวสะท้อนสังคมตอนชีวิตวัยเด็กของเธอนำไปสู่วัยเปลี่ยนมาเป็นผู้ใหญ่ในประเทศอิหร่าน นอกจากในเวอร์ชั่นนิยายการ์ตูนจะโด่งดังแปลเป็นหลายภาษาแล้ว เวอร์ชั่นภาพยนตร์ก็ได้รับรางวัลและเป็นที่พูดถึงมากมาย ในไทยเราเองก็ถือเป็นหนังนอกกระแสที่ตอนเข้ามาฉายเป็น Talk of the town ในแวดวงคนดูหนังอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
หนังสือฉบับแปลไทย: “แพร์ซโพลิส 1,2” แปลโดย ณัฐพัดชา สำนักพิมพ์กำมะหยี่

 null

4. A Clockwork Orange (1971) ภาพยนตร์เรื่องสำคัญของผู้กำกับ Stanley Kubrick เรื่องนี้ ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อเดียวกันของ Anthony Burgess ผลงานชิ้นเอกที่แต่งขึ้นในปี 1962 ถูกกล่าวขานในยุคนั้นว่ามีความรุนแรงและเรื่องเพศอัดแน่นเต็มไปหมด (ในหนังของ Kubrick ก็ทำออกมาโหดซะจนต้องจัดเป็น Rate X ห้ามฉายบางประเทศ) เรื่องราวพูดถึงโลกอนาคตในแบบที่ตกต่ำและคนอยู่กันแบบตัวใครตัวมัน มีตัวเอกเป็นแก๊งค์อันธพาลไล่ทำร้ายชาวบ้านไปเรื่อย เป็นงานเขียนที่ตีแผ่สังคมอนาคต (ของยุคนั้นแต่ปัจจุบันของยุคนี้) ได้อย่างเสียดสีและดิบเถื่อนจริงๆ
หนังสือฉบับแปลไทย: “คนไขลาน” แปลโดย ปราบดา หยุ่น สำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง

null

5. The Diving Bell and The Butterfly (2007) หนังอัตชีวประวัติของนักเขียนชาวฝรั่งเศส Jean-Dominique Bauby อดีตหัวหน้ากอง Editor ของนิตยสาร Elle ฝรั่งเศส ผู้เป็นเจ้าของงานเขียวชื่อเดียวกันที่ทำออกมาคล้ายกับเป็นหนังสือบันทึกเรื่องราวในชีวิตของเขา เขียนในขณะที่เป็นโรคอัมพาต Locked-In Syndrome นอนอยู่ในโรงพยาบาลขยับไปไหนไม่ได้ ด้วยการกระพริบตาบอกกับผู้ช่วยอ่านของเขาทีละตัวอักษร เห็นว่ากว่าจะจบเล่มเขากระพริบตาไปไม่ต่ำกว่า 200,000 ครั้ง! (อดทนมากๆ) ทั้งเวอร์ชั่นหนังสือและภาพยนตร์ต่างก็ถูกยกให้เป็นอีกหนึ่งผลงานจากฝั่งยุโรปที่ไม่ควรพลาด
หนังสือฉบับแปลไทย: “ชุดนักประดาน้ำและผีเสื้อ” แปลโดย วัลยา วิวฒน์ศร สำนักพิมพ์ผีเสื้อ

 null

6. Lemony Snicket’s A Series of Unfortunate Events (2004) ภาพยนตร์แนวผจญภัยแฟนตาซีที่ได้ดาราตลกอย่าง Jim Carrey มาร่วมงานด้วยเรื่องนี้ สร้างจากหนังสือชุดสำหรับเด็กชื่อว่า A Series of Unfortunate Events เขียนโดย Daniel Handler (นามปากกา Lemony Snicket) เรื่องราวอันสุดแสนจะปั่นป่วนของสามเด็กกำพร้าที่หลังจากพ่อแม่ของพวกเขาตายจาก ก็ต้องถูกส่งไปอยู่กับญาติคนไกลที่พวกเขาสัมผัสได้เลยว่าไม่ได้มาดีแน่ๆ สาเหตุฃที่หยิบเรื่องนี้เอามาฝากกันนอกจากเนื้อหาที่สนุกเข้มข้นแล้ว ก็เพราะว่าไหนๆ List นี้ไม่ได้พูดถึงนิยายชุด Lord of the Rings และ Harry Potter กลัวคอนิยายแฟนตาซีจะน้อยใจ ขอทดแทนด้วยการหยิบเอาผลงานสุดอมตะอีกชิ้นนี้มาละกัน
หนังสือฉบับแปลไทย: “อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย” แปลโดย อาริตา พงศ์ธรานนท์ สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

 null

7. 2001: A Space Odyssey (1968) ไหนๆก็พูดถึงแฟนตาซีกันไปแล้ว ถ้าจะข้ามนิยายแนว Sci-Fi ไปก็คงจะยังไงอยู่ หลายคงคนรู้จักภาพยนตร์เรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ผลงานสร้างชื่อของ Stanley Kubrick ที่เป็นแรงบันดาลใจสำคัญของ Geroge Lucas ในการตัดสินใจทำ Star Wars ขึ้นมา (เห็นเขาว่านะ) แต่ใครรู้บ้างว่าแท้จริงแล้วมันถูกดัดแปลงมาจากนิยายโลกอวกาศของ Arthur C. Clarke ปรมาจารย์แห่งนิยายไซไฟ ทีเดียว แม้หลายคนที่เคยอ่านจะบอกว่าถ้าใจไม่แข็งสามารถทำลิงหลับเอาง่ายๆ ไม่ต่างอะไรกับเวอร์ชั่นภาพยนตร์ที่อารัมภบทกันนานเป็นปีแสง (แต่เชื่อเถอะว่าคุ้มค่าแก่การให้เวลากับมันแน่ๆ) ถือเป็นผลงานชิ้นอมตะงานเขียนแนววิทยาศาสตร์เลย
หนังสือฉบับแปลไทย: หนึ่งในหนังสือชุด “จอมจักรวาล” แปลโดย ระเริงชัย สำนักพิมพ์ Science Fiction Publishing House (เล่มนี้ก็อาจจะหายากหน่อยนึง แต่ถ้าตั้งใจเดินก็น่าจะยังหาได้อยู่)

null

8. มหา’ลัยเหมืองแร่ (2005) สุดท้ายขอมาจบกันที่ภาพยนตร์ไทยจากบ้านเรากันบ้าง ผลงานจากค่าย GTH (ยุคก่อนฮา) กำกับโดย จิระ มะลิกุล ที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกัน งานเขียนของศิลปินแห่งชาติ อาจินต์ ปัญจพรรค์ เล่าถึงเรื่องราวชีวิตนักศึกษาชั้นปีที่สอง จากรั้วจามจุรี (ตัวอาจินต์เอง) หลังจากถูกรีไทร์เขาเดินทางลงไปภาคใต้ ไปสัมภาษณ์นายฝรั่งคุมงานเรือขุดแร่ดีบุก เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่เขาเรียกว่า มหา’ลัยเหมืองแร่ มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต
ฉบับหนังสือ: รวมเรื่องสั้นชุด มหาลัย’เหมืองแร่ เขียนโดย อาจินต์ ปัญจพรรค์ สำนักพิมพ์มติชน

Writer: Pakkawat Tanghom

RECOMMENDED CONTENT

30.พฤศจิกายน.2022

ทำเอาแฟนๆฮือฮาสุด สำหรับเพลงใหม่ของ Three Man Down ที่แอบสปอยจนแฟนเพลงลุ้นตัวโก่งว่าศิลปินที่จะมาร่วมแจมในเพลงใหม่คือใครกันแน่ แล้วก็สมการรอคอยจริงๆ เพราะงานนี้เป็นการโคจรจับคู่ฟีเจอริ่งทางดนตรีครั้งแรกกับแร็ปเปอร์มาดเท่อย่าง URBOYTJ