fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

“Airmax Anatomy” เจาะตำนาน 28 ปี ของเทคโนโลยี Nike Air Max
date : 20.มีนาคม.2015 tag :

เรื่องราวที่เอามาให้อ่านกันวันนี้เป็นเรื่องราวของชายผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนวัตกรรมไนกี้ แอร์ (Nike Air) ซึ่งถ้าหากได้อ่านจนจบ มั่นใจว่าสามารถเข้าใจนวัตกรรมนี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง แต่ถ้าใครยังไม่เข้าใจก็ไม่ต้องชำแหละรองเท้ามาดูนะ… เรามีรูปของ Air Max มาให้ดูแบบแยกรุ่น แยกชิ้นส่วนกันไปเลยทีเดียว

หากย้อนกลับไปในปี 1987 อาจกล่าวได้ว่า รองเท้าวิ่งไนกี้แอร์ไม่ได้เป็นสิ่งแปลกใหม่ในสายตาของนักวิ่ง ทั่วโลก เพราะพวกเขายังคงคุ้นเคยกับรองเท้าวิ่งรุ่น “ไนกี้ เทลวินด์” ที่มีคุณสมบัติรองรับกระแทกได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหากไนกี้ แอร์ ถูกมองเป็นเพียงแค่เทคโนโลยีสำหรับนักวิ่งเท่านั้น สิ่งนี้คงมิได้เป็นหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญที่ปฏิวัติวงการรองเท้าของโลกในเวลาต่อมา

null

null

Air Max 1 (1987)

ทิงเกอร์ แฮทฟิลด์ (Tinker Hatfield) ปรมาจารย์ด้านการออกแบบของไนกี้ได้พยายามพัฒนานวัตกรรมไนกี้ แอร์ ก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งและให้กลายเป็นนวัตกรรมที่น่าจดจำของโลก ก่อนที่เทคโนโลยีแอร์แม็กซ์จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่พลิกโฉมวงการรองเท้ากีฬาของโลกในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ดี เรื่องราวของเทคโนโลยีถุงบรรจุอากาศ หรือ Visible air ไม่ได้มีจุดกำเนิดมาจากงานออกแบบของแฮทฟิลด์ แต่เพียงผู้เดียว แต่จุดเริ่มต้นของแนวคิดนี้มาจากเดวิด ฟอร์แลนด์ (David Forland) ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมระบบรองรับแรงกระแทกของไนกี้ ที่ได้เข้ามาร่วมงานกับไนกี้ในปี 1985 ซึ่งเขาถือเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม Visible Air มากที่สุดในโลก เขาไม่ได้เป็นเพียงผู้ที่ใช้เวลากว่า 30 ปี เพื่อผลักดันและพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นคนแรกที่ออกมายอมรับว่าการพัฒนาเทคโนโลยีแอร์แม็กซ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

null

null

Air Max 90 (1990)

ช่วงแรกของการพัฒนาเทคโนโลยี Visible Air ฟอร์แลนด์ต้องเผชิญกับคำถามมากมาย  โดยเฉพาะคำถามที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากถุงลมหมุนตัวขณะคนกำลังสวมใส่รองเท้า ฟอร์แลนด์จึงได้คิดค้นและเป็นผู้ลงมือเย็บต้นแบบของถุงลมด้วยตนเองโดยให้แนวด้ายอยู่ด้านบนและด้านหลังของถุงลม แทนที่จะด้ายทั้งหมดจะอยู่รอบๆถุงลม

“ต้นแบบของถุงลม เกิดขึ้นเมื่อผมได้ไอเดียใหม่ๆ และบอกกับตัวเองว่า ฉันสามารถทำมันได้” ฟอร์แลนด์เล่า

และนั่นคือจุดกำเนิดของต้นแบบรองเท้า Air Max 1 รองเท้ารุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยี Visible Air หลังจากที่ก่อนหน้านั้น ไนกี้ได้นำเสนอเทคโนโลยี Air-Soles โดยใช้ชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กแทนที่จะมีขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันเพื่อสร้างความรู้สึกนุ่มสบายราวกับเดินอยู่บนอากาศ ฟอร์แลนด์ยังได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการออกแบบใหม่ทั้งหมด

null

Air Max 180 (1991)

“หากเราสังเกตรองเท้าแอร์แม็กซ์รุ่นเก่าๆ ที่ผลิตในปี 1987 ถึง 1993 หนึ่งในความแตกต่างที่เห็นได้เด่นชัด คือปริมาณของอากาศที่อัดในส้นรองเท้าที่มีมากขึ้น และมีชั้นโฟมน้อยลง เนื่องจากทีมออกแบบได้คิดว่า โฟมอาจจะแตกหักหรือเสียหายได้ง่ายมากกว่าถุงลมที่มีการอัดอากาศเข้าไป” ฟอร์แลนด์อธิบายเพิ่มเติม

ระหว่างที่ฟอร์แลนด์พยายามค้นหาวิธีเพิ่มปริมาณของอากาศที่อัดในส้นรองเท้า ฟอร์แลนด์มีความคิดว่าการลดชั้นโฟมระหว่างชิ้นส่วน Air-Sole กับพื้นรองเท้าอาจช่วยให้มีพื้นที่สำหรับอัดอากาศมากขึ้น ความคิดดังกล่าวได้นำมาสู่การออกแบบรองเท้า Air Max 180 ซึ่งเป็นรองเท้ารุ่นแรกที่ชิ้นส่วน Air-Sole มีความกว้างถึง 180 องศา อย่างไรก็ตาม การออกแบบรองเท้ารุ่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มีความซับซ้อนมาก จนทำให้รองเท้ารุ่นนี้ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นหนึ่งในรองเท้าของตระกูลแอร์แม็กซ์ที่พัฒนายากที่สุด

null

null

Air Max 93 (1993)

รองเท้า Air Max 1, Air Max 180 และ Air Max 90 ต่างมีชิ้นส่วน Air-Sole อยู่บริเวณด้านหน้าของฝ่าเท้า แต่ชิ้นส่วนนี้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา Air-Sole ได้ถูกผลิตขึ้นด้วยกระบวนการเป่าขึ้นรูป (Blow molding) และกระบวนการนี้ถือเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อไนกี้ ที่ต้องการพัฒนารองเท้าวิ่งที่ไม่ใช้โฟมรับแรงกระแทกเลย โดยกระบวนการผลิตนี้ทำให้นักออกแบบผลิตชิ้นส่วน Air-Sole เป็นรูปทรง 3 มิติ และไม่ต้องคำนึงถึงอากาศที่อัดเข้ามาในชิ้นส่วน ส่งผลให้ Air-Sole มีลักษณะที่โค้งรับตามลักษณะฝ่าเท้าของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง โดยไนกี้ได้ใช้กระบวนการผลิตดังกล่าวเป็นครั้งแรกกับรองเท้ารุ่น Air Max 93 และรองเท้า Air Max 95 ซึ่งถือเป็นรองเท้ารุ่นแรกในตระกูลแอร์แม็กซ์ที่นำเสนอแนวคิด Visible air บริเวณฝ่าเท้า ขณะที่ Air Max 95 ยังใช้ชิ้นส่วน Air-Sole ที่ผลิตจากกระบวนการเป่าขึ้นรูปถึง 2 ชิ้นในรองเท้าแต่ละข้าง เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่มากที่สุด

null

null

Air Max 95 (1995)

null

null

Air Max 97 (1997)

ในปี 1997 ไนกี้ได้สร้างสรรค์ชิ้นส่วน Air-Sole ที่มีความยาวตลอดตัวรองเท้าขึ้น ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างส้นเท้าและฝ่าเท้าเข้าด้วยกัน และนักออกแบบของไนกี้ต้องหาวิธียืดชิ้นส่วนพลาสติกหล่อให้มีความยาวมากพอที่จะคลุมชิ้นส่วนอัดอากาศ และส่วนต่างๆโดยรอบได้ครบทุกส่วน จนกระทั่งสามารถผลิต Air Max 97 หรือรุ่น “รถไฟหัวกระสุน” ได้สำเร็จในเวลาต่อมา

null

null

Air Max Plus (1998)

หลังจากนั้น ไนกี้ได้พยายามคิดค้นแนวคิดการนำอากาศมาเป็นเครื่องมือรองรับแรงกระแทกขณะวิ่งเพิ่มขึ้น หนึ่งในแนวความคิดที่น่าสนใจคือ แนวคิด Tuned Air ซึ่งไนกี้นำมาใช้เป็นครั้งแรกกับรองเท้ารุ่น Air Max Plus ในปี 1998 ทั้งนี้ Tuned Air ถือเป็นหนึ่งจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนา Nike Shox

null

null

Air Max 360 (2006)

ขณะเดียวกันการพัฒนารองเท้าตระกูลแอร์แม็กซ์ที่สำคัญๆ ได้เกิดขึ้นในปี 2006 เมื่อไนกี้นำเสนอรองเท้ารุ่น Air Max 360 ซึ่งรองเท้ารุ่นนี้ถือเป็นรองเท้าวิ่งรุ่นแรกของไนกี้ที่ไม่มีชั้นโฟมเป็นส่วนประกอบเลย โดยแทนที่ด้วยเทคโนโลยี Caged Air ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน และถือเป็นการสร้างสรรค์รองเท้าวิ่งในตระกูลแอร์แม็กซ์ที่ไม่ใช้โฟมเป็นส่วนประกอบเลย

อย่างไรก็ดี การบรรลุเป้าหมายที่ไนกี้ตั้งไว้ ไม่ได้มีจุดสิ้นสุด แต่ไนกี้ก็ยังคงมุ่งค้นหาหนทางพัฒนารองเท้าตระกูลนี้ไปสู่ระดับที่สูงกว่าต่อไป ซึ่งขณะนี้เป้าหมายใหม่ของฟอร์แลนด์และทีมงาน คือการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับรองเท้า ด้วยโครงสร้างแบบท่อ (Tubular construction) และการเสริมรอยบากบริเวณชิ้นส่วน Air-Sole ในรองเท้าแอร์แม็กซ์รุ่นปี 2015 รองเท้ารุ่นนี้จึงได้กลายเป็นรองเท้าแอร์แม็กซ์ที่มีคามยืดหยุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีการผลิตมา

null

null

Air Max 2015 (2015)

หลังจากคิดค้นสิ่งต่างๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน ฟอร์แลนด์ตระหนักเป็นอย่างดีว่าการคิดค้นหรือนำเสนอนวัตกรรมใหม่นั้นมาพร้อมกับความเสี่ยงอย่างมาก

“ผมจำได้ว่าเราทำงานอย่างหนักมากเพื่อพัฒนาต้นแบบชิ้นส่วน Air-Sole ด้วยกระบวนการเป่าขึ้นรูปชิ้นแรก แต่ตอนนั้นเราไม่อาจทราบได้เลยว่าผู้ใช้งานจะชื่นชอบแนวคิดนี้หรือไม่ ซึ่งผมจำได้ดีว่าผมอยู่ที่สนามบินในช่วงที่รองเท้าแอร์แม็กซ์รุ่นแรกวางจำหน่าย ผมกำลังโทรศัพท์หาช่างเทคนิคคนหนึ่งในห้องวิจัยตอนที่ผมเห็นใครคนหนึ่งใส่รองเท้าแอร์แม็กซ์ ผมจ้องเขาไม่คลาดสายตาจากในตู้โทรศัพท์และพูดว่า ‘มีคนซื้อมันแล้ว ผมเห็นเขาใส่มันกับตาผมเลย’ หากเราเสี่ยงมาก ผลลัพธ์ที่เราจะได้ย่อมมากตามไปด้วย และนี่คือหัวใจในการสร้างสรรค์รองเท้าตระกูลแอร์แม็กซ์ตลอดมา” เดวิด ฟอร์แลนด์ กล่าวทิ้งท้าย

Nike Thailand
Website : http://www.nike.com/th/th_th/

RECOMMENDED CONTENT

24.มกราคม.2022

เป็นโจทย์ที่เรียกได้ว่าท้าทายสำหรับวงการเอเจนซีโฆษณาเลยทีเดียว เมื่อผู้นำดิจิทัลไลฟ์สไตล์และลอยัลตี้แพลตฟอร์ม ภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล “The 1 (เดอะ วัน)” ต้องการสื่อสารไปยังสมาชิกบัตร The 1 กว่า 19 ล้านคน เพื่อย้ำเตือนสิทธิ์ที่สมาชิกทุกคนพึงได้รับบนแอปพลิเคชั่น The 1 ผ่านผลงานโฆษณาชิ้นแรกครั้งแรกในรอบปี