fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

ผลงานภาพถ่ายชุด “No Seconds” อาหารมื้อก่อนตายของนักโทษประหาร
date : 26.กุมภาพันธ์.2014 tag :

มื้อเย็นนี้รู้รึยังว่าอยากกินอะไร? ถ้าคิดไม่ออก… ภาพถ่ายชุดนี้หลายคนอาจจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว ผลงานที่ชื่อว่า “No Seconds” ของช่างภาพหนุ่มชาวอเมริกัน “Henry Hargreaves” เป็นการจับเอามื้ออาหารสุดท้ายของนักโทษประหาร ที่ตามธรรมเนียมจะได้รับสิทธิพิเศษสามารถสั่ง List อาหารที่อยากกินมื้อสุดท้าย จะเป็นอะไรก็ได้ (งบประมาณตามที่แต่ละคุกจะจัดให้) นำมาถ่ายทอดแบบสวยงามให้เราดูกัน

เริ่มแรกช่างภาพรายนี้ก็ไปทำการค้นหารายชื่ออาหารของพวกฆาตรกรโหด ฆาตกรฆ่าต่อเนื่อง คดีเคสใหญ่ๆของอเมริกันมา แล้วมาทำการจัดวางมื้ออาหาร จากนั้นนำมาผ่านขั้นตอนการสไตล์ลิสต์ ตกแต่ง จัดวาง เลือกใช้สีที่เหมาะสม ตามแต่ละคาแรคเตอร์ของเมนู บางอย่างเห็นแล้วก็อดนึกภาพตามเจ้าของมื้อไม่ได้ (Search ชื่อไล่ดูใน Google) ยกตัวอย่างเช่นหนุ่มหน้านิ่ง Ted Bundy ที่เป็นฆาตกรโรคจิตชื่อต้นๆของอเมริกา ไล่ฆ่าและข่มขื่นผู้หญิงไปทั่ว เขาไม่ขอกินอะไรเป็นพิเศษ ทางคุกเลยจัดอาหารมาตรฐานให้เป็นชุดสเต็ก หรือจะเป็นฆาตกรตัวอ้วน ที่สั่งไก่ทอดมาเยอะแยะ เพราะครั้งนึงเคยทำงานเป็นผู้จัดการร้าน บางรายก็ขอกุ้งมังกรมาพร้อมดู The Lord of the Rings ก็มี ที่ดูแล้วน่ากลัวเลยคือรายที่ขอแค่ลูกมะกอกแบบมีเม็ดอยู่ข้างในเม็ดเดียว เรียกว่าเป็นมื้อสุดท้ายที่ Minimal มากๆ

ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนงานชุดนี้ก็ยังคงมี Impact ต่อคนที่ดูครั้งแรกเสมอ ถือเป็นภาพถ่ายไอเดียง่ายๆ ที่ต้องยกผลประโยชน์ให้กับช่างภาพเรื่องของการหยิบเอามานำเสนอจริงๆ (เวปไซต์ของเขา http://henryhargreaves.com/) นอกจากจะได้เห็นความต้องการก่อนตายของนักโทษประหารแล้ว ก็น่าคิดเหมือนกัน ว่าถ้ามื้อที่กินเป็นมือสุดท้ายของชีวิต เราจะอยากกินอะไร นี่เองก็ใกล้มื้อเย็นแล้วด้วย มีชีวิตนอกคุกแบบนี้ดีแค่ไหนแล้วที่หากินเองได้อย่างอิสระ ยังไงผู้เขียนเองขอให้คนอ่านทุกคนมีความสุขกับอาหารทุกๆมื้อนะ

Credit: Boredpanda 

RECOMMENDED CONTENT

17.มกราคม.2020

“People on Sunday” (2562) เป็นการตีความ บทสนทนาโต้ตอบ และสาส์นแสดงความนับถือต่อภาพยนตร์บุกเบิกจากประเทศเยอรมันเรื่อง “Menshen Am Sonntag” (2473) หรือ “ผู้คนในวันอาทิตย์” ผลงาน “People on Sunday” (2562) ได้นำภาพยนตร์ต้นฉบับดังกล่าวกลับมาตีความใหม่ผ่านบริบทที่แตกต่างจากเดิม ทั้งยุคสมัย ภูมิประเทศ ตลอดจนสภาพในการทำงาน