Opening: DIN CLAY TON Exhibition
“สองวัฒนธรรม – หนึ่งปรัชญางานฝีมือล้วนๆ”
ในเดือนมีนาคม 2562 สเตฟานี แฮริง ศิลปินนักปั้นเซรามิคชาวเบอร์ลิน และวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินนักปั้นและช่างภาพชาวราชบุรี จะร่วมกันนำเสนอสุนทรียสนทนาระหว่างวัฒนธรรม โดยการริเริ่มของสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย คำถามสำคัญของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์: วิธีใดที่จะสามารถรักษามูลค่าของงานฝีมือแบบดั้งเดิมในประเทศไทยและเยอรมนีก่อนที่จะสูญเสียและแปลงเข้าสู่ยุคสมัยใหม่
ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 30 มีนาคม นิทรรศการ DIN CLAY TON ผลงานอันน่าประทับใจจากการแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ จะถูกจัดขึ้นที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สเตฟานี แฮริงใช้เวลาคิดแบบและพัฒนางานออกแบบคอลเลคชั่นศิลปะเซรามิคที่งดงามตระการตาชุดนี้มานานหลายเดือน กระทั่งได้มาที่โรงงานเซรามิคของวศินบุรี สุพานิชย์วรภาชน์ ที่จังหวัดราชบุรี ได้พบเห็นกระบวนการผลิตซึ่งยังคงใช้เทคนิคขนานแท้ เหมาะกับการผลิต งานของเธอซึ่งเป็นเซรามิคที่มีขนาดสูงใหญ่ ทำให้งานชุดนี้สำเร็จลุล่วงได้
ส่วนวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์เองนั้นก็ได้ทำงานจับภาพกระบวนการงานสร้างเซรามิคเลิศฝีมือของเธอ ที่โรงงานในไทย และยังได้เดินทางไปถ่ายทำสารคดีในโรงงานเซรามิคของสเตฟานีที่เยอรมนี
ซีรี่ส์งานเซรามิคขนาดอลังการความสูงมากถึง 2 เมตรและเอกสารสารคดีที่เป็นภาพถ่ายจะถูกวางแสดงพร้อมกับงานเซรามิกอันน่าประทับใจอีกหลายชิ้น ผลงานของศิลปินดูโอ้จากสองสัญชาติจะจัดแสดงในพื้นที่นิทรรศการ ห้องสตูดิโอชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สถาบันเกอเธ่จัดแสดงนิทรรศการเซรามิค ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าวัฒนธรรมการผลิตของแต่ละชาติ และมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์วิทยาการหรือภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถูกระบบการผลิตภาคอุตสาหกรรมคุกคาม ในขณะเดียวกันก็เป็นการบันทึกแนวทางที่ศิลปินทั้งสอง คิดค้นทดลองและพัฒนาชั้นเชิงศิลปะหรือภาษาของงานศิลป์ขึ้นใหม่ ซึ่งกลายมาเป็นแนวคิดในการต่อยอดสร้างสรรค์งานศิลปะของตนอย่างเกินความคาดหมาย
เข้าชมฟรี
______________________________________________
Atit Sornsongkram / Passing a window, I glanced Into It.
Passing a window, I glanced Into It. นิทรรศการภาพถ่ายศิลปะโดย อธิษว์ ศรสงคราม ค้นหาความเป็นไปได้ของสื่อภาพถ่าย ว่าสามารถที่จะก้าวข้ามความเป็นระนาบสองมิติได้อย่างไรบ้างภายใต้กรอบกติกาของมัน
อธิษว์สนใจในความเป็นภาพ การเกิดของภาพ และการสร้างภาพที่เป็นตัวแทนภาพในความคิด เขาตั้งคำถามกับสถานะของภาพถ่ายว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และมีหน้าที่ใดบ้าง โดยมีการรับรู้ของผู้ชมเป็นส่วนเติมเต็มผลงานของเขา
ในปัจจุบันที่คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงการถ่ายภาพได้ในชั่วครู่ อธิษว์กลับทำงานศิลปะอย่างเชื่องช้าและระมัดระวัง ในการผลิตงานเบื้องหน้ากล้อง อธิษว์ได้ใช้เวลาคัดสรรวัตถุดิบและจัดฉากด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกับประติมากร แล้วจึงใช้กระบวนการดิจิตอลเพื่อพยายามให้ภาพถ่ายเข้าถึงสถานะอุดมคติมากที่สุดและเป็นเพียงตัวมันเองอย่างบริสุทธิ์ สำหรับศิลปินแล้ว ผลงานของเขาเปรียบเทียบได้กับการเป็นบทกวีรูปแบบหนึ่งที่ดูสะอาด เรียบง่าย แต่ต้องอาศัยประสาทการรับรู้และใช้เวลาพินิจเพื่อเข้าถึงมันอย่างแท้จริง
เขาเชื่อว่าสื่อของภาพถ่ายสามารถชักนำผู้ชมเข้าไปสู่พื้นที่ในภาพได้ เสมือนว่าภาพถ่ายมีโลกในตัวมันเอง แต่ในความเป็นจริง ภาพถ่ายนั้นเป็นเพียงกระดาษแผ่นหนึ่งที่ถูกผู้ผลิตภาพกำหนดมุมมองให้กับมัน
นิทรรศการ Passing a window, I glanced into It. ในครั้งนี้ก็เช่นกัน อธิษว์ตั้งคำถามกับ ‘ภาพของภาพ’ อีกครั้ง แต่เป็นการย้อนกลับไปสู่การเกิดของภาพที่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติที่สุด นั่นคือ ภาพสะท้อน ซึ่งในยุคดึกดำบรรพ์คงจะเกิดขึ้นบนพื้นผิวของของเหลวด้วยกลไกของแสงเท่านั้น สำหรับผลงานชุดนี้ ศิลปินเลือก ‘กระจก’ เป็นองค์ประกอบหลัก ในฐานะของวัตถุที่สามารถสร้างภาพให้ปรากฏขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง แล้วจึงตามมาด้วยการทดลองจัดการของศิลปินเพื่อสร้างภาพที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อตั้งคำถามถึงระนาบและมิติความลึกในระยะ ผิว-ภาพ-ในภาพ ที่ภาพถ่ายสองมิติพึงจะทำให้ปรากฏขึ้นได้
Passing a window I glanced Into It.
By Atit Sornsongkram
Venue: Gallery VER
From 9th March – 11th May 2019
*** opening reception: 9 March 2019 from 6 pm onwards ***
______________________________________________
โดย Andreas Weigend ผู้เชี่ยวชาญด้าน DATA ที่ได้ร่วมงานกับบุคคลสำคัญมาแล้วมากมาย ปัจจุบันนอกจากคอยให้คำปรึกษากับธุรกิจหลายแห่ง และยังเป็นวิทยากรให้กับสถาบันชั้นนำระดับโลกด้วย ซึ่งระหว่างที่เดินทางมาที่ประเทศไทยก็ได้รับเชิญไปบรรยายที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย และยังเป็นเจ้าของผลงานการเขียนที่ขายดีไปทั่วโลกอย่าง ‘DATA FOR THE PEOPLE’ ที่ได้รับการตีพิมพ์มาแล้วหลายภาษาทั้งอังกฤษ จีน เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลี และฉบับภาษาไทยในชื่อ ‘DATA FOR THE PEOPLE รู้อะไรไม่สู้ รู้ดาต้า’
ภายในงานจะได้พูดคุยบอกเล่าประสบการณ์การได้ร่วมงานกับบุคคลสำคัญระดับโลกอย่าง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมนี, Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com ธุรกิจ E-commerce ระดับโลก และ Jack Ma ผู้ก่อตั้ง ALIBABA อาณาจักร E-commerce มูลค่ามหาศาล
ดำเนินรายการโดย นภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ สื่อมวลชนผู้มุ่งความสนใจไปที่ข่าวสารข้อมูล บรรณาธิการข่าวออนไลน์ สำนักข่าว เวิร์กพอยท์นิวส์
พบกันได้ในวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2562 เวลา 13.00-16.00 น. B2S CENTRAL WORLD (เริ่มลงทะเบียน 12.30 น. ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม)
______________________________________________
“Little Wild” นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ สะท้อนความงามของสัตว์ป่าและธรรมชาติของประเทศเคนย่า ทวีปแอฟริกา ผ่านมุมมองของพระองค์หญิงฯ
ก่อนเริ่มทำแฟชั่นโชว์ทุกคอลเลกชั่น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ จะเสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อทรงเรียนรู้ประสบการณ์แปลกใหม่และแรงบันดาลพระทัยและครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ที่ทรงได้ถ่ายภาพอย่างจริงจัง ทรงโปรดภาพถ่ายแนว National Geo-graphic และทรงเลือกใช้กล้อง Leica เพื่อเก็บภาพที่ทรงโปรดและเป็นแรงบันดาลพระทัย ณ ประเทศเคนย่า ทวีปแอฟริกา ทริปนี้เป็นการเดินทางที่ผจญภัยมากที่สุดครั้งหนึ่งเพราะตลอดระยะเวลา 5 วัน ในช่วงเดือนพฤษภาคมนั้นเต็มไปด้วยความชื้นจากฝน ต้องประทับรถ Jeep ทรงขึ้นบอลลูนทั้งถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว .และและสเก็ตช์ภาพด้วยพระหัตถ์ตลอดการเดินทาง กล้องคู่พระทัยผ่านความสมบุกสมบันมากมาย ทั้งฝุ่น และความชื้น ในเวลากลางคืนจะบรรทมในเต็นท์ที่ประทับไร้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์พร้อมกับเสียงฮิปโปร้องเซ็งแซ่อยู่ไม่ไกล
ในทริปนี้พระองค์หญิงเน้นความเป็นธรรมชาติที่ได้รับรอบพระองค์ ทั้งแสงแดดที่กระทบกับทุ่งอันเวิ้งว้างรวมไปถึงการเคลื่อนไหวของเหล่าสัตว์ป่า อย่างเสือทรงพลังและยีราฟพันธุ์พิเศษรวมไปถึงวิถีชีวิตของชนเผ่ามาไซที่พระองค์หญิงได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิด
“ท่านหญิงจะเน้นถ่าย feeling of the moment เพราะเราอยากที่จะเก็บความเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด”
หลังจากเสด็จฯ ประเทศเคนย่ากล้อง Leica ก็ถูกเลือกใช้ถ่ายทอดความงามของธรรมชาติผ่านมุมมองของพระองค์หญิงมาโดยตลอด “เราใช้ชีวิตอยู่แต่ในเมือง ภาพถ่ายส่วนใหญ่ก็มักจะเกี่ยวข้องกับแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ไม่ได้มีโอกาสได้เห็นธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่งได้บ่อยนัก ฉะนั้นทุกครั้งที่มีโอกาส เราก็อยากจะเก็บทุกรายละเอียดแห่งความทรงจำไว้ให้มากที่สุด”
ร่วมชื่นชมพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านการถ่ายภาพของ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ได้ในนิทรรศการ “Little Wild” โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 มีนาคม – 28 เมษายน 2562 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ไลก้า แกลเลอรี่ แบงค็อก ชั้น 2 ศูนย์การค้าเกษร วิลเลจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.02-656-1102
RECOMMENDED CONTENT
‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย