Strawberry Fields…Funky Graffiti and Graphic Works by Yuree Kensaku, May-T, Rukkit and P7
เรียนท่านผู้มีเกียรติ,
ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการศิลปะ Strawberry Field (สตรอเบอร์รี่ฟิลด์) งานกราฟฟิตี้และกราฟฟิค สไตล์ฟังกี้ โดยยุรี เกนสาคู ,May-T(เม-ที) รักกิจและ P7(พี เซเว่น)
ในวันวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม เวลา 6 โมงเย็นเป็นต้นไป
Strawberry Field (สตรอเบอร์รี่ฟิลด์)
ในโลกอันซิวิไลซ์ ที่เต็มไปด้วยความเป็นไปได้อันหลากหลาย เราให้คุณค่ากับธรรมชาติเป็นอย่างแรกใช่หรือไม่ แรงบันดาลใจของนิทรรศการ Strawberry Field (สตรอเบอร์รี่ฟิลด์) มาจากบทเพลงในตำนานสตรอเบอรรี่ ฟิลด์ ฟอรเอเวอร์(Strawberry Field Forever)ของเดอะบีเทิล ซึ่งเพลงนี้มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ สังคม วิถีคนเมือง และอื่นๆ เพลงนี้ออกมาในช่วงท้ายของยุค 60มาจากความทรงจำของเลนนอน ในวัยเด็กที่กำลังวิ่งเล่นในสวนใกล้บ้าน ที่มีชื่อว่าสตรอเบอร์รี่ฟิลด์
นิทรรศการนี้ใช้ชื่อว่า”สตรอเบอร์รี่ฟิลด์”เช่นกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขอคืนพื้นที่สีเขียว ในกรุงเทพฯ โดยการจัดแสดงงานกราฟฟิคและกราฟฟิตี้บนผนังของแกลอรี่ นิทรรศการ”สตรอเบอร์รี่ฟิลด์” ได้สร้างสวนในจินตนาการที่ขยายขอบเขตไปไกลกว่า พื้นที่สีเขียวรอบๆเอเอมเอแกลอรี่ สิ่งของเก่าๆถูกนำมาทำเป็นกราฟฟิคคอลลาจ ประติมากรรม เปลี่ยนพื้นที่แกลอรี่ให้เป็นมากว่าสถานที่แสดงงานศิลปะ ผืนผ้าใบและกราฟฟิตี้ ขยายความเป็นไปได้ของพื้นที่ให้กลายเป็นสวนที่น่าอัศจรรย์ซึ่งกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ
นิทรรศการนี้คิวเรทโดยภัณฑารักษ์ชื่อ ลอดาน่า พาซซินี พาราเซียนี สตรอเบอร์รี่ฟิลด์ ประกอบด้วยงานของ 4 ศิลปินกราฟฟิตี้รุ่นใหม่ที่เป็นที่รู้จักดี “ยุรี เกนสาคู”ศิลปินวิจตรศิลป์ที่ประสบบความสำเร็จและทำงานในฐานะศิลปินกราฟฟิตี้ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสังคม ,”May-T (เม-ที)” มีชื่อเสียงในฐานะมือกีต้าร์ นักแต่งเพลงและนักเขียนเพลง ล่าสุดเขาทำงานกราฟฟิคและงานกราฟฟิตี้ ,”รักกิจ”ศิลปินผู้ทำงานด้วยสื่อหลากหลายสาขา สตรีทอาร์ต กราฟฟิตี้ สติกเกอร์ กราฟฟิคดีไซน์ และ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ และ “P7” ศิลปินผู้มีส่วนร่วมในงานสรีทอาร์ตและเทศกาลศิลปะอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งจัดนิทรรศการเดี่ยวและศิลปะกลางแจ้ง (วิน นิมมานวรวุฒิ แปล)
19 กรกฏาคม,
กรุงเทพฯ 2013
ประวัติภัณฑารักษ์
ลอดาน่า พาซซินี พาราเซียนี ทำงานเป็นภัณฑารักษ์อิสระด้านศิลปะ และอาจารย์พิเศษที่ ลาซาล คอลเลจ ออฟ อาร์ต ล่าสุดเธอทำงานที่ประเทศสิงคโปร์เป็นหลักและมุ่งเน้นที่ศิลปินวัยรุ่นและศิลปินที่เริ่มมีชื่อเสียงจากไทยและสิงคโปร์ รวมทั้งทำงานวิจัยที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับงานศิลปะไทยร่วมสมัย
ประวัติแกลอรี่
อาเอมเอ อินสติติว เป็นพื้นที่สำหรับ ผู้ทำงานสร้างสรรค์และ งานศิลปะ โดยไม่แสวงหาผลกำไร รวมทั้งเป็นพื้นที่สำหรับนำเสนอความคิดของศิลปิน และแสดงผลงานการสร้างสรรค์ พื้นที่เวิรคชอป ให้คำปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ เอเอมเอ สามารถอ่านออกเสียงว่า อาม่า หมายถึง คุณย่า สำหรับคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นชื่อที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากสถานที่แห่งนี้เคยเป็นบ้านอาม่าของผู้ก่อตั้งพื้นที่สนับสนุนศิลปะแห่งนี้
อา-ม่า หรือ อาร์ เอม เอ อินสติทูท (RMA institute)
238 ซอยสายน้ำทิพย์ 2 ถนนสุขุมวิท 22
เปิดทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์
เวลา 9.30 น. – 19.00 น.
โทร +662 663 0809
info@rmainstitute.net