มนุษย์เริ่มต้นดื่มชามายาวนาน จากต้นกำเนิดที่เมืองจีนที่ดื่มชาเพื่อการรักษาโรค ในขณะที่อินเดียและศรีลังการซึ่งเป็นแหล่งปลูกชาที่ใหญ่ที่สุดในโลกดื่มชากินแกล้มกับขนมในยามบ่าย อิทธิพลนี้ไม่ได้มาจากเมืองจีน หากแต่เป็นวัฒนธรรมที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาโดยเหล่าสังคมชั้นสูงซึ่งเดินทางมาพร้อมกับเหล่าประเทศนักล่าอาณานิคมนั่นเอง ส่วนไทยเราเริ่มต้นดื่มชาด้วยอิทธิพลจากชาวจีนเสื่อผืนหมอนใบที่เข้ามาทำมาหากิน ร้านน้ำชาทั้งยามเช้าและยามบ่ายก่อเกิดทุกหัวถนน และกลายมาเป็นวัฒนธรรมแบบ ‘ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ’ ด้วยน้ำชาร้อนๆ กลิ่นหอมกรุ่นแทนสัญลักษณ์ของการอวยพรให้สุขภาพดี ดูเหมือนว่าคุณค่าทางวัฒนธรรมของชามีนานัปการ แล้วคุณค่าทางสุขภาพล่ะ ชามีมากแค่ไหนกัน?
ชิมชาฉบับเริ่มต้น
ชาชนิดต่างๆ แบ่งออกตามกระบวนการแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว ใบของต้นชาจะถูกทิ้งให้สลด(ทิ้งไว้ให้เหี่ยว) และบ่มโดยทำให้เอนไซม์ในใบชาเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศจนทำให้ใบชามีสีที่เข้มขึ้น รสฝาดของชาเกิดจากคลอโรฟิลล์ที่แตกตัวกลายเป็นสารเทนนิน ต่อจากนั้นต้องหยุดการทำงานของเอนไซม์โดยใช้ความร้อน ซึ่งต้องควบคุมและระมัดระวังเรื่องความชื้นและอุณหภูมิระหว่างกระบวนการผลิต ไม่อย่างนั้นใบชาอาจขึ้นรา ทำให้เสียรสชาติ และสร้างสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้เหล่านี้คือชาที่เราพบเห็นกันได้ทั่วไป สรรพคุณของชาแต่ละชนิดแตกต่างกัน เลือกชาให้ถูกชนิดและรสชาติที่ถูกปาก เพื่อคุณค่าและประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง
[blockquote style=”style 2″]1. Genmai (ชาข้าวคั่ว) – กลิ่นและรสชาติคล้ายกับป๊อปคอร์น เหมาะสำหรับจิบยามบ่ายเพื่อช่วยให้ร่างการกระปรี้กระเปร่าขึ้น[/blockquote]
[blockquote style=”style 2″]2. Sur Le Nil (ชาดอกคาร์โมไมล์) – กลิ่นหอม รสชาติเปรี้ยวนิดๆ เหมาะสำหรับจิบก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย และยังช่วยให้ระบบหมุนเวียดโลหิตสมดุลอีกด้วย[/blockquote]
[blockquote style=”style 2″]3. High Mountain Oolong (ชาอู่หลงจีน) – ปลูกมาในแถบภาคเหนือของไทย ช่วยคลายเครียดและผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการทำการ กลิ่นหอมดิน รสชาติฝาดน้อย[/blockquote]
[blockquote style=”style 2″]4. Wood Dragon Oolong (ชาอู่หลงราชวงศ์ไต้หวัน) – เป็นพันธุ์หายาก ในไทยปลูกที่ดอยวาวี จังหวัดเชียงรายเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเลิกดื่มกาแฟ ชาชนิดนี้มีคาเฟอีนน้อยกว่าชาอู่หลงชนิดอื่น[/blockquote]
[blockquote style=”style 2″]5. Honey Phoenix Oolong (ชาอู่หลงจีนชนิดเข้มข้น) – ปลูกกันทางตอนใต้ของจีนติดกับเวียดนามและลาว มีรสชาติหอมหวานเมื่อเริ่มจิบ แต่จะขมเฝื่อนติดลิ้นเมื่อกลืนลงคอ เหมาะสำหรับคลายหนาว คนที่ติดกาแฟจะนิยมดื่มชาประเภทนี้ เพราะรสชาติและกลิ่นจะคล้ายคลึงกันกับกาแฟโรบัสต้า[/blockquote]
[blockquote style=”style 2″]6. Vanilla Rooibos (ชาวานิลลา) – เป็นชาชนิดที่ไม่มีคาเฟอีน มีรสชาติหอมหวาน จากกลิ่นวานิลลา ผสมกับแอปเปิ้ล และลูกพีช คนอังกฤษนิยมจิบน้ำชาชนิดนี้ในยามบ่ายแกล้มกับขนมหวาน[/blockquote]
[blockquote style=”style 2″]7. Cassis (ชาแดง) – เหมาะสำหรับจิบแก้หนาวในยามเช้า รสหวานขมทำให้กระปรี้กระเปร่า[/blockquote]
[blockquote style=”style 2″]8. Pu-erh Tuocha (ชาดำ) – รสชาติเหมือนกาแฟ มีคาเฟอีนสูง และมีรสขมเข้ม มาในลักษณะก้อนชา เมื่อชงในน้ำร้อนก้อนชาจะแตกตัวออก[/blockquote]
[blockquote style=”style 2″]9. Sencha (ชาเขียว) – เป็นชาที่นิยมมากที่สุด นิยมทานกับของว่างและอาหารญี่ปุ่น เช่น ซูชิ รสชาติหวานหอม[/blockquote]
ดูเหมือนชาจะอุดมไปด้วยประโยชน์ แต่หากบริโภคในปริมาณที่มากจนเกินไป ก็ก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน เช่นอาการท้องผูก นอนไม่หลับ ที่สำคัญ ผู้ที่ควรงดเว้นการดื่มชา คือผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ การดื่มชาจะทำให้เพิ่มอาการกระสับกระส่าย ใจเต้นเร็ว และมือสั่นมากกว่าเดิม หญิงมีครรภ์ไม่ควรดื่มชาเพราะจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ และผู้ป่วยโรคหัวใจก็ควรงดเว้นการดื่มชาเพราะทำให้การเต้นของหัวใจไม่เป็นปกติ
สเน่ห์ของเครื่องดื่มสหประชาชาติอย่างชาอาจไม่ได้อยู่ที่คุณค่าทางสุขภาพ และเรื่องราวทางวัฒนธรรมเพียงเท่านั้น เราดื่มชาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป เพื่อดับกระหาย เพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้า เพื่อร่างกายที่ดี หรือแม้แต่เพื่อตามกระแสสังคม แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ชากลายเป็นเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันของเราไปอย่างแยกออกจากกันไม่ได้เสียแล้ว
RECOMMENDED CONTENT
เบื้อหลัง The Fast and the Furious: Tokyo Drift ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2006 กำกับโดย Justin Lin เป็นหนึ่งภาคที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำรายได้ถึง 5,300 ล้านบาท