คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการระยะที่ 2 เพื่อลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ให้แก่ประชาชนที่เป็นแรงงานนอกระบบประกันสังคม ทั้งแรงงานลูกจ้างลูกจ้างชั่วคราวและอาชีพอิสระโดยชุดแรกเป็นมาตรการเพิ่มสภาพคล่อง
ข้อที่ 1 : แจกเงินสนับสนุน 5,000 / เดือน เป็นเวลา 3 เดือน
จะสนับสนุนเงินเลี้ยงชีพเดือนละ 5 พันบาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยืดเยื้อเกินกว่านั้นก็ยังสามารถต่อเวลาออกไปได้อีก
ข้อที่ 2 : สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาท ดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน (ไม่ต้องมีค้ำประกัน)
มาตรการสินเชื่อฉุกเฉินวงเงิน 4 หมื่นล้านบาทเสริมสภาพคล่องเพื่อป้องกันไม่ให้ไปเป็นลูกหนี้นอกระบบ โดยธนาคารของรัฐ ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรุงไทย เป็นหลักในการให้สินเชื่อ 1 หมื่นบาท/ราย อัตราดอกเบี้ยต่ำ 0.1% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน
ข้อที่ 3 : สินเชื่อฉุกเฉิน 50,000 บาท อกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน (ต้องมีการค้ำประกัน)
สินเชื่อพิเศษ วงเงินรวม 2 หมื่นล้านบาท โดยจะให้สินเชื่อมีหลักประกัน 5 หมื่นบาท/ราย อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน
ข้อที่ 4 : ดอกเบี้ยโรงรับจำนำต่ำ 0.125% ต่อเดือน
สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2 พันล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยกับประชาชนไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน
ข้อที่ 5 : พร้อมกันนั้นจะลดภาระให้กับแรงงานด้วยการยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งการยื่นแบบและชำระภาษีออกไปเป็นเดือน ส.ค.63
ข้อที่ 6 : ให้หักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น จาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท
ข้อที่ 7 : ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์
ข้อที่ 8 : เข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อการประกอบอาชีพ จากทางรัฐฟรี
สามารถไปลงทะเบียนกรอกแบบฟอร์มได้ที่
www.เราไม่ทิ้งกัน.com
สิ่งที่ต้องมี
- เลขบัตรประชาชน
- ข้อมูลหรือเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบ
- ข้อมูลการจ้างงาน
- เลขพร้อมเพย์หรือเลขบัตรที่ผูกกับบัญชี
RECOMMENDED CONTENT
Netflix ประกาศวันสตรีม “Bangkok Breaking มหานครเมืองลวง” ซีรีส์สัญชาติไทยเรื่องล่าสุด ที่จะพาผู้ชมไปเสาะหาความจริงกับภารกิจมืดภายใต้เงาของคนดีในเมืองหลวง ที่คุณไม่มีวันรู้ ถ้าไม่ได้ก้าวเข้ามาสัมผัสด้วยตัวเอง