fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

“The Bangkok Department presented by Nike On Air” ฉลองวันแอร์แม็กซ์เดย์ 2019 โชว์คอนเซ็ปต์ Just Go Bigger ไปให้สุดและไกลกว่าเดิม
date : 3.เมษายน.2019 tag :

Nike ชวนสาวกแอร์แม็กซ์ร่วมฉลองวันแอร์แม็กซ์เดย์ 2019 กับงาน “The Bangkok Department presented by Nike On Air” ตอกย้ำความเป็นที่สุดด้วยคอนเซ็ปต์ Just Go Bigger ไปให้สุดและไกลกว่าเดิม

ในปีนี้ Nike ยังคงตอกย้ำความยิ่งใหญ่ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองวันแอร์แม็กซ์เดย์ 2019 ภายใต้ชื่องาน“The Bangkok Department presented by Nike On Air” ซึ่งนอกจากการนำเสนอ Nike Air Max 720 รองเท้าไลฟ์สไตล์ที่มีนวัตกรรมแอร์อยู่ในรองเท้าสูงที่สุดและช่วยเรื่องการสปริงตัว รองเท้ารุ่นนี้ยังได้รับการออกแบบโดยนำสีสันอันมหัศจรรย์ของธรรมชาติมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของเส้นสายและสีสันของรองเท้า Nike Air Max 720 รุ่นนี้ มาร่วมโชว์ภายในงานแล้ว ยังได้เชิญชวนเหล่าสาวกแอร์แม็กซ์ร่วมต่อยอดแรงบันดาลใจอย่างเต็มเปี่ยมกับประสบการณ์เวิร์กชอปของบรรดา 4 ศิลปินจาก Nike ที่เชี่ยวชาญการออกแบบ

เชิงสร้างสรรค์ที่มีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น Color Design Workshop โดย “ซัน Smileclub” เมธัส เทพนวล นักออกแบบทรงผมชื่อดังของ SMILE CLUB HAIR DINER ผู้ที่มีความคิดสดใหม่และไม่มีใครเหมือน อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านการย้อมผมที่มีสีสันแปลกใหม่ โดยในครั้งนี้เขาได้นำเสนอเทคนิคการจับคู่สีสันให้เหมาะสมและมีมิติลงบนถุงเท้าไนกี้ ให้ผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปได้กลับบ้านไปพร้อมถุงเท้าคู่โปรดคู่ใหม่อันเป็นสีสันที่คุณเลือกเองได้ Materials Exploration Workshop โดย เบสท์” ปฏิพัทธ์ ชัยภักดี ผู้อำนวยการด้านความคิดสร้างสรรค์ของแบรนด์ Dry Clean Only แบรนด์ที่พลิกโฉมเสื้อยืดตัวเก่าให้เป็นกลายเป็นชิ้นงานสุดล้ำค่าในครั้งนี้เขาจะมาระเบิดจินตนาการงานอาร์ตผ่านการจับคู่วัสดุหลากหลายชนิด โดยมีแจ็คเก็ตยีนส์เป็นเสมือนผืนผ้าใบสำหรับการระบายความคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Nike Air Max 720

 Typography Workshop โดย สปัญญ์ อินทวงษ์นักวาดภาพประกอบและนักออกแบบตัวอักษรอิสระแถวหน้า ที่มาปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ผ่านเรื่องราวของตัวอักษรให้ผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปได้สะท้อนตัวตนผ่านการออกแบบตัวอักษรด้วยเทคนิคพิเศษที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน โดยใช้กระบวนการทอผ้าแบบไทยโบราณมาสร้างอักษรในแบบของตัวเอง และ Industrial Design Workshop โดย “เตย” ณัชชา เมฆรักษาวนิช เจ้าของแบรนด์กระเป๋าสุดเก๋ Nasha Bag ที่มาถ่ายทอดเคล็ดลับการเลือกใช้วัสดุหนังแต่ละชนิดโดยดีไซน์ผ่านว่าวจุฬาที่สื่อถึงนิยามของอากาศและแนวคิดจากแอร์แม็กซ์ให้มีความเปรี้ยวแบบไม่ซ้ำใคร

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้รับประสบการณ์จากการร่วมพูดคุยกับ “ฮิโระฟูมิ โคจิมะ” ผู้อำนวยการฝ่ายครีเอทีฟจาก Atmos ที่เคยร่วมงานกับไนกี้ในการนำลวดลายซาฟารีมาไว้บนแอร์แม็กซ์ 1พร้อมกับรายละเอียดและดีเทลยิบย่อย แต่ละเอียดอ่อนสไตล์ญี่ปุ่น จนเกิดเป็นรองเท้าที่โด่งดังทำให้เหล่าบรรดาสนีกเกอร์เฮดทั่วโลกได้รู้จัก รวมถึงการร่วมงานกันอีกครั้งภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Craziest Air Max in the World’ ที่คุณฮิโระฟูมิใช้ลวดลายของสัตว์ ทั้งเสือ ช้าง ม้าลาย ม้า และสีของโลโก้ Swoosh ที่ต่างกันมาไว้บนรองเท้า ซึ่งการพูดคุยสุดเอ็กซ์คลูซีฟครั้งนี้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับสาวกแอร์แม็กซ์ได้เป็นอย่างดี

ซึ่งนอกจากการแชร์ประสบการณ์ของคุณฮิโระฟูมิแล้ว ยังมีแขกรับเชิญสุดพิเศษอีก อาทิ “เอก” พิชัย แก้ววิชิต วินมอเตอร์ไซค์และช่างภาพสายสตรีท ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวการขับขี่บนท้องถนนผ่านเลนส์กล้อง ที่กำลังมีนิทรรศการภาพถ่ายของตัวเองอยู่ในขณะนี้ ภายใต้ผลงานชื่อ “Accidentally Professional” และอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญ “เลน พอร์เตอร์” Nike Graphic Designer (ผู้เป็นเจ้าของผลงาน Jordan x Paris Saint Germain) ที่จะมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องราวงานออกแบบแก่ผู้เข้าร่วมงานและที่พลาดไม่ได้กับ Pop-up Store จาก ATMOS ที่ได้เปิดวางจำหน่ายสินค้าและรองเท้าในคอลเลคชั่นพิเศษ“Air Max 2 Light” ที่มีในจำนวนจำกัด สุดเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับผู้ที่ซื้อรองเท้าจะได้รับลายเซ็นจากคุณฮิโระฟูมิผู้ออกแบบอีกด้วย ทางด้าน Carnival ก็เปิดให้ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมสนุกไปกับการสกรีนเสื้อยืดลวดลายพิเศษที่ทำขึ้นเพื่องานนี้โดยเฉพาะ พร้อมปิดท้ายด้วยมินิคอนเสิร์ตจากศิลปิน“The TOYS” (เดอะ ทอยส์) ศิลปินหนุ่มที่มาแรงที่สุดแห่งยุคนี้ ที่จะมาร่วมสร้างสร้างสีสันให้กับงาน “The Bangkok Department presented by Nike On Air” ช่วยเติมเต็มประสบการณ์และจินตนาการอันไร้ขอบเขตให้ Go Bigger ไปให้สุดและไกลกว่าเดิม

RECOMMENDED CONTENT

30.พฤษภาคม.2019

ย้อนรอยสู่จุดกำเนิดแห่งดนตรีเทคโนกับผลงาน Black to Techno โดยผู้กำกับฯ หญิงชาวอังกฤษ - ไนจีเรียน Jenn Nkiru ผู้จะพาเราไปสัมผัสวัฒนธรรมดนตรีเทคโนจากจุดกำเนิดที่เมืองดีทรอยท์ สหรัฐอเมริกา จากดนตรีกระแสรองสู่ความนิยมสุดขีดช่วงปลายยุค 1980s นำไปสู่ดนตรีที่สะท้อนต่อสู้เพื่อบทบาทในสังคมและเสรีภาพของกลุ่มคนผิวสีในดีทรอยท์