เบียร์พี่เสือ Tiger Translate ของไทยรอบนี้มีงานดนตรีดีๆพาวงเจ๋งๆมาโชว์ให้ฟังกันถึงที่ไทยเราอีกแล้ว กับ Concept คราวนี้ที่ชื่อว่า “Japanese Invention” มีแกนนำเป็นนาย “Cornelius” ศิลปินและโปรดิวเซอร์สุดล้ำจากเกาะญี่ปุ่น ที่ครั้งนี้รับหน้าที่เป็น Curatorนำวงดนตรีหัวก้าวหน้าของประเทศเขามาโชว์กันให้เราดูกันสามศิลปิน “Ichiko Aoba” สาวน้อยผมหน้ามากับฝีมือกีตาร์คลาสสิกของเธอ , “Buffalo Daughter” วงร็อคสามชิ้นที่ผสมผสานแนวดนตรี Electronics สุดล้ำเอาไว้อย่างลงตัว “salyu X salyu” นักร้องสาวที่เคยมีผลงานโด่งดังจากเพลงประกอบหนังเรื่อง “All About Lily Chou-Chou” และตอนนี้ที่ประเทศของเธอก็กำลังมาแรงมาก เล่นร่วมกับนาย “Cornelius” จากสามชื่อที่พูดๆมานี่ ใครที่เป็นแฟนเพลงและตอนนี้กำลังหาโอกาสดูเล่นสดในไทย คงไม่ต้องถามแล้วแหละว่าจะมาดูดีไหม… เพราะถ้าไม่ใช่ครั้งนี้นี่ก็คงไม่รู้จะเป็นครั้งไหนแล้ว! นอกจากนั้นในงานยังมีการแสดง Installation Art ของนาย Jiro Endo ศิลปินที่ช่ำชองการจัดไฟ Lighting การวาง Architecture, การทำ Stage ที่แฟนๆชาว Big Mountain ทุกคนคงคุ้นหน้าเขากันดี และพิเศษสุดๆ งานนี้นอกจากคุณจะได้พบศิลปินญี่ปุ่นที่จะมาเปิดโลกทัศน์แนวใหม่ๆให้คนไทยเราได้ฟังได้เห็นกันแล้ว สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด… ได้ “คุณตั้ม วิศุทธิ์” เจ้าของตัวละครเด็กหญิงมะม่วง และ hesheit ที่ทุกคนคุ้นตากันดี เป็นตัวแทนฝั่งคนไทยเรา ในฐานะที่ไปโด่งดังญี่ปุ่นมาแล้ว มาร่วมงานกับเราในรอบนี้ด้วย อืม… จากที่อ่านๆมาทั้งหมดนี่… ถ้าไม่ใช่คุ้มก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรล่ะ
งานจะจัดในวันเสาร์ที่ 28 กันยายนนี้ ที่ เซ็นเตอร์พอยท์ สตูดิโอลาซาล ประตูเปิด 6 โมง บัตรราคา 1,290 บาท หาซื้่อบัตรกันได้ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ 02 262 3456 แถมบัตรทุกใบที่ซื้อ เพื่อให้สมกับที่เป็น Japanese Invention งานนี้จะได้สิทธิ์รับข้าวปั้นฟรี 1 ปั้น ให้ Invention รองท้องกันหน้างานได้เลย สำหรับใครที่เป็นแฟนวงดนตรีชื่อดังกล่าว… ซึ่งเราคิดว่าต้องเฉพาะกลุ่มมากๆแน่ๆ หรือถ้าใครไม่รู้จัก ยังไม่มีแพลนไปไหนก็ไปร่วมสนุก เปิดมุมมอง รับแนวทางใหม่ๆได้เช่นกัน กับสามวงที่เตรียมมาครั้งนี้ การันตีเลยว่าไม่ผิดหวังแน่นอน สำหรับงาน Tiger Translate “Japanese Invention” Curated by Cornelius
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiticketmajor.com/concert/concert-detail.php?sid=1997
CREDIT: Tiger Translate
RECOMMENDED CONTENT
“People on Sunday” (2562) เป็นการตีความ บทสนทนาโต้ตอบ และสาส์นแสดงความนับถือต่อภาพยนตร์บุกเบิกจากประเทศเยอรมันเรื่อง “Menshen Am Sonntag” (2473) หรือ “ผู้คนในวันอาทิตย์” ผลงาน “People on Sunday” (2562) ได้นำภาพยนตร์ต้นฉบับดังกล่าวกลับมาตีความใหม่ผ่านบริบทที่แตกต่างจากเดิม ทั้งยุคสมัย ภูมิประเทศ ตลอดจนสภาพในการทำงาน