fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

“Tiny homes” in Chicago บ้านแบบเดิม เพิ่มเติมคือวัสดุและการออกแบบที่แตกต่าง
date : 19.เมษายน.2017 tag :

img_4_1492105980_41db98a03e87794410f7dfb07c2ff102

สถาปนิกที่อยู่ในเมืองอัมสเตอร์ดัมชื่อ Jay Tsai กับ Ryszard Rychlicki ได้เปิดเผยโปรเจกต์ล่าสุดของพวกเขาอย่าง “tiny homes” ด้วยการพยายามที่จะเสริมความเป็นมิตรกับทรัพยากรต่างๆ และสร้างที่อยู่อาศัยแบบกะทัดรัดในเมืองชิคาโก จึงออกแบบวางผังและกำหนดส่วนประกอบของบ้านให้มีจุดกึ่งกลาง พร้อมห้องล้อมรอบ อีกทั้งยังมีความเชี่อมโยงถึงกัน โดยเน้นคาแรกเตอร์ในการออกแบบจนกลายเป็นความแตกต่างของการรักษารูปแบบเดิมไว้ด้วย

img_3_1492105980_103b1dbd19b9c24493005cb1ed16ae87

img_6_1492105980_3614fb5c2df35eef4b4f0f8ac00a1097

img_8_1492105980_6c6b7227bab0adc60df32d68b4cbad38

img_12_1492105980_d08f421ce2d46c28c46959c90b58592d

รางวัลจากโปรเจกต์ในอนาคตอันใกล้นี้ “tiny homes”ของสองสถาปนิก tsai และ rychlicki ได้รับการสนับสนุนจากแนวคิดในการออกแบบ แบ่งเป็นส่วนกลาง 1 โซนที่ทุกคนจะได้ใช้เวลาร่วมกันบริเวณนี้ ส่วนแต่ละยูนิตที่เหลือก็จะเน้นความเป็นส่วนตัวเพราะแบ่งเป็นหลายห้อง รวมพื้นที่ทั้งหมด 288 ตารางฟุตกับส่วนที่เพิ่มออกมาอีก 144 ตารางฟุต นอกจากนี้ความต่างอีกหนึ่งอย่างนั่นคือ ทางเข้าทั้งสองด้านต้องเข้าจากแนวทแยงของพื้นที่ และแม้ว่าห้องต่างๆ จะถูกจัดแบ่งเป็นกลุ่ม แต่เจ้าของบ้านก็ยังได้ใช้พื้นที่โดยรวมด้านนอกเป็นบริเวณกว้างในการทำกิจกรรมเช่นกัน

img_7_1492105980_7ddff408ef35f3fb38f7347556d1c8a9

img_5_1492105980_3cc6dcfaf6a8b199bdbb635d73d97c70

tiny-home-jay-tsai-designboom-edit

thumb_3_1492105980_557865ce68ea36b834a9cd1184eae82c

ทางเลือกของการสร้างบ้านให้เสมือนมีหน้าต่างอยู่กลางบ้านนั้น สถาปนิกใช้วัสดุอย่างโพลีคาร์บอเนตมาทำหลังคาจึงโปร่งแสง และเป็นศูนย์รวมการรับแสงทั่วทั้งบ้าน ส่วนโครงสร้างทำจากไม้อัด หรือพายวู๊ด ลักษณะการเปิดโล่งแต่ละโซนเป็นการตัดช่องไม้อัดเพื่อให้ทุกห้องเชื่อมโยงถึงกัน ตลอดจนตัวไม้อัดเองจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่การทำงานที่ต่างเวลาออกไป เช่น ในตอนกลางวัน นอกจากนี้แผงหลังคาโพลีคาร์บอเนตยังช่วยให้แสงเข้าถึงตัวบ้านได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ภายนอกก็ถูกออกแบบมาให้รับแสงได้อย่างสูงสุดเช่นกัน เพราะเปิดรับด้วยการทำหลังคาทั้งหมดให้เอียงรับแสงจากทางทิศเหนือกับทิศใต้ หรือทั้งสองทิศ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มคาแรกเตอร์ให้กับแต่ละยูนิตน่าสนใจได้ไม่แพ้กัน

Website : www.designboom.com

RECOMMENDED CONTENT

1.กรกฎาคม.2024

เพลงนี้เล่าถึงแรงเสียดทานในชีวิตที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดบนโลกก็ล้วนแล้วแต่ต้องพบเจอแรงเสียดทานนี้ ที่เกิดขึ้นจากการกดทับโดยบริบททางสังคม วัฒนธรรม รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันในแบบต่าง ๆ ที่คนคนหนึ่งต้องเจอ เพราะถึงแม้จะนับ 1 ถึง 100 เพื่อที่จะทำให้ตัวเองสงบใจ แต่สุดท้ายวันหนึ่งสิ่งนี้มันก็อาจจะเกินกว่าที่จะทนไหว และปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกเก็บไว้ออกมาก็เป็นได้