
ภาพของขั้นบันไดนาข้าวที่แต่งแต้มด้วยสีสันสวยสด ชวนให้นึกถึงนาข้าวที่สวยงามของรัฐฉานตอนเหนือ ถ่ายทอดโดย SOE SOE ศิลปินนักวาดภาพชาวเมียนมาร์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงศิลปะในหลากหลายประเทศ Treasure of the Blossom Solo Exhibition by SOE SOE คือการจัดแสดงงานนิทรรศการเดี่ยว ครั้งแรกของ SOE SOE (LABUTTA) ศิลปินมากความสามารถผู้มีประสบการณ์บนเส้นทางศิลปะมายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985
SOE SOE เกิดในปี 1967 ที่ประเทศเมียนมาร์ และความสามารถทางศิลปะของเขา เป็นที่ประจักษ์ชัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ด้วยความที่เขาเติบโตมาในครอบครัวที่ห้อมล้อมไปด้วยดนตรี และการเต้นรำแบบดั้งเดิม SOE SOE จึงกลายเป็นคนที่มีความสามารถ เขาทุ่มเท และมุ่งมั่นในงานศิลปะของเขาอย่างรวดเร็ว ในอายุ 41 ปี เขาได้จัดแสดงนิทรรศการมาแล้วหลายแห่งทั่วโลก รวมไปถึงในเมียนมาร์ สิงคโปร์ ฮ่องกง นิวยอร์ก และวอชิงตัน ดี.ซี.
Treasure of the Blossom Solo Exhibition by SOE SOE คือนิทรรศการที่รังสรรค์ขึ้น โดยนำเสนอนาข้าวที่สวยงามของรัฐฉานตอนเหนือของเมียนมาร์ โดยใช้เทคนิคผสมเข้ามาช่วยในการทำงาน เพื่อเพิ่มความแตกต่างมากยิ่งขึ้น ผสมผสานกับการใช้สีสันที่หลากหลาย ดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้เป็นอย่างดี สร้างความกระปรี้กระเปร่าและความสุขให้กับผู้ที่พบเห็น ความเป็นสามมิติของชิ้นงานของเขา สื่อภาพธรรมชาติของนาข้าวได้ดีมาก จนทำให้รู้สึกว่าเขากำลังยืนอยู่บนเนินเขาที่สวยงามในเมียนมาร์จริง ๆ จนทำให้งานศิลปะของ SOE SOE มีความน่าหลงใหลจนกลายเป็นงานศิลปะที่เหล่านักสะสมทั่วโลกตามหา
ร่วมดื่มด่ำกับนิทรรศการ Treasure of the Blossom Solo Exhibition by SOE SOE ที่ศิลปินบรรจงถ่ายทอดความสวยงามของธรรมชาติลงบนพื้นผ้าใบ ไปพร้อมๆ กัน วันที่ 16 มีนาคม – 16 เมษายน 2566 ณ พื้นที่นิทรรศการ Event Space ชั้น 4 เซ็นทรัล ดิ ออริจินัล สโตร์ วันอังคารถึงอาทิตย์ ตั้งเเต่เวลา 10.00 – 18.00 น.
RECOMMENDED CONTENT
‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย