fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

#Visit : “V.A.C.” กับคอลเลคชั่นใหม่ “V.A.C. x Rastaclat” ที่จับมือกับแบรนด์ระดับโลก
date : 4.กุมภาพันธ์.2016 tag :

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 2

Rastaclat จุดเริ่มต้นของเขาคืออะไร ?

Rastaclat เป็นแบรนด์จากอเมริกา ก่อตั้งโดย Daniel Kasidi เขาเล่าให้ฟังว่าตัวโปรดักส์อันนี้ เกิดขึ้นจากตอนที่เขาเล่นสเก็ตบอร์ด ตัวเขาเองมีรองเท้าเยอะมาก อย่างที่คนเล่นสเก็ตรู้กันดีว่ารองเท้ามันพังง่าย เขาก็เลยลองเอาเชือกรองเท้าที่เหลือมาลองถักดูระหว่างนั่งรอเล่นสเก็ต จนออกมาเป็นกำไรข้อมือ หลังจากนั้นเขาเอามาใส่ คนที่อยู่ในคอมมูนิตี้ก็เห็น แล้วรู้สึกว่ามันเจ๋ง ก็เลยมีคนเริ่มสั่งมาเรื่อยๆ เริ่มมีคนรีเควสสี อยากได้สีนั้น สีนี้ จนมันกลายเป็นธุรกิจเล็กๆ ขึ้นมา นั่นคือจุดเริ่มต้นของ Rastaclat ที่เราเห็นจนถึงทุกวันนี้

ตอนนี้ Rastaclat ขายทั่วโลกเลยครับ ได้ทำงานร่วมกับ Snoop Dogg, Mountain Dew, The Bruce Lee Foundation และกำลังทำโปรเจคกับทีมระดับมหาวิทยาลัย และลีก NCAA ครับ ส่วนฝั่งเอเชียล่าสุดผมเห็นเขาใช้ Dj Soda เป็นพรีเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน, จีน หรือฝั่งยุโรป ก็ได้รับความนิยมเช่นกันครับ

V.A.C. x Rastaclat เกิดขึ้นได้ยัไง ?

ผมคิดว่า V.A.C. มาถึงจุดที่ต้องทำงานร่วมกับแบรนด์ระดับโลกได้แล้ว ซึ่งโปรเจคนี้อาจจะยังไม่ใช่โปรเจคเต็มตัว มันเป็นเหมือนการทดลองศักยภาพของ V.A.C. กับ Rastaclat ว่ามันดีพอแล้วหรือยังที่คนจะตอบรับ

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 3

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 1

Concept คืออะไร ?

ตอนแรก Concept มันดูเยอะมากเลย เพราะว่าเป็นการทำงานครั้งแรกระหว่าง V.A.C. กับแบรนด์ต่างประเทศ ก็เลยอยากทำอะไรที่มันเป็นไทย แต่พอนึกถึงอะไรที่มันเป็นไทยเนี่ย ผมไม่อยากทำอะไรที่มันเป็นลายไทยอย่างลายกนก ผมคิดว่ามันน่าเบื่อ ไม่ว่าแบรนด์ไหนพอเน้นความเป็นไทยทุกคนก็เล่นลายกนก ซึ่งผมรู้สึกว่ามันไม่ครีเอทีฟ ก็เลยเลือกเล่นในสิ่งที่คนไม่เคยเล่นอย่างพระอภัยมณี ส่วนตัวผมเองเป็นคนชอบสัตว์อยู่แล้ว ก็เลยรู้สึกว่าม้านิลมังกรในเรื่องพระอภัยมณีเนี่ย เป็นสัตว์ที่มีตำนานเป็นของตัวเอง เหมือนมังกรของจีน หรือมังกรของอเมริกา มีตัวเป็นม้า มีเกร็ดเหมือนงู แล้วมีหัวเป็นมังกร รู้สึกว่า Concept นี้มันเจ๋งมากๆ ก็เลยหยิบมาใช้

หลังจากนั้นผมก็เริ่มดูรายละเอียดของม้านิลมังกร ผมรู้สึกว่าเกร็ดน่าสนใจ ก็เลยเริ่มออกแบบ ผมมองว่าถ้าเราทำเกร็ดออกมาเป็นสีดำล้วนอย่างเดียวมันธรรมดาไป ผมเลยเล่นเฉดสีให้มีหนัก มีเบา เหมือนเวลาเรามองเกร็ดงู ที่บางมุมเป็นสีนึง มองอีกมุมก็เป็นอีกสีนึง และเหมือนกับว่ามันมีทั้งด้านมืด และด้านสว่าง ก็เลยออกมาเป็นคอลเลคชั่น Dragonhorse ครับ

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 11

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 5

Daniel Kasidi รู้สึกยังไงที่เราใช้ “ม้านิลมังกร” ในคอลเลคชั่นนี้ ?

เราวางแผนไว้ประมาณปีนึงแล้วครับ ระหว่างนั้นเราก็มีการออกแบบ ส่งตัวอย่างไปให้เขาดู 2 – 3 ครั้ง ซึ่งเขาตื่นเต้นมากๆ หลังจากนั้นพอเขามาไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว (2015) เขาก็มาพูดกับผมว่า “ผมไม่ได้เห็นโปรเจคที่สวยขนาดนี้มานานแล้ว” เพราะว่าเท่าที่เห็นโปรเจคของ Rastaclat ส่วนใหญ่เน้นไปที่คู่สีมากกว่า แต่ไม่ค่อยมีการเล่นแพทเทิร์นอะไรแบบนี้

คอลเลคชั่น Dragonhorse ยังมีศิลปินไทยเข้าร่วมด้วยใช่ไหม ?

ใช่ครับ แต่จะเป็นโปรเจคที่ทำเฉพาะเสื้อนะครับ เป็นโปรเจคที่เรียกว่า Vanity Projects ทำขึ้นมาจากความชอบส่วนตัว เพราะผมชอบศิลปะ ชอบที่จะให้โอกาศ หรือชอบที่จะให้ความร่วมมือกับศิลปินที่เราชื่นชอบ  เพราะฉะนั้นโปรเจคนี้ก็เป็นอะไรที่สนุกสำหรับศิลปิน ก็เลยเลือกศิลปิน 3 คนที่คิดว่าเหมาะกับโปรเจคนี้อย่าง เดอะดวง, แมน Tee Prang และ Kowuts ซึ่งหลังจากได้คุยกับศิลปินทั้ง 3 คนแล้ว พวกเขาก็ตอบตกลงทันที

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 6

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 7

ความน่าสนใจของศิลปิน ?

อย่าง “แมน Tee Prang” ผมชอบลายเส้นเขา ผมชอบการใช้ภู่กันของเขา มันออกมามันเจ๋งมากๆ ไม่ว่าเขาจะใช้หมึก หรือชาโคล ภาพของเขาดูมีชีวิตชีวา และมีเอกลักษณ์มากๆ นี่คือเหตุผลที่ผมเลือกแมน ส่วน “Kowuts” ผมว่าลายเส้นเขามีเอกลักษณ์มากๆ ทั้งความดิบ โหด เข้ม ของลายเส้น และมีความตรงไปตรงมา “เดอะดวง” ผมว่าทุกรู้จักกันดีอยู่แล้ว เขามีลายเส้นที่เฉพาะตัวมากๆ มีความเป็นการ์ตูนสูง แล้วผมก็อยากรู้ว่าถ้าเอาเขามาทำในแนวที่ต่างออกไปจะเป็นยังไง ก็เลยเลือกเขา

หลังจากที่ศิลปินส่งงานกลับมาเป็นยังไงบ้าง ?

หลังจากที่เราได้งานของแต่ละคนแล้ว ผมกับทีมงานก็เอามาจัดวางให้มันมีความเป็นสตรีทมากขึ้น เพราะว่าถ้าเราเอางานมาแปะเลย มันจะไม่มีกลิ่นอายของ V.A.C. อย่างของ “แมน Tee Prang” ปกติแล้วภาพของเขาเหมาะกับแบล็คกราวน์สีขาวมากกว่า แต่ว่าเราก็อยากลองดูว่าถ้ามันอยู่บนสีดำมันจะสวยไหม สุดท้ายพอเราลองวางบนพื้นสีดำ มันให้ควารู้สึกเท่ไปอีกแบบ เราก็เลยตัดสินใจทำออกมา

“Kowuts” ลายเขาค่อนข้างตายตัว ตรงไปตรงมาทั้งดุ และโหด ผมเลยลองเอางานของเขามาวาง แล้วเพิ่มโลโก้ V.A.C. Culture ลงไปเพื่อให้มันมีความเป็นไบค์เกอร์มากขึ้น เหมือนเป็นพวกแก๊งซ์ซิ่ง ส่วน “เดอะดวง” งานเขาก็จะชัดเจนมาก งานนี้เลยเหมือนเราดูภาพวาดดราก้อนบอล แต่เขาวาดม้านิลมังกรในลายเส้นที่ร่วมสมัยมากขึ้น ซึ่งถ้าเราดูงานของทั้ง 3 ศิลปิน จะเห็นได้ว่าเลย์เอาท์จะไม่เหมือนกัน ทั้งแขนสั้นและแขนยาว เพราะว่าเราอยากให้งานของแต่ละคนถูกวางได้สมบูรณ์ที่สุด

* V.A.C. Culture คือโลโก้ใหม่ ที่จะวางอยู่บนสินค้าของแบรนด์ V.A.C. ตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป
ติดตามได้ที่ https://www.instagram.com/vacculture/

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 9

VAC X Rastaclat Dooddot Visit 10

ปีนี้ V.A.C. เปลี่ยนไปจากปีที่แล้วยังไง ?

เปลี่ยนครับ จากเดิมที่ V.A.C. มี 10 สาขา เราจะเปลี่ยนให้ V.A.C. เหลือแค่สาขาสยามเพียงเท่านั้น เพราะว่า V.A.C. เราเริ่มจากความ Exclusive และ Premium แต่พอขยายไปหลายๆ สาขา มันทำให้ควบคุมยาก ปีนี้เราอยากกลับมาสู่จุดเริ่มต้นคือที่นี่ที่เดียว ส่วนสาขาอื่นเราจะเปลี่ยนเป็น Life and Sole เป็นร้านแฟชั่นเหมือนเดิม แต่เราจะเปลี่ยนมาเป็นแฟชั่น 70% แล้วอีก 30% เป็นไลฟ์สไตล์ของพวกวิ่ง ฟิศเนส เป็นอะไรที่เข้าถึงง่ายขึ้น อาจจะไม่ต้อง Premium มาก สินค้าที่ขายไม่ได้เน้น Exclusive แต่เน้นเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ราคาก็ถูกลง แต่ว่าในเรื่องของการบริการเรายังคงในเรื่องของความ Premium ไว้อยู่

V.A.C.
Website: http://vacthailand.com/
Facebook: https://www.facebook.com/vacbkkth/?fref=nf

Visit By Suvisit Rakprayoon
Photographer: Kongkarn Sujirasinghakul

RECOMMENDED CONTENT

14.ธันวาคม.2020

‘School Town King’ แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน เป็นหนังสารคดีที่สร้างจากเรื่องจริงของ ‘บุ๊ค’ เด็กหนุ่มวัย 18 และ ‘นนท์’ วัย 13 ผู้เติบโตมาในชุมชนคลองเตย หรือที่ใครๆ ต่างรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘สลัมคลองเตย’ นอกจากความยากจนที่มาพร้อมกับสถานะทางสังคมที่เลือกไม่ได้แล้ว ทั้งบุ๊คและนนท์ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษา รวมทั้ง หลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นแต่ความสำเร็จเชิงวิชาการก็ยิ่งทำให้เด็กเรียนไม่เก่งอย่างพวกเขาขาดความสนใจในชั้นเรียนลงไปเรื่อยๆ  ระบบการศึกษาที่น่าจะเป็นความหวังและเท่าเทียมกันของเด็กทุกคน กลับยิ่งบีบบังคับและผลักไสให้พวกเขาเป็นแค่ ‘คนนอก’ ของสังคมไปโดยปริยาย