fbpx

CONTACT US

DOODDOT VIDEOS

“Vertical Glass House, Atelier FCJZ” จากผลงานส่งประกวดของสถาปนิกในอดีต ถูกนำกลับมาเนรมิตรใหม่ให้ออกมาเป็นอาคารจริงโชว์ไอเดียสุดล้ำ
date : 8.กุมภาพันธ์.2014 tag :

ผลงานสถาปัตยกรรมที่เราเอามาฝากกันวันนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองจีน เซี่ยงไฮ้ ชื่อว่า Vertical Glass House (บ้านกระจกแนวตั้ง) งานออกแบบสุดล้ำที่เลือกใช้คุณสมบัติของกระจกได้อย่างชาญฉลาด ก่อนอื่นต้องเล่าถึงที่มาของบ้านหลังนี้ที่ค่อนข้างซับซ้อนสักนิดนึง…

เดิมทีโปรเจคต์นี้เป็นของสถาปนิกที่ชื่อ Yung Ho Chang ที่ร่างโครงสร้าง แบบแปลนขึ้นมาเพื่อใช้ในการประกวดออกแบบบ้านเรือน Shinkenchiku Residential Design Competition ที่จัดโดยนิตยสาร Japan Architect เมื่อปี 1991 (นานมาก) ตอนนั้นผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัล Honorable Mention ของรายการ เวลาผ่านไป 22 ปีทางพิพิทธภัณฑ์ West Bund Biennale of Architecture and Contemporary Art เลยตัดสินใจยกเอาผลงานชิ้นนั้นทำออกมาเป็นอาคารจริงๆขึ้นมาที่เมืองเซี่ยงไฮ้ซะเลย ต่อยอดจากแบบแปลนของ Chang งานนี้พวกเขาได้สตูดิโอ Atelier FCJZ เข้ามารับช่วงต่อ สตูดิโอชื่อดังของเมืองจีนที่รวมเอาสถาปนิกคนรุ่นใหม่ระดับหัวกะทิเอาไว้ จากโครงสร้างบ้านสี่ชั้นทรงสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่โดยรอบไม่เกิน 40 ตารางเมตร กำแพงคอนกรีตหนาสีเทาทั้งหลัง มองจากภายนอกเหมือนตึกที่ไม่มีรอยต่อ แบ่งชั้นด้วยช่องเหล็กพร้อมหลอดไฟทางยาวขนาดใหญ่ ช่วยกั้นบรรยากาศของชั้นกระจก และยังช่วยเพิ่มอารมณ์ลึกลับให้กับตัวบ้านอีกด้วย

ทางมุมของนักออกแบบมองว่าผลงานชิ้นนี้เป็นเหมือนการสวนทางกับงานสถาปัตย์ บ้านกระจก ที่เป็นเหมือนงานชิ้นเอกของยุคโมเดิร์นนิสต์ (ใครมีในยุคนั้นถือว่าหรูมากๆ) อย่างสิ้นเชิง จากที่เป็นแนวนอน Chang เลือกจะเปลี่ยนเป็นแนวตั้งด้วยเหตุผลที่บ้านกระจกแบบคลาสสิคแม้จะสวย แต่สิ่งที่ขาดหายไปก็คือความเป็นส่วนตัวของผู้พักอาศัย ในทางกลับกัน การเปลี่ยนเป็นแนวตั้งช่วยสร้างสเปซส่วนตัวที่เงียบสงบ ได้เห็นแสงจากเดือนและตะวันจากด้านบนทั่วทุกชั้น คล้ายคลึงจนเหมือนกับว่าเป็นพื้นที่ใช้ทำสมาธิได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นการออกแบบสไตล์ที่เน้นเรื่องของ Material อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะเมื่อชั้นทุกชั้นเป็นกระจก ทุกสิ่งทุกอย่างภายในบ้านตั้งแต่บรรดาเฟอร์นิเจอร์ บันไดทางขึ้น รวมไปถึงทางเดินท่อน้ำจะโชว์ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เป็นผลงานชิ้นที่เข้ากับทฤษฎีการออกแบบสมัยใหม่ที่กล่าวว่า “Architecture as living machine”  สถาปัตยกรรมที่เป็นดั่งเครื่องจักรมีชีวิตในตัวเอง

มองภาพที่นำเสนออกมา คิดในใจอย่างแรกเลยว่า นี่ล่ะ จุดเด่นของงานประกวด จินตนาการในวัยแข่งขันแสดงให้เห็นเลยว่าไม่มีอะไรมาปิดกั้นได้เลยจริงๆ ย้อนมาดูงานออกแบบที่นักเรียนสถาปัตย์ทำขึ้น หรืองานประกวดของคนรุ่นใหม่ที่ใช้ไอเดียอย่างสุดโต่ง บางทีดีไม่ดีอาจจะเป็นงานชิ้นสำคัญของโลกอนาคตก็เป็นได้ ผลงานชิ้นนี้ทางพิพิทธภัณฑ์ West Bund Biennale of Architecture and Contemporary Art จะเก็บไว้ใช้เป็นที่พักสำหรับแขกศิลปินที่มาจัดแสดง และเป็นผลงานตัวอย่างสำหรับสถาปนิกรุ่นหลังได้เห็นกัน ขอยกนิ้วให้กับคนคิดและคนสร้างจริงๆที่ทำออกมาเป็นสถาปัตยกรรมที่แหวกแนวรื้อระบบได้ขนาดนี้!

 CREDIT: Archdaily 

RECOMMENDED CONTENT

12.ตุลาคม.2022

เปิดตัวแล้วกับคอลเล็คชั่น OBEGRÄNSAD/ อูเบแกรนซัด ผลงานการร่วมออกแบบระหว่างอิเกียและ Swedish House Mafia วงดนตรีอิเล็กทรอนิกชื่อดังสัญชาติสวีเดน พร้อมให้คุณสร้างสรรค์ผลงานที่บ้านอย่างไร้ขีดจำกัดตามแรงบันดาลใจของการออกแบบคอลเล็คชั่นนี้ โดยคำว่า OBEGRÄNSAD/ อูเบแกรนซัด ซึ่งเป็นภาษาสวีเดนมีความหมายว่า “ไร้ขีดจำกัด”